ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอแก้งสนามนาง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 20:
คำว่า “แก้ง” เป็นภาษาท้องถิ่น ที่ใช้กันของ[[อีสาน]] หมายถึง “แก่งหินกลางลำน้ำ” ชุมชนที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นอำเภอแก้งสนามนางในทุกวันนี้ มีความสำคัญในฐานะที่ในอดีต อาณาบริเวณนี้ใช้เป็นท่าสำหรับข้าม[[แม่น้ำชี]] เพื่อเดินทางไปติดต่อสัมพันธ์กันระหว่างผู้คนในเขตการปกครอง[[เมืองชัยภูมิ]] กับผู้คนในเขตบัวใหญ่ (สมัยนั้น) ของ[[เมืองโคราช]] ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อหรือไปมาหาสู่ ค้าขายหรือแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ชุมชนที่เป็นท่าข้ามลำน้ำชีดำเนินความสำคัญเรื่อยมา จนมาถึงยุคที่มีรถไฟวิ่งมาถึงกลาง[[ภาคอีสาน]]
 
การนำสินค้าจาก[[จังหวัดชัยภูมิ]]เข้าสู่เมืองหลวง ก็จะลำเลียงข้ามแม่น้ำชีมาขึ้นรถไฟที่[[อำเภอบัวใหญ่]] (ในปัจจุบัน) เพื่อส่งเข้า[[กรุงเทพฯ]] ต่อมา รัฐบาลเข้าไปพัฒนาสร้างถนนลูกรัง และ สร้างสะพานเหล็กข้ามลำน้ำชีให้เป็นอีกเส้นทางหนึ่ง เพื่อใช้ติดต่อกันระหว่าง จังหวัดชัยภูมิกับอำเภอบัวใหญ่ [[จังหวัดนครราชสีมา[[]] เมื่อ [[พ.ศ. 2480]] และ ใช้เป็นเส้นทางลำเลียงสินค้าจากชัยภูมิสู่กรุงเทพฯ ด้วยโดยนำมาบรรทุกรถไฟที่สถานีรถไฟบัวใหญ่ จนถึงปี [[พ.ศ. 2513]] ก็รื้อสะพานเหล็กสร้างใหม่เป็นสะพานคอนกรีตปัจจุบันถนนสายนี้กลายเป็นทางหลวงหมายเลข 202
ท่าที่ใช้ข้ามแม่น้ำนี้มักมีชื่อตามแก่งหินน้ำตื้นที่ขวางอยู่กลางลำน้ำในอาณาบริเวณชุมชนนั้น ดังเช่น ท่าข้าม “แก้งโก” (แก่งต้นตะโก) จึงเป็นข้อสังเกตให้เห็นว่า ที่ชุมชนที่ตั้งอยู่ริมแก่งทั้งสองนี้จะมีชื่อตามชื่อแก่งว่า [[หมู่บ้าน]] "แก้งขาม"และหมู่บ้าน "แก้งโก"