ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เชียงลาบ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 93:
 
* ป๋างสี่ป๋างแปด ตรงกับเดือนสี่ และเดือนแปด ตามปฏิทินไทลื้อ คือพิธีบวชสรวงดวงวิญญาณของเจ้าหลวงเชียงลาบ และพระนางมหาเตวีเจ้า และเหล่าดวงวิญญานักรบโบราณ เสื้อบ้าน เสื้อเมืองเชียงลาบ ซึ่งจะจัดขึ้นทุกปี ในช่วงเดือนสี่ และเดือนแปด ของชาวไทลื้อ (เป็นประเพณีที่ต้องทำทุกปี ห้ามเว้นโดยเด็ดขาด)
* จิ๊ก๋องโหล คือประเพณีถวายอัคคีพุทธบูชา ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองของไทย หรือวันยี่เป็งของล้านนา แต่ในเดือนของชาวไทลื้อ คือ เดือนเจ๋งเป็ง หมายถึงเดือนหนึ่งหรือเดือนอ้ายขึ้นสิบห้าค่ำ นั่นเองซึ่งเป็นประเพณีที่สืบทอดมานับแต่สมัยอยู่เมืองเชียงลาบ ซึ่งว่างเว้นหรือไม่จัดไม่ได้เด็ดขาด กล่าวคือในวันดังกล่าวจะมีพิธีแป๋งเข่าลดเค๊าะ และพิธีตักบาตรในตอนเช้าตอนสายฟังธรรม จนถึงสองทุ่มจึงทำพิธีเผาไม้ง่ามหรือไม้ก้ำสลี
 
- การทำไม้ค้ำสลี สำหรับถวายทานนี้ฝ่ายผู้ชายต้องไปหาไม้ง่ามในป่ามาปอกเปลือกให้หมด ไม้ที่นิยมคือไม้เป้า หาให้มีจำนวนครบกับคนในครอบครัว และบวกเพิ่มอีก 1-2 ท่อน แล้วจารึกชื่อ และอักษรธรรมภาษาไทลื้อลงไปในไม้แต่ละท่อน จากนั้นนำไม้ไปสุมเป็นกองหน้าวิหารวัด แล้วนำด้ายพันรอบไม้ค้ำสลี ก่อนจุดพระจะเป็นคนสวดนำทางเวียนเทียนสามรอบ เมื่อครบสามรอบแล้วจึงนำเทียนนั้นจุดไฟเผาไม้ เมื่อไฟไหม้ไม้ ทุกคนจะอธิษฐานของให้เคราะห์ทุกอย่างที่จะเกิดขึ้นกับตัว และอริศัตรูต่าง ๆ นั้นมอดไหม้ไปกับไฟนี้อย่าให้มีเหลือ ขอให้ชีวิตรุ่งเรืองเหมือนกับไฟที่ลุกสว่างขึ้นเรื่อย ๆ
 
* ประเพณีปี๋ใหม่ ตรงกับเดือนหกของชาวไทลื้อ คือวันสงกรานต์ของไทย พิธีที่ต่างกันจากชาวล้านนาทั่วไปคือ ชาวลื้อจะมีการฉลองโดยการทำพิธีบายสีสู่ขวัญคนเฒ่าคนแก่ทุกคน และจะต้องทำให้ครบทุกคนในหมู่บ้าน และทุกบ้านหากมีผู้สูงอายุต้องทำพิธี และต้องเชิญชาวบ้านมาร่วมงาน และจะมีการฆ่าไก่ เพื่อมาต้มสู่ขวัญและ นำมาเลี้ยงแขกทุกคนในบ้าน และต้องเลี้ยงจนแขกคนสุดท้ายกลับ
 
 
 
== อ้างอิง ==