ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทีเกอร์ 2"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
WikitanvirBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต แก้ไข: pl:Panzerkampfwagen VI B Königstiger
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 15:
**'''อาวุธหลัก''' ปืนใหญ่ ขนาด 88 มม. / 3.46
**'''อาวุธรอง''' ปืนกล ขนาด 7.92 มม./ 0.297 นิ้ว 2 กระบอก
ไทเกอร์II เป็น ยานเกราะขนาดหนักที่ถูกใช้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่2 โดยถูกสร้างในช่วงปลายปี ค.ศ. 1942 เช่นเดียวกันกับไทเกอร์I เนื่องจากการคาดการณ์ของเสนาธิการฝ่ายเยอรมันว่า โซเวียตกำลังผลิตรถถังที่ทรงอานุภาพมากยิ่งขึ้น รถถังรุ่นนี้ก็ถูกผลิตโดยสองบริษัท เฮนเซล และปอร์เช่ แต่สองบริษัทนั้นได้ออกแบบรถถังที่มีความแตกต่างกันโดยเฉพาะป้อมปืน ป้อมปืนของปอร์เช่มีข้อด้อยกว่าของเฮนเซลเพราะส่วนโค้งด้านหน้าป้อมของปอร์เช่นั้นมีความหนา110มิลลิเมตร บางกว่าป้อมของเฮนเซลถึง70มิลลิเมตร และป้อมผ.บ.รถของปอร์เช่ที่ยื่นออกมานั้นมีเกราะที่บางมากซึ่งอันตรายมากหากถูกยิง กองทัพเยอรมันได้ยกเลิกใช้ป้อมปืนของปอร์เช่และหันมาใช้ป้อนปืนของเฮนเซลแทน(ในตอนแรกป้อมปืนของปอร์เช่ถูกผลิตออกมาเพียง 50 ป้อมเท่านั้น) นอกจากเกราะที่หนาแล้ว คิงไทเกอร์ ยังติดปืนขนาด88มม. L71 ซึ่งมีอานุภาพสูงกว่าปืนต่อสู้รถถังทุกชนิดในยุคนั้น แต่จุดอ่อนก็คือ เครื่องยนต์ที่คิงไทเกอร์ใช้เป็นเครื่องยนต์แบบเดียวกันกับไทเกอร์I เครื่องรุ่นเดียวกัน แต่รับน้ำหนักมากกว่า จึงมีปัญหาการกินน้ำมันอย่างมากและปัญหาการขัดข้องด้วย แต่อย่างไรก็ตาม เครื่องยนต์รุ่นนี้ก็ถือว่าทรงอานุภาพที่สุด
 
ยานเกราะนี้ถูกตั้งชื่อเล่นโดย Ferdinand Porche พร้อมกับไทเกอร์I หลังจากไทเกอร์IIถูกผลิตขึ้น โดยแท้จริงแล้ว ยานเกราะชนิดนี้มีชื่ออย่างเป็นทางการ คือ Panzerkampfwagen VI Ausführung B Tiger 2 แต่อย่างไรก็ตามเหล่าทหารเยอรมันได้ตั้งชื่อเล่นอีกชื่อว่า คิงไทเกอร์(KingTiger)
 
ข้อมูลการรบเท่าที่มีการบันทึกไว้ คือข้อมูลของทหารสหรัฐในการรบที่ป่าอาร์เดนส์ ประเทศเบลเยี่ยม หรือที่เรียกว่าการรบแห่งบัลจ์ โดยคิงไทเกอร์ได้สร้างความตกตะลึงให้แก่ฝ่ายพันธมิตรอย่างมาก เพราะพวกเขาพบว่า ปืนใหญ่แทบทุกชนิดของฝ่ายพันธมิตร ไม่สามารถสร้างความเสียหายใดๆให้แก่คิงไทเกอร์ได้เลย แม้จะโจมตีด้วยเครื่องบินก็ตาม แต่ข้อมูลการรบของฝ่ายเยอรมันนั้นแทบจะไม่มีเลย นั่นก็เพราะมีข้อมูลที่เปิดเผยในช่วงหลังสงครามว่า ในช่วงปลายสงครามและเยอรมันใกล้จะแพ้ ศูนย์ยุทธการบกเยอรมันที่เมืองพอตส์ดัมส์ ได้เผาทำลายเอกสารข้อมูลและรูปถ่ายที่ได้มาระหว่างสงครามไปเกือบหมด รวมทั้งข้อมูลของคิงไทเกอร์ด้วย ซึ่งถ้าพิจารณาทฤษฏีนี้ ก็มีความเป็นไปได้สุงว่า ข้อมูลของคิงไทเกอร์นั้นได้ถูกทำลายไปหมดแล้ว
หลังจากที่สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงและนาซีเยอรมันพ่ายแพ้ให้กับสัมพันธมิตร รถถังรุ่นนี้ได้ถูกยกเลิกผลิตและปลดประจำการในกองทัพเยอรมัน แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน ไทเกอร์II ไม่กี่คันเท่านั้นที่ยังคงเหลืออยู่ให้โดยถูกนำมาแสดงในพิพิธภัณฑ์และงานแสดงทั่วโลก ตัวอย่างของยานเกราะที่ยังคงมีสภาพสมบูรณ์ที่สุด คือ พิพิธภัณฑ์ยานเกราะBovington เช่นเดียวกับ ไทเกอร์I