ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐประหารในประเทศสยาม มิถุนายน พ.ศ. 2476"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Jo Shigeru (คุย | ส่วนร่วม)
แจ้งต้องการอ้างอิงด้วยสจห.
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
'''รัฐประหารในประเทศไทย มิถุนายน พ.ศ. 2476''' เป็น[[รัฐประหาร]]ครั้งแรกใน[[ประเทศไทย]] (ซึ่งบางครั้งจะไม่นับ [[รัฐประหารในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2476]] เป็นครั้งแรก) เกิดขึ้นเมื่อวันที่ [[20 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2476]] นำโดยพลเอก[[พระยาพหลพลพยุหเสนา]] ยึดอำนาจการปกครองของ[[รายชื่อนายกรัฐมนตรีของไทย|นายกรัฐมนตรี]] [[พระยามโนปกรณ์นิติธาดา]]
 
รัฐประหารครั้งนี้มีขึ้นหลังเกิดความตึงเครียดเมื่อพระยามโนปกรณ์นิติธาดาประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภาและงดใช้[[รัฐธรรมนูญ]]บางมาตรา หลังจากมีความขัดแย้งกันในหมู่รัฐบาล[[คณะราษฎร]] อันสืบเนื่องจากการยื่น "[[สมุดปกเหลือง]]" เสนอเค้าโครงเศรษฐกิจของนาย[[ปรีดี พนมยงค์]] ที่ถูกหลายฝ่ายมองว่าเป็นคล้ายกับเค้าโครงเศรษฐกิจของ[[คอมมิวนิสต์]] จึงนำไปสู่การปิดหนังสือพิมพ์บางฉบับ และเมื่อถึงขั้นวิกฤต "4 ทหารเสือ" คือ [[พระยาพหลพลพยุหเสนา]] [[พระยาทรงสุรเดช]] [[พระยาฤทธิอัคเนย์]] และ[[พระประศาสน์พิทยายุทธ์]] ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ [[13 มิถุนายน]] โดยอ้างเหตุผลว่าเพื่อพักผ่อนหลังจากตรากตรำทำงานราชการจนสุขภาพเสื่อมโทรม
 
จากนั้น ในเวลาหัวค่ำของคืนวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 คณะทหารบก ทหารเรือ และพลเรือน นำโดย[[พระยาพหลพลพยุหเสนา]] [[หลวงพิบูลสงคราม]] และ[[หลวงศุภชลาศัย]] ได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจจากพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ให้เหตุผลว่า
 
{{คำพูด|ด้วยคณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดิน ณ บัดนี้ ไม่ถูกต้องครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญ โดยเริ่มต้นปิดสภาผู้แทนและงดใช้รัฐธรรมนูญเป็นหลายบท คณะทหารบก ทหารเรือ และพลเรือน จึงเห็นเหตุจำเป็นเข้ายึดอำนาจการปกครองเพื่อให้มีการเปิดสภาผู้แทนดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ|}}