ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นิจิเร็นโชชู"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nefer~thwiki (คุย | ส่วนร่วม)
Nefer~thwiki (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 75:
 
นิชิเรนโชชูจะศึกษาคำสอนจากบทธรรมนิพนธ์ของพระนิชิเรนไดโชนิน ('''''โงโช่''''') ซึ่งก็คือจดหมายหลายร้อยฉบับที่พระนิชิเรนเขียนถึงสานุศิษย์หรือคำเทศนาปากเปล่าของท่านที่ได้รับการจดบันทึกไว้ โดยมีพระสงฆ์อรรถาธิบายอีกต่อหนึ่ง เมื่อใดที่พระสงฆ์อธิบายข้อธรรมหรือตอบคำถามของผู้นับถือจะต้องหยิบยกข้อความจากบทธรรมนิพนธ์มาเกริ่นนำเสมอ
* สวดพระสูตรและธรรมสารัตถที่ว่า '''นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว''' (''ขอนอบน้อมอุทิศชีวิตแด่พระสัทธรรมปุณฑริกสูตร'') ทุกเช้าเย็นต่อโงะฮนซนเป็นกิจวัตรอันสำคัญที่จะขาดเสียมิได้ และต้องถือการปฏิบัตินี้เป็นหนึ่งในชีวิตประจำวัน พิธีการนี้เรียกว่า ''งนเกียว'' หรือ ''การทำวาระเช้าเย็น'' โดยนิชิเรนโชชูเชื่อว่าเป็นวิธีปลุกธรรมชาติพุทธะที่อยู่ในตนให้ตื่นขึ้นโดยอาศัย 4 พลังมหัศจรรย์คือ '''พลังพุทธะ''' '''พลังธรรมะ'''ในโงะฮนซน '''พลังศรัทธา''' และ '''พลังการปฏิบัติ''' ในผู้ปฏิบัติเพื่อมุ่งหวังให้เกิด'''การประสานความจริงกับปัญญา''' ('''''เคียวชิ เมียวโกะ''''') มีพุทธิปัญญาในการดำเนินชีวิตให้ถูกต้องตามหลักธรรมะ กำจัดกรรมด้านลบ และชำระอยาตนะทั้ง 6 ให้บริสุทธ์สะอาดมากยิ่งขึ้น โดยแบ่งเป็นเช้า 5 วาระและเย็น 3 วาระ นิชิเรนโชชูจะทำวาระและสวดไดโมขุเบื้องหน้าโงะฮนซนเท่านั้น
 
'''นัม'''คือ นโม อุทิศชีวิต '''เมียว'''คือ มหัศจรรย์ เร้นลับเหนือความเข้าใจคาดคะเน '''โฮ'''คือ ธรรมะ ความจริง '''เร็งเง'''คือ บัวขาวหรือปุณฑริก '''เคียว'''คือพระสูตร
 
โดยนิชิเรนโชชูจะสวดพระสูตรเพียง 2 บทใน 28 บทเท่านั้นเพราะเชื่อว่าคือบทที่สำคัญที่สุด สองบทนั้นได้แก่
เส้น 81 ⟶ 83:
1.บท'''''โฮเบ็น''''' (บทกุศโลบาย) บทร้อยแก้วของบทที่ 2 แห่งสัทธรรมปุณฑริกสูตร พระศากยมุนีเปิดเผยว่าคำสอนที่ผ่านมาคือกุศโลบาย ทรงใช้หลากหลายยุทธวิธีในการสั่งสอนสรรพสัตว์ให้หันเข้าสู่พระโพธิญาณ ทรงแสดงธรรมถึงความสอดคล้องของปรากฏการณ์ทั้งปวง
 
2.บท'''''จูเรียว''''' (บทพระชนมายุกาลของตถาคตเจ้า) บทร้อยกรองและร้อยแก้วของบทที่ 16 แห่งสัทธรรมปุณฑริกสูตร พระศากยมุนีเปิดเผยว่าพระองค์บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณมาเนิ่นนานแล้ว และพระชนมายุกาลเป็นนิรันดร์ ทรงดำรงอยู่ในฐานะพระพุทธะแห่งอดีตอันไกลโพ้น และทรงแสดงธรรมถึงความเป็นไปได้ของสรรพสิ่ง ทุกสภาพชีวิตในการบรรลุพุทธภาวะ บทนี้นิชิเรนโชชูเชื่อว่าคือใจความหลักของพระสูตร
 
ขณะทำวาระนิชิเรนโชชูทั้งพระสงฆ์และฆราวาสจะใช้ลูกปะคำคล้องนิ้วกลางทั้งสองข้างที่พนมมืออยู่โดยบิดสายปะคำให้คล้ายเลข 8 ลูกปะคำใช้แทนความหมายถึงชีวิต นิชิเรนโชชูบางคนจะพกไว้ติดตัวเสมอแต่ไม่ถือเป็นเครื่องรางของขลังกันภัย