ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ท้าวสักกะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
เปลี่ยนทางมาที่พระอินทร์ ด้วยสคริปต์จัดให้
 
Xiengyod (คุย | ส่วนร่วม)
แยกเป็นบทความสำหรับกล่าวถึงพระอินทร์ในพุทธศาสนา (มีลิงก์ภาษาอื่นจับคู่)
บรรทัด 1:
{{ความหมายอื่น|เกี่ยวกับ= เทพในศาสนาพุทธ|สำหรับ= เทพองค์เดียวกันใน[[ศาสนาฮินดู]]|ดูที่= พระอินทร์}}
#REDIRECT [[พระอินทร์]]
[[File:Buddha with gods.jpg|thumb|ท้าวสักกะเทวราชและสหัปติพรหมอาราธนาพระโคดมพุทธเจ้าให้แสดงธรรมโปรดสัตว์โลกทั้งหลาย]]
'''สักกะ''' ([[ภาษาบาลี]]) หรือ '''ศักระ''' ([[ภาษาสันสกฤต]]) (ความหมาย: ผู้ทรงพลัง) เป็นชื่อของ[[เทพ]]ผู้ปกครองสวรรค์ชั้น[[ดาวดึงส์]]ใน[[จักรวาลวิทยาของศาสนาพุทธ]] ดังปรากฎนามในภาษาบาลีว่า "สกฺโก เทวานํ อินฺโท" ({{lang-sa|ศกฺโร เทวานำ อินฺทฺราะ}}) อันแปลได้ความว่า "ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่เหนือเหล่าเทวะทั้งหลาย<ref name=autogenerated1>[http://www.palikanon.com/english/pali_names/sa/sakka.htm Sakka<!-- Bot generated title -->]</ref> ในคัมภีร์ทาง[[ศาสนาพุทธ]] คำว่าสักกะถือว่าเป็น[[วิสามานยนาม]] (นามชี้เฉพาะ) ไม่อาจใช้เป็นชื่อแทนตัวของเทพองค์อื่นได้ ในทางตรงกันข้าม คำว่า อินฺท (ภาษาบาลี) หรือ อินฺทฺร (ภาษาสันสกฤต) ซึ่งมีความหมายว่า "ผู้เป็นใหญ่" (ไทยรับมาใช้ในรูปคำว่า [[พระอินทร์]]) จะถูกใช้เป็นคำเรียกแทนตัวท้าวสักกะอยู่บ่อยครั้ง
 
ใน[[ภาษาไทย]] นอกจากคำว่า "พระอินทร์" แล้ว เทพสักกะมักถูกกล่าวถึงในชื่อ "ท้าวสักกะเทวราช" หรืออาจเรียกเพียงย่อว่า "ท้าวสักกะ"{{ต้องการอ้างอิงเฉพาะส่วน}}
 
ในวัฒนธรรม[[เอเชียตะวันออก]] ท้าวสักกะเป็นที่รู้จักในนาม "ตี้ฉีเทียน" (帝釋天) หรือ "ฉีตี้ฮวานอิน" (釋提桓因) ใน[[ภาษาจีน]] และ "ไทฉะกุเท็น" (帝釈天) ใน[[ภาษาญี่ปุ่น]] สำหรับใน[[ประเทศจีน]]แล้ว บางครั้งมีการเปรียบเทียบว่าท้าวสักกะคือ[[เง็กเซียนฮ่องเต้]] (玉皇大帝) หรือจักรพรรดิหยกใน[[ลัทธิเต๋า]] ด้วยถือว่าเทพทั้งสององค์นี้มีประสูติในวันเดียวกัน คือ ในวันที่ 9 เดือนที่ 1 ตาม[[ปฏิทินจันทรคติของจีน]] (โดยปกติจะอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ตาม[[ปฏิทินสุริยคติ]])
 
ใน[[ฤคเวท]] อันเป็นวรรณคดีภาษาสันสกฤตใน[[ศาสนาฮินดู]] คำว่า "ศักระ" อันเป็นนามของท้าวสักกะในภาษาสันสกฤต ถูกใช้เป็นนามแทนตัวเทพอินทระหรือพระอินทร์อยู่บ่อยครั้ง แต่ในศาสนาพุทธ ตำนานและบุคลิกลักษณะของท้าวสักกะแตกต่างไปจากพระอินทร์ในพระเวทอย่างสิ้นเชิง"<ref name=autogenerated1 />
 
สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ซึ่งเป็นที่สถิตของท้าวสักกะตั้งอยู่เหนือยอด[[เขาพระสุเมรุ]] ซึ่งตามคติเรื่อง[[ไตรภูมิ]] ถือว่าภูเขาแห่งนี้เป็นศูนย์กลางของโลก อันมี[[พระอาทิตย์]]และ[[พระจันทร์]]เวียนโคจรโดยรอบ สวรรค์ชั้นนี้นับเป็นสวรรค์ชั้นที่สูงที่สุดที่เชื่อมต่อกับมนุสสภูมิ (โลกมนุษย์) โดยตรง ท้าวสักกะมีชีวิตที่ยาวนานเช่นเดียวกับเทพทั้งหลาย หากแต่ก็มีวาระที่จะหมดอายุขัยตามแรง[[บุญ]]ของตนเองเช่นกัน ในยามที่ท้าวสักกะจะต้องจุติ (ตาย) เมื่อจิตดับไปแล้ว จะบังเกิดท้าวสักกะองค์ใหม่ (ซึ่งอาจเป็นเทพองค์อื่น) ขึ้นแทนที่ท้าวสักกะองค์เดิมทันที เรื่องราวของท้าวสักกะในทางพระพุทธศาสนาทั้งไม่ว่าจะในอดีตหรือในปัจจุบัน (ในช่วงที่บันทึกพระไตรปิฎก) ปรากฏอยู่ใน[[ชาดก]]และ[[พระสูตร]]ต่างๆ ซึ่งโดยมากจะอยู่ในหมวด[[สังยุตตนิกาย]]
 
ชื่อของท้าวสักกะถูกกล่าวถึงในพระสูตรหลายตอน และมักปรากฏบทบาทเป็นผู้กราบทูลของคำปรึกษาจากพระโคดมพุทธเจ้าในปัญหาธรรมต่างๆ ถือกันว่าพระองค์เป็น[[ธรรมบาล]] (ผู้คุ้มครองธรรม) ในพุทธศาสนาร่วมกับเหล่า[[พรหม]]ทั้งหลาย
 
== อ้างอิง ==
{{reflist}}
 
[[Category:เทวดา]]
[[Category:คำในภาษาบาลี]]
[[Category:คำในภาษาสันสกฤต]]
 
{{โครงพุทธศาสนา}}
 
[[en:Śakra]]
[[es:Śakra]]
[[fr:Shakra (bouddhisme)]]
[[ja:帝釈天]]
[[pt:Sakra]]
[[vi:Đế Thích Thiên]]
[[zh:释提桓因]]