ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วงศ์ปลากัด ปลากระดี่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Plesiosaur (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 18:
'''วงศ์ปลากัด ปลากระดี่''' ([[ชื่อวิทยาศาสตร์]]: Osphronemidae, {{lang-en|labyrinth fish}}) เป็น[[วงศ์ (ชีววิทยา)|วงศ์]]ปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ พบกระจายอย่างกว้างขวางตั้งแต่ภูมิภาค[[เอเชียใต้]], [[อนุทวีปอินเดีย]], [[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้]] ไปจนถึง[[ประเทศเกาหลี|เกาหลี]] โดยมากปลาที่อยู่ในวงศ์นี้จะมีลักษณะเป็นปลาขนาดเล็ก ลำตัวป้อมแบน เกล็ดสากเป็นแบบ Ctenoid มีสีสันสวยงาม ตัวผู้มีขนาดใหญ่และสีสดสวยกว่าตัวเมีย ครีบอกคู่แรกเป็นเส้นยาวใช้สำหรับสัมผัส มีความสามารถพิเศษคือ มีอวัยวะช่วยในการหายใจอยู่ในเหงือก เรียกว่า labyrinth organ จึงทำให้สามารถฮุบอากาศจากบนผิวน้ำได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านเหงือกเหมือนปลาทั่วไป จึงสามารถอยู่ในน้ำที่มี[[ออกซิเจน]]ต่ำได้ มักอยู่ในแหล่งน้ำนิ่งขนาดเล็ก เช่น ห้วย หนอง บึง หรือ ร่องสวนมากกว่าแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น [[คลอง]] หรือ [[แม่น้ำ]] ในบางสกุล ตัวผู้จะใช้น้ำลายผสมกับอากาศเรียกว่า "หวอด" ก่อติดกันเป็นกลุ่มก้อนเพื่อวางไข่ และตัวผู้จะเป็นผู้ดูแลรักษาไข่และตัวอ่อน เป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าว ในบางสกุลเช่น [[สกุลปลากัด]] (''Betta'' spp.) เป็นปลานิสัยก้าวร้าวมาก ตัวผู้เมื่อพบกันจะกัดกันจนตายกันไปข้าง
 
ปลาในวงศ์นี้ส่วนใหญ่มีขนาดไม่เกิน 10 [[เซนติเมตร]] และมีสีสันสวยงาม จึงนิยมนำมาเลี้ยงเป็น[[ปลาสวยงาม]]มากกว่า[[กิน|บริโภค]] เป็นที่รู้จักกันดีเช่น [[ปลากัดภาคกลาง|ปลากัด]] (''Betta spendens'') , [[ปลากระดี่หม้อ|ปลากระดี่นางฟ้า]] (''Trichogaster trichopterus'') [[ปลาพาราไดซ์|ปลาพาราไดซ์]] (''Macropodus opercularis'') เป็นต้น
 
อย่างไรก็ตาม ปลาบางชนิดที่มีขนาดใหญ่เป็นปลาเศรษฐกิจที่นำมาบริโภคได้ เช่น [[ปลาสลิด]] (''Trichogaster pectoralis'') และ[[ปลาแรดธรรมดา|ปลาแรด]] (''Osphronemus goramy'') ซึ่งมีขนาดใหญ่ได้ถึง 90 [[เซนติเมตร]] และพบได้ทุกภาคใน[[ประเทศไทย]] ตลอดไปจนถึง[[มาเลเซีย]]และ[[อินโดนีเซีย]]