ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สัญญาต้องเป็นสัญญา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
ในความเข้าใจส่วนใหญ่ หลักกฎหมายดังกล่าวหมายควบคุม[[สัญญา (กฎหมาย)|สัญญา]]ของเอกชน โดยเน้นว่าข้อสัญญาที่ตกลงกันไว้นั้นเป็นประดุจกฎเหล็กเหนือคู่กรณีทั้งสองฝ่าย คู่สัญญาต้องกระทำการโดยสุจริตซึ่งกันและกันตาม[[หลักสุจริต]] ({{lang-en|good faith}}; {{lang-la|bona fide}}) และการที่คู่สัญญาฝ่ายใดไม่ชำระ[[หนี้]] ({{lang-en|obligation}}) ให้ลุล่วงไปนั้นชื่อว่า "ผิดสัญญา" ({{lang-en|a breach of the pact}})
 
ส่วนในวงการกฎหมายระหว่างประเทศนั้น ถือกันดังที่บัญญัติไว้ในข้อ 26 แห่ง[[อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา]] ({{lang-en|Vienna Convention on the Law of Treaties}}) และข้อ 26 แห่ง [[อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญาระหว่างรัฐกับองค์การระหว่างประเทศฯ|อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญาระหว่างรัฐกับองค์การระหว่างประเทศ หรือระหว่างองค์การระหว่างประเทศ]] ({{lang-en|Vienna Convention on the Law of Treaties between States and International Organizations or between International Organizations}}) ซึ่งมีข้อความเดียวกันว่า ''"สนธิสัญญาทุกรายที่มีผลใช้บังคับแล้วนั้น ย่อมผูกพันภาคีแห่งสนธิสัญญารายนั้น ๆ และภาคีเหล่านั้นต้องปฏิบัติการโดยสุจริต"'' ({{lang-en|"Every treaty in force is binding upon the parties to it and must be performed by them in good faith."}}) โดยหลัก "สัญญาต้องเป็นสัญญา" นี้ส่งผลให้รัฐมีหน้าที่ต้องปฏิบัติการชำระหนี้ของตนโดยสุจริตและโดยไม่บกพร่อง
 
อย่างไรก็ดี ในกรณีที่สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปก็อาจทำให้ข้อสัญญาบางประการไม่อาจใช้บังคับได้ ซึ่งก็ต้องมีการตกลงแก้ไขกันต่อไป ทำให้เกิดข้อยกเว้นของหลัก "สัญญาต้องเป็นสัญญา" ดังกล่าว และข้อยกเว้นนี้เป็นไปตามภาษิตละตินที่ว่า "[[การเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์นำไปสู่การแก้ไขข้อสัญญา]]" ({{lang-en|things thus standing}}; {{lang-la|clausula rebus sic stantibus}})