ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาหมิ่นใต้"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Bkkphuket (คุย | ส่วนร่วม)
Bkkphuket (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 14:
'''ภาษาจีนฮกเกี้ยน''' (Min Chinese: 閩方言; pinyin: Mǐn fāngyán; POJ: Bân hong-giân; BUC: Mìng huŏng-ngiòng) เป็นสำเนียงของ[[ภาษาจีน]] ใช้พูดทางใต้ ของ[[มณฑลฝูเจี้ยน]] และบริเวณใกล้เคียง และโดยลูกหลานของผู้อพยพจากบริเวณนี้เข้าไปยังบริเวณอื่นๆทั่วโลก โดยทั่วไปภาษาจีนฮกเกี้ยนเป็นชื่อเรียกโดยชาวจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำเนียงหนึ่งในภาษานี้เรียกภาษาไต้หวัน อยู่ในกลุ่ม[[ภาษาหมิ่น]] ของภาษาจีน โดยปกติไม่สามารถเข้าใจกันได้กับ[[ภาษาหมิ่นดอง]] [[ภาษาจีนกวางตุ้ง]] และ[[ภาษาจีนกลาง]]
== ภาษาหมิ่นหนาน ==
ภาษาจีนฮกเกี้ยนใช้พูดทางใต้ของมณฑลฝูเจี้ยนและทางตะวันออกของ[[มณฑลกวางตุ้ง]] รวมทั้ง[[เกาะไหหลำ]] สำเนียงฮกโลของภาษานี้ถือเป็นภาษาประจำชาติของไต้หวันเรียก[[ภาษาไต้หวัน]] ผู้พูดภาษาจีนฮกเกี้ยนมีมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งใน [[ฟิลิปปินส์]] สิงคโปร์ [[มาเลเซีย]] [[อินโดนีเซีย]] และ [[ไทย]] ภาษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนหนึ่งมาจากเขตเจ้าซานในกวางตุ้งและพูดภาษาจีนฮกเกี้ยน[[สำเนียงแต้จิ๋ว]] นอกจากนี้ภาษาจีนฮกเกี้ยนยังเป็นภาษาแม่ของชาวจีนในฟิลิปปินส์อีกราว 98.5 % ซึ่งพูด[[ภาษาลันนัง|สำเนียงลันนัง]] ประเทศไทยพูดกันมากในจังหวัดภูเก็ตและบริเวณโดยรอบ ซึ่งพูดสำเนียง ฮกจิวและเซียะเหมิน เป็นสำเนียงเดี่ยวกับที่พูดในปีนัง เป็นต้นภาษาทำให้เกิด[[ภาษาไทยบ้าบ๋าภูเก็ต]] ซึ่งมีคำยืมในภาษาจีนฮกเกี้ยนจำนวนมาก
[[ไฟล์:Map_of_sinitic_languages-en.svg|left|thumb| การกระจายตัวของผู้พูดภาษาจีนสำเนียงต่างๆ]]