ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิโรจน์ ตั้งวาณิชย์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Plesiosaur (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Wiroj tangwanit.jpg|thumb|200px|วิโรจน์ ตั้งวาณิชย์]]
'''วิโรจน์ ตั้งวาณิชย์''' หรือที่นิยมเรียกกันว่า '''อาจารย์วิโรจน์''' เป็น[[คนไทยเชื้อสายจีน]][[แซ่ตั้ง]] จบการศึกษาจาก[[คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] (เอกประวัติศาสตร์) ระหว่างที่ศึกษาอยู่นั้นเคยเข้าร่วมการเคลื่อนไหวกับขบวนการนักศึกษาใน[[เหตุการณ์ 14 ตุลา]] และ [[6 ตุลา]] ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเหตุการณ์ 6 ตุลา เมื่อปี [[พ.ศ. 2519]] เป็นนักศึกษา 1 ใน 2 คนที่แสดง[[ละคร]]ล้อ[[การเมืองไทย|การเมือง]]ที่ต่อมาถูกกล่าวหาว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (อีก 1 คนนั้นคือ [[อภินันท์ บัวหภักดี]]) ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์สังหารหมู่ต่อมา
 
หลังจากเหตุการณ์นี้ได้ถูกจองจำในเรือนจำถึง 2 ปี จนกระทั่งในปี [[พ.ศ. 2521]] จึงได้รับพระราชทานอภัยโทษออกมาสู่อิสรภาพ จากนั้นจึงเดินทางไป[[ภาคใต้]] หาเลี้ยงชีพด้วยการร้องเพลงในสถานบันเทิงต่าง ๆ ก่อนที่ในปี [[พ.ศ. 2526]] จะเดินทางไปศึกษา[[ปริญญาโท]]ด้าน[[ภาษาจีน]]ต่อที่[[มหาวิทยาลัยปักกิ่ง]] [[กรุงปักกิ่ง]] [[ประเทศจีน]] โดยใช้เวลาศึกษาอยู่นาน 5 ปี<ref>[http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9480000081307 ภาษาจีน กุญแจทองแห่งชีวิตวิโรจน์ ตั้งวาณิชย์ จาก[[ผู้จัดการออนไลน์]]]</ref>
 
หลังจากนั้นแล้ว ได้เป็นวิทยากรและอาจารย์พิเศษบรรยายเกี่ยวกับเรื่องราวในแง่มุมต่าง ๆ เกี่ยวกับจีนหรือภูมิปัญญญาจีนภูมิปัญญาจีน ตามสถานศึกษาต่าง ๆ จนมาถึงปัจจุบัน<ref>[http://www.cet-media.com/detail.php?mode=Information&pid=120 ประวัติอาจารย์วิโรจน์ ตั้งวาณิชย์]</ref>
 
เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางครั้งแรกจากการเป็นพิธีกรภาคสนามจากรายการ ''[[ตามไปดู]]'' ทาง[[ช่อง 9]]
บรรทัด 12:
ใน[[วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2553|เหตุการณ์วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-พ.ศ. 2551]] ใน[[การขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี|การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในปี พ.ศ. 2549]] และ [[การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551|พ.ศ. 2551]] เป็นผู้กำกับการแสดง ''"งิ้วธรรมศาสตร์"'' ที่เป็นการแสดง[[งิ้ว]]ล้อการเมืองระหว่างการชุมนุม ซึ่งเป็นที่ฮือฮาและกล่าวขานถึงอีกด้วย<ref>[http://www.thaingo.org/HeadnewsKan/ch_opera.htm เขาเล่าว่า ..งิ้วธรรมศาสตร์แสดงเมื่อไร! รัฐบาลจบ เมื่อนั้น!]</ref>
 
นอกจากนี้แล้ว ยังเป็นนักแสดงในบทประกอบจาก[[หนังไทย|ภาพยนตร์]]และ[[ละครโทรทัศน์|ละคร]]เรื่องต่าง ๆ อาทิ ''[[สุริโยไท]]'' ([[พ.ศ. 2544]]), ''[[หมวยอินเตอร์]]'' ([[พ.ศ. 2551]]) และในการถ่ายทอด[[พิธีเปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2008|พิธีเปิด]]และ[[พิธีปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2008|พิธีปิดโอลิมปิก 2008]] ที่ทาง[[โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย]] (ทีวีพูล) เป็นผู้ถ่ายทอดสัญญานในสัญญาณใน[[ประเทศไทย]] ก็รับหน้าที่ผู้บรรยายร่วมด้วย
 
==อ้างอิง==