ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แกนประสาทนำออก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Weerapong rx (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Weerapong rx (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
แอกซอนเป็นเส้นใยที่ใช้ลำเลียงข้อมูลข่าวสารของ[[ระบบประสาท]] เมื่อแอกซอนหลายเส้นรวมกันเป็นมัดก็เรียกว่า [[เส้นประสาท]] เส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นใยแอกซอนแต่ละเส้นอาจมีขนาดเล็กระดับ[[ไมโครเมตร]]ซึ่งต้องใช้[[กล้องจุลทรรศ์]]ส่องดู หรืออาจมีขนาดใหญ่ที่สามารถมองเห็นนได้ด้วยตาเปล่า เส้นใยแอกซอนที่ยาวที่สุดในร่างกายมนุษย์ คือ แอกซอนใน[[เส้นประสาทเซียติก]] (sciatic nerve) ซึ่งเริ่มต้นจากฐานของ[[กระดูกสันหลัง]]ไปยังนิ้วหัวแม่เท้า โดยมีความยาวประมาณหนึ่งเมตรหรืออาจจะมีความยาวมากกว่านี้ในบางคน
 
ใน[[สัตว์มีกระดูกสันหลัง]] แอกซอนบางส่วนจะถูกห่อหุ้มด้วย[[เยื่อไมอีลิน]] เยื่อไมอีลินนี้ถูกสร้างจาก[[เซล์เกลีย]] 2 ชนิด
1. [[เซลล์ชวาน]](Schwann cell) มีหน้าที่สร้างเยื่อไมอีลินใน[[ระบบประสาทส่วนปลาย]] คือ ในเส้นประสาทนอกสมองและไขสันหลัง
2. [[โอลิโกเดนโดรไซต์]](oligodendrocyte) มีหน้าที่สร้างเยื่อไมอีลินใน[[ระบบประสาทส่วนกลาง]] คือ ใน[[สมอง[[]] และ[[ไขสันหลัง]]
 
แอกซอนที่ถูกห่อหุ้มด้วยเยื่อไมอีลินแล้วจะมีช่องว่างระหว่างโหนดเรียกว่า [[โหนดออฟเรนวิเยอร์]] เป็นตำแหน่งที่เกิดการแลกเปลี่ยน[[ไอออน]]ในกระบวนการนำกระแสประสาท หากเกิดการทำลายเยื่อไมอีลินก็จะเกิดโรคทางระบบประสาทที่เรียกว่า [[มัลติเปิล สเคลอโรซีส]] (multiple sclerosis)(เอ็มเอส) ปัจจุบันนี้มีการจำแนกประเภทของเส้นประสาทตามความเร็วการนำสัญญาณของแอกซอน การห่อหุ้มด้วยเยื่อไมอีลิน และขนาดของเส้นประสาท เป็นต้น เช่น [[เส้นประสาทชนิด ซี]] ซึ่งไม่มีเยื่อไมอีลินห่อหุ้ม ทำให้นำกระแสประสาทได้ช้า ในทางตรงกันข้าม[[เส้นประสาทชนิดเอเดลต้า]]มีเยื่อไมอีลินห่อหุ้ม จึงทำให้นำกระแสประสาทได้เร็ว เป็นต้น
บรรทัด 12:
[[ภาพ:Growthcone.jpg]]
 
[[แอกซอน]] (สีเขียว)ที่กำลังเจริญโตบโตจะมีการเดินทางไปยังพื้นที่เป้าหมายโดยใช้โครงสร้างที่เรียกว่า [[โกรธโคน]] (growth cone)ซึ่งอยูที่ส่วนปลายของแอกซอน (สีแดง) โกรธโคนนี้มีลักษณะคล้ายฝ่ามือ ส่วนที่ยื่นออกไปคล้ายนิ้วมือเรียกว่า [[ฟิโลโพเดีย]] (filopodia) การเดินทางของแอกซอนนี้ต้องอาศัยการทำงานของ[[ตัวรับที่ผิวเซลล์]] ซึ่งตอบสนองกับสารเคมีในพื้นที่สมองส่วนต่างๆ ที่แอกซอนจะเดินทางไปถึง เช่น [[เอ็นแคม]] [[ลามินิน]] [[ไฟโบรเน็คติน]] [[ทีแนสซิน]] เป็นต้น และ[[โปรตีน]]ที่สำคัญที่ช่วยให้แอกซอนมีการเคลื่อนที่และช่วยรักษารูปร่างแอกซอนไว้ คือ [[แอกติน]] (actin) ซึ่งกระบวนการเดินทางของแอกซอนนี้อาจเรียกว่า [[แอกซอน ไกด์แดนซ์]] (axon guidance)
 
อ้างอิง 1. axon [http://en.wikipedia.org/wiki/Axon]