ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปางบำเพ็ญทุกรกิริยา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thanit (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
Thanit (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 3:
'''ปางบำเพ็ญทุกรกิริยา''' เป็นชื่อเรียก[[พระพุทธรูป]]ลักษณะนั่งสมาธิ ลักษณะพระวรกายผ่ายผอมเห็นหนังติดกระดูก
==ประวัติความเป็นมา==
การบำเพ็ญทุกรกิริยา (กิรยาที่ทำได้โดยยาก ได้แก่การบำเพ็ญเพียรเพื่อบรรลุธรรมวิเศษ ด้วยวิธีการทรมานตนด้วยวิธีต่างๆ) ของพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นเมื่อพระองค์ทรงตั้งพระทัยที่จะพยายามคิดค้นคว้าแสวงหาความรู้ด้วยพระองค์เอง หลังจากทรงสำเร็จจากสำนักอาจารย์อาฬารดาบส กาลามโคตร และอุททกดาบส รามบุตร แล้ว พระองค์เริ่มด้วยการทรมานพระวรกายตามวิธีการของโยคี เรียกว่าการบำเพ็ญ ทุกรกิริยา (ได้แก่การกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะและอดอาหาร เป็นต้น ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรง ปฏิบัติก่อนตรัสรู้) บริเวณริมแม่น้ำเนรัญชราและได้ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาติดต่อกันเป็นเวลา 6 ปี จนมีพระวรกายผ่ายผอมแต่ก็ยังคงไม่ได้พบหนทางหลุดพ้นจาก ทุกข์ได้ เพราะเป็นการปฏิบัติฝ่าย[[อัตตกิลมถานุโยค]] ในที่สุดพระองค์จึงทรงเลิกการบำเพ็ญทุกรกิริยา แล้วกลับมาเสวยพระกระยาหารเพื่อบำรุง พระวรกายให้แข็งแรง เพื่อจะได้มี กำลังในการคิดค้นพบวิธีใหม่ ในขณะที่พระมหาบุรุษได้ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยานั้น ได้มีปัญจวัคคีย์มาคอยปรนนิบัติรับใช้ ด้วยความหวังว่า เมื่อพระโพธิสัตว์ได้ตรัสรู้แล้วพวกตนจะได้รับการถ่ายทอดธรรมะด้วย และเมื่อพระมหาบุรุษล้มเลิกการบำเพ็ญ ทุกรกิริยา ปัญจวัคคีย์ก็ได้ชวนกันละทิ้งพระโพธิสัตว์ไปทั้งหมด เป็นผล ทำให้พระโพธิสัตว์ได้อยู่ตามลำพังในที่สงบเงียบ ปราศจากสิ่งรบกวนทั้งปวง ส่วนปัญจวัคคีได้เดินทางไปอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤค-ทายวันกรุงพาราณสี พระองค์ได้ทรงตั้งพระสติและเดินทาง สายกลาง คือ การปฏิบัติในความพอเหมาะพอควร
 
==ความเชื่อและคตินิยม==