ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 6:
วัดโมลีโลกยาราม เคยเป็นสำนักเรียน[[พระปริยัติธรรม]]แผนก[[บาลี]]ที่มีผู้สอบได้[[เปรียญธรรม]]มากเป็นระดับต้น ๆ ของประเทศ
 
วัดโมลีโลกยาราม ราชวรวิหาร
วัดโมลีโลกยารามเป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างเมื่อใด ใครเป็นผู้สร้างในสมัยนั้นเรียกว่า วัดท้ายตลาด เพราะอยู่ต่อจากตลาดเมืองธนบุรี แต่เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี ได้ทรง รวม อุปจาร วัดแจ้ง (วัดอรุณราชวราราม) และวัดท้ายตลาดเข้าไปในพระราชวัง ซึ่งเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์มาจำพรรษาตลอดรัชกาล
 
ต่อมาสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงย้ายเมืองหลวงมาตั้งที่ฝั่งกรุงเทพฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้นิมนต์พระสงฆ์ มาจำพรรษาทั้งที่วัดแจ้งและวัดท้ายตลาด ทรงตั้งพระมหาศรี วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) เป็นพระเทพโมลี และภายหลังได้สถาปนา เป็นพระพุทธโฆษาจารย์ มาเป็นเจ้าอาวาสวัดท้ายตลาด
 
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ครั้งเป็นสมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ได้โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์และสร้าง พระอุโบสถ และพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดพุทไธศวรรย์" ในสมัยนั้นการศึกษาวิชาการต่างๆ นั้นต้องไปศึกษาตามวัด จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระโอรสไปศึกษาอักษรสมัยเบื้องต้นในสำนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) ซึ่งเป็นพระราชาคณะแห่งวัดนี้ ขณะนั้นดำรง สมณศักดิ์เป็นพระพุทธโฆษาจารย์ ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของเจ้านายในสมัยนั้นมาก และยังเป็นพระราชกรรมวาจาจารย์ ของพระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อเสด็จออกผนวช
 
ต่อมา ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดใหม่ทั้งพระอาราม ทรงพระราชทานนามใหม่ ว่า “วัดโมลีโลกสุธาราม” ภายหลังได้เรียกกันว่า “วัดโมลีโลกยาราม” ในรัชสมัยนี้ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ถึงแก่มรณภาพ เมื่อ พ.ศ.๒๓๘๖ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้หล่อรูปสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) ประดิษฐานไว้ในหอที่วัดโมลีโลกยาราม เพื่อสักการะบูชาเวลาเสด็จพระ ราชดำเนินมาพระราชทานผ้าพระกฐิน จึงสืบเนื่องเป็นประเพณีมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน
 
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้ทรงปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ ทรงสร้างกุฎีตึกเจ้าอาวาส หอสวดมนต์ และหอกลาง ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงปฏิสังขรณ์หอพระไตรปิฎกซึ่งเป็นโบราณสถานของวัด ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดผ้าพระกฐินในปีพุทธศักราช ๒๔๑๘
 
ต่อมาเมื่อสมเด็จพระศรีสริเยนทราบรมราชินี ีเสด็จออกไปประทับกับพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชโอรสพระองค์น้อยที่พระราชวังเดิมฝั่งธนบุรี พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเข้าอยู่หัวจึงได้รื้อพระตำหนักแดง* ที่เคยประทับในพระบรมมหาราชวังไปสร้างถวายที่พระราชวังเดิมทั้งหมู่ ครั้นสมเด็จ พระศรีสุริเยนทราบรมราชินีเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้รื้อพระตำหนักแดงไปสร้างถวายเป็น กุฏิเจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยาราม
 
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงจัดลำดับพระอารามหลวงให้วัดโมลีโลกยารามเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิด ราชวรวิหาร และได้เสด็จพระราชดำเนินทอดถวายผ้าพระกฐินในปีพุทธศักราช ๒๔๕๘
 
วัดโมลีโลกยารามเป็นพระอารามหลวงที่มีความสำคัญมากในประวัติศาสตร์กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นวัดเก่าแก่สมควรที่จะได้รับการดูแลรักษาบูรณปฏิสังขรณ์ให้คงอยู่คู่พระราชวังเดิมแห่ง กรุงธนบุรี เป็นการอนุรักษ์สืบสานศิลปวัฒนธรรมไทยให้คงอยู่สืบไป.
 
ปัจจุบันวัดโมลีโลกยาราม มีจำนวนพระภิกษุสามเณรที่เข้าจำพรรษาทั้งสิ้น ๑๒๖ รูป เป็นพระภิกษุ ๖๙ รูปสามเณร ๕๗ มีโรงเรียน พระปริยัติธรรมเปิดสอนแผนกบาลีตั้งแต่ชั้นประโยค ๑-๒ ถึงเปรียญธรรม ๙ ประโยค และนักธรรมชั้นตรีถึงชั้นเอกพระภิกษุสามเณรทุกรูป ต่างได้ปฏิบัติศาสนกิจและศึกษาเล่าเรียน และบอกสอนพระธรรมวินัยตามความสามารถ
 
ปูชนียวัตถุ
 
๑. พระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปหล่อปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๔ ศอก พุทธลักษณะงดงาม ไม่ปรากฏพระนาม สร้างขึ้นพระอมพระอุโบสถหรือมีมาแต่เดิมไม่ปรากฏหลักฐาน
๒. รูปหล่อสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) นั่งขัดสมาธิประมาณขนาดเท่าตัว ประดิษฐานอยู่บนแท่นซึ่งมีคำจารึกที่ฐานรูปหล่อว่า ศุภมัสดุ พระพุทธศักราชล่วงแล้วสองพันสามร้อยแปดสิบหกพระวษา ณ วันจันทร์ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๘ ปีเถาะ เบญจศก พระบาท สมเด็จบรมธรรมมฤกมหาราชาธิราชรามาธิบดี บรมนารถบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัวมีพระราชโองการมาณพระบัณฑูรสุรสีหนาท ดำรัสสั่ง หลวงกัลมาวิจิตรเจ้ากรมช่างปั้นขวาและอาจารย์ฉิม กรมราชบัณฑิตย์ ให้จำลองหล่อพระพุทธรูปสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณอดุลย์สุนทรนายกติปิฏกธรา มหาคณฤษร บวรสังฆาราม คามวาสีบพิธ อันสถิต ณ พุทไธยสวรรยาวาศ วรวิหาร ไว้เป็นที่สักการ บูชาแก่สานุศิษย์ทั้งปวงสืบไป
 
ถาวรวัตถุ
๑. พระอุโบสถ ลักษณะทรงไทยยุคต้นรัตนโกสินทร์ขนาดก้าว ๙.๕๐ เมตร ยาว ๒๕ เมตร หลังคามุงกระเบื้องเคลือบ ช่อฟ้า ใบระกาไม้สักลังรักปิด กระจก ภายในผนังและเพดานเขียนภาพทรงข้าวบิณฑ์ ประตูและหน้าต่างแกะสลักลายกนกลงรักปิดทองงดงาม หน้าบันมีตราไอยราพรตรัชกาลที่ ๔ ตาม หลักฐานน่าจะสร้างในรัชกาลที่ ๑ ที่โปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร (รัชกาลที่๒) รับเป็นธุระสร้างขึ้นและได้รับการปฏิสังขรณ์ใหม่ใน รัชกาลที่ ๔ จึงมีตราประจำรัชกาลประดิษฐานที่หน้าบัน
๒. พระวิหาร ลักษณะทรงไทยผสมจีน ขนาดกว้าง๘.๗๕ เมตร ยาว ๑๙.๗๕ เมตร หลังคามุงกระเบื้องเคลือบดินเผา ช่อฟ้าใบระกาปั้นด้วยปูน ด้านใน กั้นเป็น ๒ ห้อง ด้านหลังเป็นห้องเล็กมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่และพระอัครสาวกประทับผินพระพุกตระไปทางพระอุโบสถผนังและเพดานเขียน ลวดลายงดงาม ด้านหน้าเป็นห้องใหญ่ตรงกลางมีแท่นชุกชีประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ประมาณ ๒๐ องค์ ผนังฉาบปูน ประตูและหน้าต่าง ทุกช่อง เขียนลายรดน้ำงดงามแต่ชำรุด เพดานเขียนลวดลายเป็นกลุ่มดาว สร้างเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐาน เพียงเล่าสืบกันมาว่า สมัยกรุงธนบุรีโปรดให้ใช้เป็น ฉางเกลือ จนมีผู้เรียกว่า พระวิหารฉางเกลือ มาจนถึงทุกวันนี้
๓. หอสมเด็จ หอนี้แบ่งเป็น ๒ ชั้น คือชั้นฐานและชั้นตัวหอ ชั้นฐาน กว้าง ๖.๒๐ เมตร ยาว ๒๑.๕๐ เมตร เป็นฐานรับหอสมเด็จและ พระเจดีย์ มีบันได้ขึ้นลง ๒ ทางแบ่งเป็นช่อง ๆ แต่ละช่องมีรูปปั้นทหารแบฐานไว้แต่ชำรุด ชั้นตัวหอ ประกอบด้วยหอสมเด็จและองค์ ์พระเจดีย์ทรงลังกาประจำอยู่มุมละ ๑ องค์ นัยว่าเป็นเจดีย์ที่บรรจุพระเมาฬีของรัชกาลที่ ๓ และรัชกาลที่ ๔ ด้านหน้าเป็นอุโมงค์บรรจุรอย พระพุทธบาทจำลอง เฉพาะตัวหอสมเด็จ กว้าง ๔.๐๐ เมตร ยาว ๘.๖๐เป็นตึกทรงไทย ภายในประดิษฐานรูปหล่อสมเด็จพระพุทธ โฆษาจารย์ (ขุน) หลังคามุงกระเบื้องเคลือบ ประตูและหน้าต่างเขียนภาพลายรดน้ำงดงาม นับเป็นสิ่งที่หาชมได้ยากยิ่ง
๔. หอพระไตรปิฎก เรียกทั่วไปว่า หอไตร เป็นอาคารไม้ ทรงไทยพื้นสูง ขนาดกว้าง ๗.๕๐ เมตร ยาว ๑๑.๕๐ เมตร หลังคามุงกระเบื้อง เคลือบใช้ปูนปั้นรูปเจดีย์แทนช่อฟ้า ประตู หน้าต่าง และผนังด้านในเขียนภาพลายรดน้ำสวยงาม คงสร้างในรัชกาลที่ ๓ และปฏิสังขรณ์ ์ในรัชกาลที่ ๕ แต่พระรัตนมุนี เจ้าอาวาสรูปที่ ๑๑ ให้ก่ออิฐเสริมชั้นล่างทำเป็นห้อง จึงเสียรูปทรงเดิมไป ขณะนี้ชำรุดทรุดโทรงมากทั้งตัว อาคารและลายรดน้ำ
๕. ศาลาการเปรียญ สร้างด้วยไม้ล้วน ยาว ๑๕ วา กว้าง ๕ วา หลังคามุขลด ๒ ชั้น มุงกระเบื้องไทย นอกจากปูชนียวัตถุและถาวรวัตถุ ุแล้ว สิ่งสำคัญที่เป็นสังหาริมวัตถุซึ่งได้รับพระราชทานไว้สำหรับวัดคือ
๑. พระไตรปิฏกฉบับพิมพ์ในรัชกาลที่ ๕ พร้อมตู้บรรจุ จำนวน ๑ จบ
๒. พระไตรปิฏกสยามรัฐ ซึ่งเป็นฉบับพิมพ์ในรัชกาลปัจจุบัน จำนวน ๑ จบ
๓. พระบรมรูปหล่อพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องยศจอมพลทหารบก
๔. ธรรมาสน์ลายทอง ซึ่งเป็นเครื่องสังเค็ด* ในคราวงานถวายพระราชทานเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว
๕. คัมภีร์ภิกขุปาฏิโมกข์พร้อมทั้งตู้และธรรมาสน์สำหรับนั่งสวด ซึ่งเป็นเครื่องสังเค็ดในงานพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระเจ้าพี่ นางเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงศรีรัตนโกสินทร์
 
พระราชาคณะผู้ครองวัดโมลีโลกยาราม นับตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ จนถึงปัจจุบัน มีจำนวน ๑๒ รูป คือ
๑. พระพุทธโฆษาจารย์ (ศรี) เดิมเป็นเปรียญอยู่วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) ในรัชกาลที่ ๑ ทรงตั้งเป็นพระเทพโมลี แล้วย้ายมาเป็นเจ้า อาวาสวัดโมลีโลกยารามซึ่งในเวลานั้นเรียกว่า "วัดท้ายตลาด" ภายหลังทรงสถาปนาเป็น "พระพุทธโฆษาจารย์"
๒. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) ประวัติเดิมไม่ปรากฏ ทราบแต่ว่าเป็นพระพุทธโฆษาจารย์ ในรัชกาลที่ ๒ โปรดเกล้าฯให้พระโอรสมาศึกษาวิชาการในสำนักของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์หลายพระองค์ ต่อมาในรัชกาลที่ ๓ ทรงสถาปนาเป็น "สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์" และถึงแก่มรณภาพในรัชกาลนี้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้หล่อรูปไว้ในหอสมเด็จและไว้ที่วัดโมลีโลกยาราม เพื่อทรงสักการะบูชาเวลาเสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานผ้าพระกฐิน ซึ่งสืบเนื่องเป็นประเพณีสืบมาจนรัชกาลปัจจุบัน
๓. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฉิม) เป็นชาวบ้านจาน จังหวัดเพชรบุรี เกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๖ ตรงกับรัชกาลที่ ๑ อุปสมบทที่ จังหวัดเพชรบุรี และเรียนพระปริยัติธรรมอยู่ที่วัดพระเชตุพนฯ กรุงเทพมหานคร จนได้เปรียญเอก ๙ ประโยค ในรัชกาลที่ ๒ ทรง ตั้งเป็นพระรัตนมุนี อยู่ที่วัดพระเชตุพนฯ ปี พ.ศ.๒๓๗๕ ตรงกับรัชกาลที่ ๓ ได้รับสถาปนาเป็น "พระพุทธโฆษาจารย์" ครองวัดโมลี โลกยาราม ในรัชกาลที่ ๔ ทรงรับสั่งว่า พระพุทธโฆษาจารย์ (ฉิม) นี้ หนังสือดี จึงโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเป็น "สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์" ครองวัดมหาธาตุ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๔
 
 
๔. พระธรรมไตรโลก (รอด) ประวัติเดิมไม่ปรากฏ มีปรากฏในรัชกาลที่ ๓ เป็นพระกระวีวงศ์ อยู่วัดโมลีโลกยาราม แล้วได้เลื่อน เป็นพระกระวี เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๔ ในรัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้า ฯ ให้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระธรรมไตรโลกครองวัด โมลีโลกยาราม และ ถึงแก่มรณภาพในปี พ.ศ.๒๔๐๙
๕. พระธรรมเจดีย์ (อยู่) เกิดในรัชกาลที่ ๒ ปี พ.ศ. ๒๓๕๘ เป็นชาวเมืองแกลง จังหวัดระยอง อุปสมบทในรัชกาลที่ ๓ แล้วเข้า ศึกษาพระปริยัติธรรมในกรุงเทพ ฯ อยู่ในสำนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฉิม) วัดโมลีโลกยาราม และได้เข้าแปลพระปริยัติธรรม ได้เป็นเปรียญ ๔ ประโยค
๖. พระราชานุพัทธมุนี (ม.ร.ว.เจริญ อิศรางกรู) เป็นบุตรหม่อมเจ้าถึก ในสมเด็จพระประพันธวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ เกิดที่บ้านบางอ้อ จังหวัดนครนายก เมื่อปีพ.ศ.๒๔๐๐ ตรงกับรัชกาลที่ ๔ ในวัยเด็กได้เรียนอักษรสมัยเบื้องต้นในสำนักบิดา เรียน ภาษบาลีในสำนักอาจารย์จีน จากนั้นบิดาพาไปถวายเป็นศิษย์หม่อมเจ้า สนมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัต) เรียนพระปริยัติธรรมในรัชกาล ที่ ๕ ได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๓ และได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทได้เปรียญ ๓ ประโยค และได้เปรียญ ๔ ประโยค ในปี พ.ศ. ๒๔๑๙ เมื่อยังเป็นสามเณร เมื่ออายุครบอุปสมบททรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้อุปสมบท เป็นนาคหลวงในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และเป็นพระราชาคณะมีราชทินนามเป็นพิเศษว่า พระราชานุพัทธมุนี ครอง วัดโมลีโลกยาราม เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๐ ภายหลังสุดเป็นสมเด็จพุทธโฆษาจารย์วัดระฆังโฆสิตาราม และถึงแก่มรณภาพในรัชกาลที่ ๗
๗. พระวิเชียรธรรมคุณาธาร (โสตถิ์ เปรียญ) ประวัติเดิมไม่ปรากฎและถึงแก่มรณภาพในรัชกาลที่ ๕
๘. พระสนิทสมณคุณ (เงิน) เป็นฃาวจังหวัดพระตะบอง* เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๕ บิดาชื่ออินทร์ มารดาชื่ออิ่มอุปสมบทที่วัดนะราแล้ว มาศึกษาพระปริยัติธรรมอยู่ในสำนักพระธรรมเจดีย์ (ทอง) วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพ ฯ และในสำนักพระยาธรรมปรีชา (ทิม) ในรัชกาลที่ ๕
 
 
ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูปัญญาคธาวุธและโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นเจ้าคณะใหญ่วเมืองพระตะบองและในปีพ.ศ. ๒๔๔๓ โปรดเกล้า ฯ ให้เปลียนราชทินนามเป็นพระสนิทสมณคุณ เป็นผู้ช่วยเจ้าคณะมณฑลบูรพา** เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง จังหวัดพระตะ บองตกไปอยู่ในการปกครองของฝรั่งเศส โปรดเกล้า ฯ ให้กลับเข้ามาอยู่ที่วัดพระเชตุพน ฯ กรุงเทพฯ ในรัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้า ฯ ให้มาครองวัดโมลีโลกยาราม เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๕๔
๙. พระประสิทธิ์ศีลคุณ (จ้อย) เกิดในรัชกาลที่ ๕ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๘ ที่ตำบลบ้านบุญลือ อำเภอพยุหคีรี จังหวัดนครสวรรค์ บิดาชื่อหร่าย มารดาชื่อเต่า อุปสมบทที่วัดขวิด อำเภอน้ำซึม จังหวัดอุทัยธานี แล้วมาศึกษาพระปริยัติธรรมอยู่ในสำนักวัดมหาธาตุ ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นเปรียญ ๔ ประโยค ถึง พ.ศ. ๒๔๕๗ รัชกาลที่ ๖ ได้พระราชทาน สมณศักดิ์ให้เป็นพระประสิทธิ์ศีลคุณ ภายหลังโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยาราม
๑๐. พระครูสังวรโมลี (ชาลี อุตฺตโร ป.ธ.๓) เกิดในรัชกาลที่ ๖ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๗ ที่อำเภอพนา จังหวัดอุบลราชธานี บิดาชื่อภู มารดาชื่อเหม เป็นเจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยาราม เมื่อประมาณ พ.ศ.๒๔๘๔ ได้ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๔
๑๑. พระรัตนมุนี (โสม ปญฺญาวุฑฺโฒ ป.ธ.๗) เกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๖ ที่บ้านขามป้อม อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี มารดา ชื่อสงค์ อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๙ ที่บ้านขามป้อม รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยาราม เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๕ และเป็นเจ้า อาวาสในปี พ.ศ.๒๕๑๗
๑๒. พระเทพปริยัติสุธี (คงฺคปญฺโญ ป.ธ.๘) เกิดเมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๖ บิดาชื่อนายคำมา มารดาชื่อนางคำ ธรรม วรางกูร ที่บ้านหมู่ที่ ๙ ตำบลนนทรี อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี อุปสมบทเมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๖ ณ วัดอินทรแบก อำเภอศรีมหโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี มีพระวิสุทธิธรรมาจารย์ (ทรัพย์) เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๗ ได้ สมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระศรีสุธรรมมุนี เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ ปี พ.ศ.๒๕๒๓ เป็นพระราชาคณะชั้น ราชที่ พระราชเมธี และในปี พ.ศ.๒๕๓๙ ได้สมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพปริยัติสุธี ในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้รับพระ ราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมปริยัติโสภณ
 
** ในเวลานั้น จังหวัดพระตะบอง รวมทั้งจังหวัดอื่นอีก ยกเป็นมณฑลหนึ่ง เรียกว่า มณฑลบูรพา
 
ในปี พ.ศ.๒๕๔๐ ได้รับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชให้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยารามจนถึงปัจจุบัน และยังดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าคณะภาค ๑๐ หัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ ๖ เป็นครั้งที่ ๒ นอกจากนี้ พระเทพปริยัติสุธี ได้รวบรวมและเรียบเรียงหนังสือเกี่ยวกับ การปกครองคณะสงฆ์ และการศาสนศึกษาไว้หลายเรื่อง เช่น การพัฒนาพระสังฆาธิการ รวบรวมพระราชบัญญัติ ๓ ฉบับ กฎมหาเถร สมาคม กฎระเบียบกระทรวง ระเบียบมหาเถรสมาคมและกฎองค์การ คำสั่งมหาเถรสมาคม และข้อบัญญัติอื่นซึ่งเกี่ยวกับการคณะ สงฆ์ไว้เป็นภาคที่ ๑ และเรียบเรียงภาคปฏิบัติอันประกอบด้วยงานสารบรรณ และวิธีปฏิบัติงานของคณะสงฆ์ ตามลักษณะงานที่มหา เถรสมาคมกำหนดเป็นภาคที่ ๒ เป็นหนังสือประมาณ ๑๐๐ ยก เป็นต้น
ปัจจุบันวัดโมลีโลกยาราม มีจำนวนพระภิกษุสามเณรที่เข้าจำพรรษาทั้งสิ้น ๑๒๔ รูป เป็นพระภิกษุ ๖๖ รูป สามเณร ๕๘ มี โรงเรียนพระปริยัติธรรมเปิดสอนแผนกบาลีตั้งแต่ชั้นประโยค ๑-๒ ถึงเปรียญธรรม ๙ ประโยค และนักธรรมชั้นตรีถึงชั้นเอกพระ ภิกษุสามเณรทุกรูป ต่างได้ปฏิบัติศาสนกิจและศึกษาเล่าเรียน และบอกสอนพระธรรมวินัยตามความสามารถ
 
พระธรรมปริยัติโสภณ
ในปี พ.ศ.๒๕๔๐ ได้รับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชให้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยารามจนถึงปัจจุบัน และยังดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะภาค ๑๐ หัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ ๖ เป็นครั้งที่ ๒ นอกจากนี้ พระเทพปริยัติสุธี ได้รวบรวมและเรียบเรียงหนังสือเกี่ยวกับการปกครองคณะสงฆ์ และการศาสนศึกษาไว้หลายเรื่อง เช่น การพัฒนาพระสังฆาธิการ รวบรวมพระราชบัญญัติ ๓ ฉบับ กฎมหาเถรสมาคม กฎระเบียบกระทรวง ระเบียบมหาเถรสมาคมและกฎองค์การ คำสั่งมหาเถรสมาคม และข้อบัญญัติอื่นซึ่งเกี่ยวกับการคณะสงฆ์ไว้เป็นภาคที่ ๑ และเรียบเรียงภาคปฏิบัติอันประกอบด้วยงานสารบรรณ และวิธีปฏิบัติงานของคณะสงฆ์ ตามลักษณะ
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://www.watmoli.org/ เว็บไซต์ วัดโมลีโลกยาราม]