ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อิเล็กโทรไลต์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NongBot (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ข้อความ+หมวดหมู่
บรรทัด 10:
สิ่งมีชีวิตชั้นสูงต้องการความสมดุลระหว่างอิเล็กโทรไลต์ภายนอกและภายในเซลล์ การแลกเปลี่ยนไอออนจึงมีความสำคัญอย่างมาก เช่น สารบางชนิดสามารถควบคุมความเป็นกรด-เบส ใน[[เลือด]]หรือมีความสำคัญต่อการทำงานของ[[ระบบประสาท]]และ[[กล้ามเนื้อ]] เป็นต้น
 
การควบคุมสมดุลของไอออนถูกควบคุมโดยการกินอาหารที่มีสารอิเล็กโทรไลต์ และควบคุมโดย[[ฮอร์โมน]] ซึ่งส่วนใหญ่จะส่งไปควบคุม[[ไต]]ให้ขับไอออนส่วนเกินให้เหลือไว้ในร่างกายเท่าที่ต้องการ ในมนุษย์ กาการควบคุมไอออนควบคุมโดยฮอร์โมน เช่น [[แอนติไดยูเรติก]] [[อัลโดสเตอโรน]] และ[[พาราไทรอยด์]] การที่มีไอออนในร่างกายไม่เหมาะสมจะส่งผลต่อการทำงานของ[[หัวใจ]]และระบบประสาท ซึ่งเป็นอันตรายอย่างมากในทางการแพทย์
 
การวัดปริมาณของอิเล็กทรไลต์ในร่างกายสามารถทำได้โดยการตรวจเลือดหรือ[[ปัสสาวะ]] แต่ต้องทำไปควบคู่กับการตรวจการทำงานของไต และใช้ข้อมูลจากผลการตรวจที่ผ่านมา โดยการตรวจนี้มักวัดปริมาณของโซเดียมและโพแทสเซียมไอออน แต่การวัดปริมาณคลอไรด์ไอออนต้องใช้วิธีการที่มากกว่านั้น