ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เพกมาไทต์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Rechavalentine (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Rechavalentine (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
[[File:Pegmatite drawPegmatite1.jpg|thumb|CrossGneisses Sectioncut Illustratingby a Hypothetical Pluton With Pegmatites.granite]]
หินเพกมาไทต์([http://en.wikipedia.org/wiki/Pegmatite pegmatite])เป็น[[หินอัคนี]]แทรกซอน(Intrusive igneous) มักปรากฏอยู่เป็นสายแร่ ทำให้มักเรียกเป็น “สายแร่เพกมาไทต์(Pegmatite veins)” ประกอบด้วยแร่หลักเพียงควอตซ์ และ เค-[[เฟลด์สปาร์]](K-[http://en.wikipedia.org/wiki/Feldspar feldspar]) และอาจมีมัสโคไวท์([http://en.wikipedia.org/wiki/Muscovite Muscovite]), ไบโอไทต์([http://en.wikipedia.org/wiki/Biotite Biotite]), [[ทัวร์มาลีน]]([http://en.wikipedia.org/wiki/Tourmaline Tourmaline]) หรือแร่อื่นอยู่บ้าง เป็นส่วนประกอบรอง ผลึกแร่([http://en.wikipedia.org/wiki/Grain_size Grain size])ในเพกมาไทต์โดยปกติแล้วจะมีขนาดใหญ่กว่า 2.5 เซนติเมตรแต่บางครั้งอาจมีขนาดใหญ่มากถึง 10 เซนติเมตรได้ ทั้งนี้เนื่องจากสารละลายร้อนมักมีความเข้มข้นน้อย(มีน้ำ,ไอมาก)และมีพื้นที่สำหรับการตกผลึกดีกล่าวคือมีช่องรอยแตก(fracture)ในหินทำให้สารละลายร้อนและไอค่อยๆทำการตกผลึกช้าๆ และมีเวลาเพียงพอให้เกิดการตกผลึกใหญ่ๆได้<br />
 
'''ส่วนประกอบของเพกมาไทต์'''มีความคล้ายกับส่วนประกอบหลักของ[[หินแกรนิต]]([http://en.wikipedia.org/wiki/Granite Granite]) ฉะนั้นเมื่อกล่าวถึงเพกมาไทต์ส่วนมากจะเข้าใจโดยปริยายว่าเป็น “แกรนิตเพกมาไทต์(Granite pegmatite)” แม้ว่ามันอาจเกิดได้ในหินอัคนีบาดาล (Plutonic igneous rock)อย่างอื่นบ้างเป็นส่วนน้อย การตกผลึกพร้อมกันช้าๆ ของ[[ควอตซ์]]([http://en.wikipedia.org/wiki/Quartz Quartz])และไมโครคลายน์([http://en.wikipedia.org/wiki/Microcline Microcline])ทำให้ได้ลักษณะของผลึกประสานเสียบกันระหว่างสองแร่เป็นลักษณะเฉพาะตัวเรียกว่า “กราฟฟิคแกรนิต(Graphic granite)”<br />
 
[[File:Pegmatite draw.jpg|thumb|Cross Section Illustrating a Hypothetical Pluton With Pegmatites.]]
'''การเกิดสายแร่เพกมาไทต์'''นั้นเป็นที่เข้าใจกันว่ามีความเกี่ยวข้องกับการตกผลึกของ[[หินหนืด]](Magma)มวลมหาศาล นั่นคือเกี่ยวข้องกับหินอัคนีบาดาลด้วย โดยมีการตกผลึกที่ทำให้เกิดธาตุที่เป็นไอมากขึ้นเรื่อยๆ ลงในส่วนที่เป็นของเหลวเช่น [[โบรอน]] (B), [[ฟลูออรีน]](F), [[คลอรีน]](Cl), [[ฟอสฟอรัส]](P) และไอน้ำ การมีไอมากขึ้นทำให้ความข้น(หนืด)ของหินหนืดลดลง ทำให้สภาวะการตกผลึกดี ขนาดผลึกใหญ่ขึ้น ซึ่งในขณะการเป็นไอนั้นทำให้ความดันสูงขึ้นด้วยสามารถผลักดันสารละลายแทรกซอนเข้าไปในหินท้องที่ ([http://en.wikipedia.org/wiki/Country_rock_(geology) Country rocks]) เป็นสายแร่ได้
การตกผลึกทีละครังของสารละลายที่เข้าไปในสายแร่ทำให้ได้เพกมาไทต์ที่มีลักษณะโซน (Zone) ของแร่ได้ โดยมีการตกผลึกที่ผนังสองข้างของรอยแตกก่อนแล้วสารละลายจึงแทรกเข้าไปตรงกลางเปิดช่องว่างให้กว้างขึ้นอีก และแร่รุ่นใหม่กว่าจึงงอกตกผลึกออกจากผนังช่องว่างเรียกว่า “วัค ([http://en.wikipedia.org/wiki/Vug vug])” หรือหากมีรูปทรงคล้ายลูกมะพร้าวเรียก “จีโอด ([http://en.wikipedia.org/wiki/Geode geode])”<br />