ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MuanN (คุย | ส่วนร่วม)
MuanN (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5:
 
หลักการของการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพไม่ใช่การทำให้หัวใจเต้นขึ้นใหม่ แต่เป็นเพื่อรักษาให้มีการไหลเวียนของเลือดนำ[[ออกซิเจน]]ไปเลี้ยง[[สมอง]]และ[[หัวใจ]] เป็นการชะลอการตายของเนื้อเยื่อและเพิ่มโอกาสที่ผู้ป่วยจะฟื้นกลับขึ้นมาโดยไม่มีความเสียหายถาวรเกิดขึ้นกับสมอง ปกติแล้วการกระตุ้นให้หัวใจเต้นขึ้นใหม่จะต้องใช้การกู้ชีพขั้นสูง เช่น การช็อตไฟฟ้าหัวใจ
==ข้อบ่งชี้==
ข้อบ่งชี้ของการเริ่มการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพนั้นใช้สำหรับบุคคลที่ไม่ตอบสนอง (unresponsive) และไม่หายใจหรือหายใจเฮือก มีโอกาสมากที่จะอยู่ในภาวะ[[หัวใจหยุด]]<ref name=CircEx10/>{{rp|S643}} ถ้ายังมีชีพจรอยู่แต่ไม่หายใจ (ภาวะหายใจหยุด) ควรเริ่มการช่วยหายใจมากกว่า อย่างไรก็ดีผู้ช่วยชีวิตหลายคนอาจไม่มีความเชี่ยวชาญในการจับชีพจร ดังนั้นอาจอนุโลมให้เริ่มการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพไปเลยได้<ref>European Resuscitation Council (2005), "Guidelines for resuscitation", Part 2, "Adult basic life support": "The following is a summary of the evidence-based recommendations for the performance of basic life support: Rescuers begin CPR if the victim is unconscious, not moving, and not breathing (ignoring occasional gasps).[...]"", available at https://www.erc.edu/index.php/guidelines_download_2005/en/</ref>
==ประวัติศาสตร์==
ในศตวรรษที่ 19 นายแพทย์ H. R. Silvester ได้อธิบายวิธีการจำลองการหายใจในผู้ป่วยที่ไม่หายใจโดยให้นอนหงาย ยกแขนขึ้นเหนือศีรษะเพื่อให้เกิดการหายใจเข้า ร่วมกับการกดหน้าอกเพื่อใหเกิดการหายใจออก โดยให้ทำต่อเนื่อง 16 ครั้งต่อนาที วิธีการนี้เรียกว่า The Silvester Method พบได้ในภาพยนตร์บางเรื่องช่วงต้นศตวรรษที่ 20