ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เบญจศีล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
VolkovBot (คุย | ส่วนร่วม)
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
เปลี่ยนไปใช้เลขอารบิก
บรรทัด 1:
{{พุทธศาสนา}}
 
'''เบญจศีล''' หรือ '''ปัญจสีล''' แปลว่า ศีล 5 เป็น[[ศีล]]หรือข้อห้ามในลำดับเบื้องต้นตามพระโอวาทของ[[พระพุทธโคดม]] [[พระพุทธเจ้า|พระศาสดา]]แห่ง[[พุทธศาสนา]]พระองค์ปัจจุบัน แต่ทั้งนี้เบญจศีลเป็นหลักการที่มีมาและเป็นที่สั่งสอนทั่วไปก่อนพระพุทธโคดมอุบัติแล้ว<ref name = Royin-01>ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๘2548 : ๓๖๓363.</ref> จัดเป็นสีลขั้นต่ำของพระ[[โสดาบัน]]
 
เบญจศีลเป็นหลักธรรมประจำสังคมมนุษย์ ในพิธีกรรมทั้งปวงแห่งพุทธศาสนา ภิกษุจึงนิยมกล่าวป็น[[ภาษาบาลี]]มอบศีลที่ตนมีให้[[บุคคล]]ร่วมรักษาด้วย เรียกว่า "ให้ศีล" และพุทธศาสนิกจักกล่าวรับปากว่าจะรักษาศีลหรือที่เรียกว่ากล่าว "รับศีล" ทั้งนี้ ไม่เพียงแต่ภิกษุเท่านั้นที่ให้ศีล ฆราวาสผู้รักษาศีลอยู่แล้วก็สามารถให้ศีลแก่บุคคลอื่นได้ด้วย<ref name = Royin-02/>
บรรทัด 9:
== ประวัติ ==
 
เบญจศีลเป็นหลักธรรมประจำสังคมที่มีมาก่อน[[พุทธกาล]]แล้ว ปรากฏใน[[จักวัตติสูตร]]<ref>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑11 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 3 ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค จักกวัตติสูตร. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก [http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=11&A=1189&Z=1702]. เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 30-6-52</ref> ({{lang-pi|จกฺกวตฺติสุตฺต}}) อันกล่าวถึงเรื่อง[[พระเจ้าจักรพรรดิ]]ตรัสสอนประชาชนว่า ท่านทั้งหลายต้องไม่ฆ่าสัตว์ ({{lang-pi|ปาโณ น หนฺตพฺโพ}}), ต้องไม่ถือเอาของที่เขามิได้ให้ ({{lang-pi|อทินฺนํ น อาทาตพฺพํ}}), ต้องไม่ประพฤติไม่เหมาะสมทางเพศ ({{lang-pi|กาเมสุ มิจฺฉา น จริตพฺพา}}), ต้องไม่กล่าวเท็จ ({{lang-pi|มุสา น ภาสิตพฺพา}}) และต้องไม่บริโภคสุรายาเมา ({{lang-pi|มชฺชํ น ปาตพฺพํ}}) ต่อมา เมื่อมีผู้ประพฤติผิดจากที่พระเจ้าจักรพรรดิสอน จึงมีการลงโทษด้วยวิธีจับแขนไพล่หลังแล้วเอาเชือกเหนียวมัดอย่างมั่นคง โกนผม และประโคม[[บัณเฑาะว์]]เสียงกร้าว แห่ประจานไปตามถนนและตรอกซอกซอย พาออกไปทางประตูเมืองทิศใต้ ก่อน[[ประหารชีวิต]]ด้วยการตัดศีรษะ<ref name = Royin-01/>
 
เบญจศีลมีอิทธิพลมากในสังคมอินเดียโบราณ จากคำสอนที่ปรากฏในคัมภีร์จักวัตติสูตรดังกล่าว เมื่อกาลผ่านไปก็กลายเป็นคุณธรรมขั้นพื้นฐานสำหรับนีกบวชทั่วไปในสังคมอินดีย แต่ปรับปรุงเหลือเพียงสี่ข้อเท่านั้น ประกอบด้วย ไม่ฆ่าสัตว์ 1 ไม่ถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้ 1 ไม่มีเพศสัมพันธ์ 1 และไม่อวด[[อุตริมนุษยธรรม]] 1
 
ต่อมา[[พระโคดมพุทธเจ้า]]อุบัติขึ้นและประกาศ[[พุทธศาสนา]]ก็ทรงยอมรับเอาข้อห้ามห้าประการตามจักวัตติสูตรมาสั่งสอนในพุทธศาสนาอย่างแพร่หลาย เรียกว่า "ศีล" บ้าง "สิกขาบท" บ้าง แต่ในทางปฏิบัติหมายถึง เจตนางดเว้นจากการกระทำความชั่วห้าประการข้างต้น ไม่เพียงเท่านี้ ครั้งเสด็จออกบรรพชาก็ทรงถือปฏิบัติตามคุณธรรมนักบวชสี่ประการดังกล่าว โดยทรงขนานชื่อว่า "อกรณียกิจ 4" แปลว่า เรื่องที่นักบวชไม่พึงทำสี่ประการ และทรงนำไปเป็นเกณฑ์บัญญัติพระวินัยอีกด้วย ที่เห็นได้ชัดคือ [[ปาราชิก|ปาราชิก 4]]<ref name = Royin-02>ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๘2548 : ๓๖๔364.</ref>
 
โดยเหตุที่เบญจศีลเป็นหลักธรรมสำหรับอุ้มชูโลก จึงได้รับสมญาต่าง ๆ อาทิ สมญาว่า "มนุษยธรรม" คือ ธรรมของมนุษย์ กล่าวคือ เมื่อมนุษย์รักษาธรรมะห้าประการนี้แล้ว โลกหรือสังคมก็จะสงบสุข<ref name = Royin-02/>, ว่า "นิจศีล" หรือ "นิตยศีล" คือ ศีลที่บุคคลทั้งนักบวชและฆราวาสพึงรักษาเป็นนิตย์, ว่า "คิหิศีล" คือ ศีลของ[[คฤหัสถ์]], ว่า "อาคาริยวินัย" คือ วินัยของผู้ครองเรือน เป็นต้น<ref name = Royin-03>ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๘2548 : ๓๖๕365.</ref> [[ราชบัณฑิตยสถาน]]แห่ง[[ประเทศไทย]] แสดงความเห็นว่า "...น่าจะถือได้ว่า ศีล 5 เป็นรากฐานของศีลทั้งปวง..."<ref name = Royin-03/>
 
ต่อมา ได้มีผู้นำทางการเมืองของบางประเทศนำคำว่า "ปัญจสีล" ไปใช้ในทางการเมืองโดยเรียกว่า "ปัญจสีละ" และได้ให้นิยามตามความคิดเห็นของตนเอง ได้ความว่าคือการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ({{lang-en|non-alignment}})<ref name = Royin-03/>
บรรทัด 27:
<td><center>'''ที่'''</center></td><td><center>'''ข้อห้าม'''</center></td><td><center>'''คำแปล'''</center></td></tr>
<tr style="vertical-align:top">
<td>1. ปาณาติบาต</td><td>ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิ</td><td>เราจักถือศีลโดยเว้นจากการเบียดเบียนชีวิต</td></tr>
<tr style="vertical-align:top">
<td>2. อทินนาทาน</td><td>อทินฺนาทานา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิ</td><td>เราจักถือศีลโดยเว้นจากการเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้</td></tr>
<tr style="vertical-align:top">
<td>3. กาเมสุมิจฉาจาร</td><td>กาเมสุมิจฺฉาจารา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิ</td><td>เราจักถือศีลโดยเว้นจากการประพฤติไม่เหมาะสมทางเพศ</td></tr>
<tr style="vertical-align:top">
<td>4. มุสาวาท</td><td>มุสาวาทา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิ</td><td>เราจักถือศีลโดยเว้นจากการกล่าวเท็จ</td></tr>
<tr style="vertical-align:top">
<td>5. สุราเมรยมัชปมาทัฏฐาน</td><td>สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิ</td><td>เราจักถือศีลโดยเว้นจากการบริโภคสุรายาเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท</td></tr>
</table>
 
บรรทัด 42:
การรักษาเบญจศีลสามารถกระทำได้สองวิธี ดังนี้<ref name = Royin-02/>
 
1. '''สมาทานวิรัติ''' คือ สมาทานหรือขอรับศีลจากภิกษุ ซึ่งต่อมามีการพัฒนารูปแบบให้เป็นการกล่าวคำขอและคำรับศีล รวมทั้งมีคำสรุปอานิสงส์ของศีลด้วย ในอรรถกถาชาดก<ref>อรรถกถาชาดก ทั้งหมด ๕๔๗547 เรื่อง, ม.ป.ป. : ออนไลน์.</ref> ปรากฏกตอนหนึ่งว่า [[พระโพธิสัตว์]]เคยให้เบญจศีลแก่[[ยักษ์]]ด้วย นี้หมายความว่า มิใช่แต่ภิกษุเท่านั้น แม้คฤหัสถ์ที่มีศีลก็สามารถให้ศีลตามที่มีผู้ขอได้
 
2. '''สัมปัตวิรัติ''' ({{lang-pi|สมฺปตฺตวิรติ}}) คือ งดเว้นไม่ทำบาปขณะประสบกับสถานการณ์ที่กระตุ้นให้ทำบาป
 
== การจูงใจ ==
 
ใน[[พระไตรปิฎก]] โสตาปัตติสังยุตต์ ปุญญาภิสันทวรรค มหานามสูตร<ref>วิกิซอร์ซ, ๒๓23 มกราคม ๒๕๕๐2550 : ออนไลน์.</ref> ปรากฏการสนทนาระหว่าง[[พระพุทธโคดม]]กับ[[พระเจ้ามหานามศากยราช]] ครั้งนั้น พระพุทธโคดมประทับ ณ [[โครธาราม]] ใกล้[[กรุงกบิลพัสดุ์|พระนครกบิลพัสดุ์]] [[แคว้นสักกะ]] พระเจ้ามหานามศากยราชทูลถามว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ. ด้วยเหตุเพียงเท่าไร [[อุบาสก]]จึงจะชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล." มีพระกระแสวิสัชนาว่า
 
<blockquote>"ดูกร มหาบพิตร, อุบาสกเป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต, เป็นผู้งดเว้นจากอทินนาทาน, เป็นผู้งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร, เป็นผู้งดเว้นจากมุสาวาท, เป็นผู้งดเว้นจากสุราเมรยมัชปมาทัฏฐาน. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อุบาสกจึงจะชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล.</blockquote>
 
นอกจากนี้ ในพระไตรปิฎก โสตาปัตติสังยุตต์ ปุญญาภิสันทวรรค อภิสันทสูตรที่ 1<ref>วิกิซอร์ซ, ๒๓23 มกราคม ๒๕๕๐2550 : ออนไลน์.</ref> ปรากฏพระพุทธดำรัสสรรเสริญเบญจศีลอันเป็นพระธรรมว่า
 
<blockquote>"ดูกร ภิกษุทั้งหลาย. ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข 4 ประการนี้, 4 ประการเป็นไฉน. อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม...นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข..."</blockquote>
 
== เชิงอรรถ ==
บรรทัด 62:
 
{{เริ่มอ้างอิง}}
* [[ราชบัณฑิตยสถาน]]. (๒๕๔๘2548). ''พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน.'' (พิมพ์ครั้งที่ 2, แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน. ISBN 9749588339.
* [[วิกิซอร์ซ]].
** (๒๕๕๐2550, ๒๓23 มกราคม). ''โสตาปัตติสังยุตต์ - 4. ปุญญาภิสันทวรรค - มหานามสูตร.'' [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <[http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B9%8C_-_%E0%B9%94._%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84_-_%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3 1]>. (เข้าถึงเมื่อ: ๓๐30 พฤษาภาคม ๒๕๕๒2552).
** (๒๕๕๐2550, ๒๓23 มกราคม). ''โสตาปัตติสังยุตต์ - 4. ปุญญาภิสันทวรรค - อภิสันทสูตรที่ 1.'' [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <[http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B9%8C_-_%E0%B9%94._%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84_-_%E0%B8%AD%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88_%E0%B9%91 2]>. (เข้าถึงเมื่อ: ๓๐30 พฤษาภาคม ๒๕๕๒2552).
* ''อรรถกถาชาดกทั้งหมด ๕๔๗547 เรื่อง.'' (ม.ป.ป.). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <[http://www.geocities.com/watphummarint/index.1.1.htm 1]>. (เข้าถึงเมื่อ: ๓๐30 พฤษาภาคม ๒๕๕๒2552).
* [[Stewart McFarlane]]. (2001). ''Buddhism.'' Peter Harvey, editor. USA : Continuum.
{{จบอ้างอิง}}
บรรทัด 74:
 
[[หมวดหมู่:ศีล]]
[[หมวดหมู่:ธรรมหมวด 5]]
 
[[de:Fünf Silas]]