ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดศรีชุม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Posterweb (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
 
 
"วัดศรีชุม" หรือ "วัดฤาษีชุม" เป็น[[โบราณสถาน]]ในเขต[[อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย]] [[จังหวัดสุโขทัย]] ตัววัดเป็นโบราณสถานตั้งอยู่ทางทิศ[[ตะวันตกเฉียงเหนือ]] นอกกำแพงเมือง[[สุโขทัย]] วัดนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปาง[[มารวิชัย]]องค์ใหญ่ซึ่งมีนามว่า "พระอัจนะ" องค์พระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ใน[[มณฑป]] พระพุทธอจนะ เป็นที่เลื่องลือถึงความศักดิ์สิทธิ์และมีมนต์เสน่ห์และเอกลักษณ์ชวนให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวชมและสักการะอย่างไม่ขาดสาย ในปัจจุบันทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ไม่ห่างจากตัวโบราณสถานนัก มีวัดสร้างใหม่มี[[พระ]][[ภิกษุ]][[สงฆ์]]จำพรรษา ใช้ชื่อว่าวัดศรีชุมเช่นเดียวกัน
 
==ประวัติ==
บรรทัด 11:
"วัดศรีชุม" คำว่า "ศรี" มาจากคำเรียกพื้นเมืองเดิมของไทยว่า "สะหลี" ซึ่งหมายถึง ต้น[[โพธิ์]] ดังนั้นชื่อ ศรีชุม จึงหมายถึงดงของต้นโพธิ์ แต่ในหนังสือ[[พระราชพงศาวดาร]][[กรุงศรีอยุธยา]]ที่เขียนในสมัยอยุธยาตอนปลาย ไม่เข้าใจความหมายนี้แล้ว จึงเรียกสถานที่นั้นว่า "[[ฤๅษี]]ชุม"
 
วัดศรีชุมนั้น สันนิษฐานว่าสร้างในสมัย[[พ่อขุนรามคำแหง]] โดยปรากฏอยู่ใน[[ศิลาจารึก]]สุโขทัยหลักที่ 1 ว่า " เบื้องตีนนอนเมืองสุโขทัยนี้...............มีพระอจนะ มี[[ปราสาท]]" พระประธานในมณฑปจึงมีชื่อว่า "พระอจนะ"
 
[[ภาพ:พระนเรศ สักการะวัดศรีชุม.jpg|right|thumb|สมเด็จ[[พระนเรศวร]]ทรงกระทำ[[พิธีถือน้ำพระพิพัฒนสัตยา]]ปลุกปลอบใจขวัญทหาร ปฐมเหตุแห่งตำนาน "พระพูดได้" ( ภาพ[[จิตรกรรม]]ฝาผนังวัดสุวรรดารารามฯ [[อยุธยา]] )]]
 
พระ[[มณฑป]][[กว้าง]]ด้านละ 32 [[เมตร]] [[สูง]] 15 เมตร ผนัง[[หนา]] 3 เมตร ผนังด้านซ้ายเจาะเป็นทางทำบันได ในผนังขึ้นไปถึงหลังคา ตามฝาผนัง[[อุโมงค์]]มีภาพเขียนเก่าแก่แต่เลอะเลือนเกือบหมด ภาพเขียนนี้มีอายุเกือบ 700 ปี เพดานผนังมีแผ่น[[หินชนวน]]สลักภาพลายเส้นเป็นเรื่องใน[[ชาดก]]ต่างๆ มีจำนวน 50 ภาพ เรียงประดับต่อเนื่องกัน ทั้งหมดนี้ถือได้ว่าเป็นงาน[[จิตรกรรม]]ไทยที่เก่าแก่ที่สุด
 
ในสมัย[[อยุธยา]] เมื่อครั้งสมเด็จ[[สมเด็จพระนเรศวรมหาราช]] ประกาศอิสรภาพในปี [[พ.ศ. 2127]] ที่เมืองแกลง ทำให้หัวเมืองต่าง ๆ ยกเลิกการส่ง[[ส่วย]]ให้กับ[[พม่า]] แต่ยังมีเมือง[[เชลียง]] ( [[สวรรคโลก]]) ที่ไม่ยอมทำตามพระราชโองการของพระองค์ พระองค์จึงนำทัพเสด็จมาปราบเมืองเชลียง และได้มีการมาชุมนุมทัพที่วัดศรีชุมแห่งนี้ก่อนที่จะไปตีเมืองเชลียง และด้วยการรบในครั้งนั้นเป็นการรบระหว่างคนไทยกับคนไทยด้วยกัน ทำให้เหล่าทหารไม่มีกำลังใจในการรบไม่อยากรบ สมเด็จพระนเรศวรจึงได้วางแผนสร้างกำลังใจให้กับทหารโดยการให้ทหาร คนหนึ่งปีนบันไดขึ้นไปทางด้านหลังองค์พระ และพูดให้กำลังใจแก่เหล่าทหาร ทำให้ทหารเกิดกำลังใจที่จะต่อสู้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดตำนานพระพูดได้ที่วัดศรีชุมแห่งนี้ และพระนเรศวรยังได้มีการทำ[[พิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา]]ขึ้นที่วัดแห่งนี้ด้วย
 
ตามหลักฐานระบุว่าวัดแห่งนี้ได้มีการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัย[[พระเจ้าลิไท]] และมีการดูแลบูรณะเรื่อยมา สันนิษฐานว่าวัดนี้ได้ถูกทิ้งร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย จนกระทั่งในสมัย [[รัชกาลที่ 9]] ได้มีโครงการบูรณปฏิสังขรณ์ ในปี [[พ.ศ. 2495]] โดยเริ่มมีการบูรณะพระพุทธรูปพระอจนะ โดยศาสตราจารย์์[[ศิลป์ พีระศรี]] และอาจารย์[[เขียน ยิ้มสิริ]] วัดจึงอยู่ในสภาพที่เห็นในปัจจุบัน
 
==สภาพโบราณสถาน==
บรรทัด 28:
วัดศรีชุม เป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองสุโขทัย สันนิษฐานว่าสร้างในสมัย[[พ่อขุนรามคำแหง]] ในวัดปรากฏโบราณสถานขนาดใหญ่ลักษณะมณฑปรูป[[สี่เหลี่ยมจัตุรัส]]ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่เต็มมณฑป ซึ่งสันนิษฐานว่าในอดีตตัวมณฑปน่าจะมีหลังคาคล้าย[[โดม]] ตัวมณฑปนั้นตั้งอยู่บนฐานสูง ด้านหน้าเปิดเป็นช่องเห็นพระพักตร์พระพุทธรูปงดงามแต่ไกล
 
ตัวโบราณสถานประกอบด้วยอาคารหลัก 2 หลัง หลังแรกเป็น[[มณฑป]]รูปสี่เหลี่ยมกว้าง 32 คูณ 32 ม. สูง 15 ม. ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปที่มีชื่อว่า พระอจนะ ในด้านหน้า เป็น[[วิหาร]]หลวงมี 6 ห้อง ปรากฏในศิลาจารึกว่า “เบื้องตีนนอน” อยู่ทางทิศเหนือ จะมีพระพุทธรูปใหญ่ “เบื้องหัวนอน” จะอยู่ทางทิศใต้ สมัย[[พ่อขุนรามคำแหง]]โปรดให้สร้างมณฑปครอบพระพุทธรูปไว้ และในสมัย[[พระเจ้าลิไท]]โปรดให้ก่อผนังใหม่อีกข้างให้ห่างจากผนังเดิม 1 เมตร 50 ซ.ม. โดยช่องว่างให้ทำบันได ทำ[[อุโมงค์]]ขึ้นไปทางด้านหลังองค์พระ ผนังของอุโมงค์นี้โปรดให้ไปแกะ[[หินชนวน]]จากเจดีย์เก้ายอดที่วัดมหาธาตุที่แกะ สลักเป็นเรื่องราว[[ชาดก]] 550 พระชาติ และในส่วนที่แกะหินชนวนโปรดให้สร้าง[[พระสาวก]][[ปางลีลา]]กระทำอัญชลีขึ้นแทน ในการสร้างมณฑปที่มีผนัง 2 ชั้นนั้นได้รับอิทธิพลศิลปะโปโลนนารวะของ[[ลังกา]] ซึ่งแพร่หลายมากในสมัยปรกมพาหุ ในสมัย[[พ่อขุนรามคำแหง]]นิยมสร้าง[[พระอัฏฐารส]] และสมัย[[พระยาลิไท]]นิยมสร้างพระสาวกลีลา
 
==พระอจนะ==
บรรทัด 34:
[[ภาพ:มณฑปวัดศรีชุม สุโขทัย.jpg|230px|thumb|มณฑปวัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย ถ่ายเมื่อครั้งการก่อนบูรณะ ภาพถ่ายคาดว่าถ่ายเมื่อต้นรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ]]
 
"พระอจนะ" คำว่า อจนะ มีผู้ให้ความหมายพระอจนะว่าหมายถึงคำในภาษา[[บาลี]]ว่า “อจละ” ซึ่งแปลว่า “ผู้ไม่หวั่นไหว มั่นคง” “ผู้ที่ควรแก่การเคารพกราบไหว้” พระอจนะเป็น[[พระพุทธรูป]][[ปางมารวิชัย]] ขัด[[สมาธิ]]ราบ วัสดุ[[ปูน]]ปั้น แกนในก่อ[[อิฐ]]และ[[ศิลาแลง]] หน้าตักกว้าง 11.30 เมตร สูง 15 เมตร องค์พระพุทธรูปมีขนาดใหญ่เต็ม[[วิหาร]] [[ศิลปะ]]แบบ[[สุโขทัย]]
 
==ศิลาจารึกวัดศรีชุม==
บรรทัด 54:
[[ภาพ:พระอจนะระยะไกล.JPG|left|200px|thumb|วิหารและมณฑปวัดศรีชุมในปัจจุบันแวดล้อมไปด้วยต้นไม้ร่มรื่น]]
 
ตั้งอยู่บน[[ถนนจรดวิถีถ่อง]] ตรงข้าม[[พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง]] ห่างจากตัวเมืองสุโขทัยมาตามทางหลวงหมายเลข 12 (สุโขทัย-[[ตาก]]) ประมาณ 12 กม. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยเปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 06.00-21.00 น. นักท่องเที่ยวชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 30 บาท และเวลา 9.00-21.00 น. โบราณสถานต่างๆ ถูกสาดส่องด้วยแสงไฟ
 
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงาน ททท. ภาคเหนือ เขต 3 โทร 0 5525 2742-3
 
 
บรรทัด 71:
 
 
[[หมวดหมู่:วัดไทยในจังหวัดสุโขทัย|วัดศรีชุม]]
[[หมวดหมู่:วัดในจังหวัดสุโขทัย]]
[[หมวดหมู่:จังหวัดสุโขทัย]]
[[หมวดหมู่:อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย]]