ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คนคาราบาว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kongkoy-laksi (คุย | ส่วนร่วม)
Kongkoy-laksi (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 19:
 
== การแสดง ==
คอนเสิร์ต ''ฅน คาราบาว'' อำนวยการสร้างโดย [[ดี-เดย์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์]] ต้นสังกัดของวงคาราบาวในขณะนั้น โดยมี [[ชนินทร์ โปสาภิวัฒน์]] รับหน้าที่ โปรเจ็กต์ ไดเรกเตอร์ อีกครั้งหนึ่ง หลังจากเคยร่วมงานมาแล้วจากคอนเสิร์ต[[คอนเสิร์ตทำโดยคนไทย]] เมื่อปี [[พ.ศ. 2528]] มีผู้สนับสนุนการจัดคอนเสิร์ตคือ เครื่องดื่ม[[โค้ก]] และกางเกงยีนส์[[แรงเลอร์]] โดยประกาศไว้ว่า จะ''เป็นคอนเสิร์ตการรวมตัวครั้งสุดท้ายก่อนจะเหลือเพียงความทรงจำ'' ด้วยการเสนอบทเพลงของวงคาราบาวในรูปแบบที่ไม่เคยทำมาก่อน
 
ความแตกต่างของคอนเสิร์ตครั้งนี้ คือการจัดแสดงดนตรีในร่ม ซึ่งจำกัดจำนวนผู้ชมประมาณ 5,000 คน มีการจัดเก้าอี้รองรับผู้ชม สำหรับเวทีถูกออกแบบอย่างอลังการ โดยมีจอวิดีโอขนาดยักษ์ พร้อมด้วยแสง สี เสียง และม่านเปิด-ปิดเวทีสลักตราสัญลักษณ์ของวง การแสดงจึงเป็นไปอย่างสงบเรียบร้อย โดยไม่พบปัญหาหรือสิ่งผิดปกติดังเช่นการแสดงดนตรีกลางแจ้ง แต่สังเกตว่าสมาชิกวงที่มารวมตัวกันครั้งนี้มีทั้งสิ้น 6 คน ขาดเพียง ''[[กีรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร]]'' ด้วยเหตุผลที่ว่ากำลังอยู่ในช่วงการออกเทปอัลบั้มเดี่ยวของตนเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น วงคาราบาวก็ไม่ได้สรรหานักดนตรีคนใดมาเพิ่มเติมเพื่อการนี้
 
การแสดงเริ่มต้นด้วย การร้องลำตัดหน้าม่านจากคณะหวังแม้ว นำโดย [[เดือนมนัส กมลบุตร]] โดยเนื้อหากล่าวถึงการเดินทางของวงคาราบาวด้วยลีลาขำขัน จากการแต่งของ [[อภิชาติ ดำดี]] จากนั้นจึงเปิดม่านเข้าสู่การแสดงของวงคาราบาว โดยเสนอบทเพลงตั้งแต่อัลบั้มชุดแรกจนถึงอัลบั้มชุดหลังๆ เมื่อครั้งที่ยังรวมตัวกันครบวง และสร้างปรากฏการณ์ความยิ่งใหญ่ให้กับวง นอกจากนี้ ยังได้แขกรับเชิญบนเวทีมาช่วยเพิ่มอรรถรสในการแสดง คือ คณะกลองยาวเอกทนต์ และ กลุ่มนักดนตรีเครื่องสายจาก[[กองดุริยางค์ทหารเรือ]] ที่มาร่วมบรรเลงเพลงที่ยิ่งใหญ่อย่าง ''แม่สาย, เจ้าตาก'' และเพลง ''เรฟูจี'' ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ทางวงมีความตั้งใจที่จะแสดงสดให้เหมือนกับภาคบันทึกเสียงในอัลบั้ม