ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เดือนเพ็ญ (เพลง)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 41:
[[หมวดหมู่:เพลงไทยสากล|ด]]
[[หมวดหมู่:ดนตรีเพื่อชีวิต]]
 
เดือนเพ็ญแสงเย็นเห็นอร่าม นภาแจ่มนวลดูงาม เย็นยิ่งหนอยามเมื่อลมพัดมา
แสงจันทร์นวลชวนใจข้า คิดถึงถิ่นที่จากมา คิดถึงท้องนาบ้านเรือนที่เคยเนา
 
กองไฟสุมควายตามคอก คงยังไม่มอดดับดอก จันทร์เอยช่วยบอกให้ลมช่วยเป่า
โหมไฟให้แรงเข้า พัดไล่ความเยือกเย็นหนาว ให้พี่น้องเรานอนหลับอุ่นสบาย
 
เรไรร้องฟังดังว่า เสียงเจ้าที่เฝ้าคอยหา ลมเอ๋ยช่วยมากระซิบข้างกาย
ข้ายังคอยอยู่มิหน่าย มิเลือนเคลื่อนคลาย คิดถึงมิวายที่เราจากมา
 
ลมเอยจงเป็นสื่อให้ น้ำรักจากห้วงดวงใจ ของข้านี้ไปบอกเขานะนา
ให้คนไทยรู้ว่า ไม่นานลูกที่จากมา จะไปซบหน้าในอกแม่เอย.
 
--------------------------------------------------------------------------------
 
(เนื้อร้องฉบับนี้ ได้รับการตรวจทานจาก ?ป้าลม? หรือ วิมล พลจันทร ภรรยาคู่ทุกข์คู่ยากของนายผี คัดจากหนังสือ ?รำลึกถึงนายผี จากป้าลม? จัดพิมพ์ในวาระอายุครบ 72 ปี)
 
 
อัศนี พลจันทร นักคิดนักเขียนนักปฏิวัติ ผู้ประพันธ์เพลง "คิดถึงบ้าน" หรือ "เดือนเพ็ญ" เจ้าของนามปากกา "นายผี", "อินทรายุธ" ฯลฯ
 
"นายผี" เป็นนามปากกาของอัศนี พลจันทร กวีการเมือง และนักเขียนนักปฏิวัติคนสำคัญคนหนึ่ง (โปรดสังเกตว่า นามสกุลของท่านผู้นี้ เขียนว่า ?พลจันทร? ไม่ใช่ ?พลจันท์? อย่างที่หลายคนเข้าใจผิด (?อัศนี พลจันท์? เป็นเพียงนามปากกาหนึ่งในหลายสิบนามปากกาของท่านผู้นี้) บิดาของท่านสืบสายมาจากพระยาพล (จันทร) ผู้รั้งเมืองกาญจนบุรีต้นสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นต้นกำเนิดสกุล ?พลจันทร? และ ?พลกุล?
 
 
ในส่วนทำนองของเพลงนี้ ผู้รู้ทางดนตรีไทยให้ความเห็นไว้ว่า นายผี ใช้ทำนองเพลงไทยเดิมที่ชื่อ ?พม่าเห่? มาดัดแปลงเป็นแนวทำนองหลักของเพลง มิได้ประพันธ์ทำนองขึ้นมาใหม่ด้วยตนเอง เพราะเขามิได้เชี่ยวชาญทางด้านดนตรีมากมายนัก (ผิดกับ ?จิตร ภูมิศักดิ์? นักเขียนนักปฏิวัติร่วมสมัย ที่มีความสามารถทางดนตรีมากกว่า จิตรสามารถเล่นเครื่องดนตรีได้หลายชิ้น และอ่านเขียนโน้ตเพลงทั้งไทยและสากลได้อย่างดี) อีกทั้งเพลงนี้ทั้งเพลง ก็มีเพียงแนวทำนองหลักเพียงท่อนเดียว ไม่มีท่อนแยกตามหลักของดนตรีสากลทั่วไปแต่อย่างใด
 
เพลง ?คิดถึงบ้าน? นี้ เท่าที่สืบค้นได้พบว่า เป็นการถ่ายทอดมาแบบปากต่อปาก (เพราะผู้ประพันธ์เขียนโน้ตดนตรีไม่เป็น) หรือที่โบราณเรียกว่า ?ต่อเพลง? โดยนายผี สอนให้คนใกล้ชิดร้อง เผอิญนักดนตรีอย่างสุรชัย จันทิมาธร (หงา คาราวาน) ได้ยินเข้า จึงจดจำมาร้องบ้าง และเมื่อเขา(สุรชัย) ออกจากป่ามา ก็นำออกเผยแพร่จนเป็นที่นิยมร้องกันทั่วไป มีนักร้องทั้งแนวเพื่อชีวิตและแนวอื่น ๆ หลายสิบคนนำไปร้อง
 
เมื่อมีการนำมาร้องต่อๆกันก็เลย เพี้ยนคำไปบ้าง เช่น แสงเย็นเห็นอร่าม เป็น สวยเย็นเห็นอร่าม เย็นยิ่งหนอยามเมื่อลมพัดมา เป็น เย็นชื่นหนอยามเมื่อลมพัดมา ลมเอยจงเป็นสื่อให้ เป็น ลมเอยช่วยเป็นสื่อให้ ของข้านี้ไปบอกเขานะนา เป็น ของข้านี้ไปบอกเขาน้ำนา น้ำรักจากห้วงดวงใจ เป็น นำรักจากห้วงดวงใจ ให้คนไทยรู้ว่า เป็น ให้เมืองไทยรู้ว่า จะไปซบหน้าในอกแม่เอย เป็น จะไปซบหน้าแทบอกแม่เอย สังเกตคำว่า ?ลม? ที่ผู้ประพันธ์นำมาใช้ในท่อนนี้ มีความหมายเป็นสองนัย
 
นัยแรก หมายถึงลมที่พัดไหวทั่วไป นายผีแต่งเพลงนี้ขึ้นในเขตป่าเขา ครั้งที่หลบลี้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์อยู่ในป่าทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณภูซาง ทิ้งวิมล พลจันทร คู่ชีวิตของตนไว้ในเมือง มาภายหลังคุณวิมล พลจันทร จึงได้รับการติดต่อ และเดินทางเข้าไปใช้ชีวิตร่วมกันในเขตป่าเขา
 
ประเพณีสำคัญประการหนึ่งของการปฏิวัติคือ การปิดลับชื่อและนามสกุลจริงของแต่ละคน อัศนีย์ พลจันทร จึงต้องเปลี่ยนชื่อเป็น ?สหายไฟ? หรือ ?ลุงไฟ? ส่วนภรรยาของท่านที่ตามเข้ามาสมทบภายหลัง ตั้งชื่อว่า ?สหายลม? หรือ ?ป้าลม?
 
คำว่า ?ลม? ในท่อนนี้ของเพลงจึงมีนัยที่สอง อันหมายถึงภรรยาที่รักของท่านนั่นเอง ?จันทร์เอยช่วยบอกให้ลมช่วยเป่า...? จึงน่าจะหมายถึงการฝากให้ดวงจันทร์บอกข่าวแก่คุณวิมล ภรรยาที่รักของตน บอกว่าอะไร.. ?สุมไฟให้แรงเข้า พัดไล่ความเยือกเย็นหนาว ให้พี่น้องเรานอนหลับอุ่นสบาย? บอกให้ ?ลม? ช่วยเร่งเร้าให้ไฟแห่งการปฏิวัติยิ่งลุกโชนยิ่งขึ้น เพื่อเร่งให้การปฏิวัติสำเร็จ ที่จะทำให้ประชาชนมีความผาสุก กินอิ่ม และนอนอุ่นสบายนั่นเอง
 
คำว่า ?น้ำรัก? ในสมัยนี้ ถูกนำมาใช้ในความหมายในเชิงกามารมณ์เสียจนผิดไปจากความหมายดั้งเดิม คำว่า ?น้ำรัก? ในความหมายเก่า มีความหมายบริสุทธิ์ลึกซึ้งประมาณเดียวกับคำว่า ?น้ำใจ? ?น้ำคำ? คำว่า นะนา เป็นคำพูดของคนทางภาคอีสานใช้??
 
พอนักร้องรุ่นหลังเอาเพลงมาร้อง ถึงท่อนนี้อาจเกรงว่าคนฟังจะไม่รู้เรื่องก็เลยถือโอกาสแก้คำนี้เสีย เป็น ?นำรักจากห้วงดวงใจ ของข้านี้ไปบอกเขาน้ำนา..?