ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 309"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kittinunn.scc (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Kittinunn.scc (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
สำหรับทางหลวงแผ่นดินสายวังน้อย-อยุธยา ได้รับการตั้งชื่อว่า "ถนนโรจนะ"<ref name="gazette">[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2493/D/067/6377.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งชื่อทางหลวงแผ่นดินและสะพานขนาดใหญ่] - ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 67 ตอน 67 ง, 12 ธันวาคม พ.ศ. 2493</ref> เมื่อวันที่ [[10 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2493]]<ref name="gazette"/> ในสมัยที่[[จอมพล ป. พิบูลสงคราม]]เป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นเกียรติแก่นาย[[วิธี โรจนะ]] นายช่างกำกับแขวงการทางหินกอง<ref name="gazette"/>
 
ทางหลวงดังกล่าวแบ่งออกเป็น 3 ช่วง โดยช่วงต้นทางแยกจากถนนพหลโยธิน ในเขต[[อำเภอวังน้อย]] จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผ่าน[[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 352]]ตัดกับถนนสายเอเชียที่[[ทางแยกต่างระดับอยุธยา]] [[อำเภอพระนครศรีอยุธยา]] ข้าม[[สะพานปรีดี-ธำรง]] (ปัจจุบันจะสัญจรผ่าน[[สะพานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช]] และ [[สะพานสมเด็จพระเอกาทศรถ]] ซึ่งเป็นสะพานขนาน) เข้าสู่[[เกาะอยุธยา]] ซึ่งจะเรียกว่าถนนปรีดีพนมยงค์ ก่อนจะบรรจบกับ[[ถนนศรีสรรเพชญ์]] ในเขต[[เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา]]
 
จากนั้นได้เริ่มต้น ถนนอยุธยา-อ่างทอง ซึ่งจะขนานไปกับแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งตะวันตก โดยแยกจาก[[ถนนอู่ทอง]] บริเวณทิศเหนือของเกาะอยุธยา ข้ามสะพาน[[คลองสระบัว]] (คูเมือง) ผ่านอนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตัดกับ[[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 347]] ที่[[แยกทุ่งมะขามหย่อง]] เข้าสู่[[จังหวัดอ่างทอง]] ตัดกับ[[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 329]] ที่อำเภอป่าโมก ตัดกับ[[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 334|ถนนเลี่ยงเมืองอ่างทอง]] ก่อนจะไปบรรจบกับ[[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 334]] (ทางเข้าเมืองอ่างทอง) ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่[[สะพานอ่างทอง]] [[อำเภอเมืองอ่างทอง]]