ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศาสนาเชน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nwratns (คุย | ส่วนร่วม)
{{ต้องการอ้างอิงเฉพาะส่วน}}
Nwratns (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 6:
[[ไฟล์:Gomateswara.jpg|200px|thumb|รูปสลักศาสดามหาวีระ ศาสดาของศาสนาเชน ในประเทศอินเดีย]]
 
'''ศาสนาเชน''' เรียกอีกอย่างว่า ไชนะ หรือ ชินะ แปลว่า ผู้ชนะ ศาสนานี้เกิดขึ้นใน[[ประเทศอินเดีย]] อนุมานกาลราวยุคเดียวกับสมัย[[พุทธกาล]] ซึ่ง ศาสนาเชนไม่นับถือ[[พระเจ้า]]คล้ายกับ[[ศาสนาพุทธ]] มีหลักฐาน[[ศาสดา]]คือ[[พระมหาวีระ]] หรือ นิครนถนาฏบุตร จุดมุ่งหมายสูงสุดของศาสนานี้คือการบำเพ็ญตนให้หลุดพ้นจากกิเลส โดยนักบวชในศาสนานี้ใช้วิธีการตัดกิเลสโดยไม่นุ่งผ้าเรียกว่า ''[[เจ้าชายสิทธัตถะนิครนถ์]]ขณะออกผนวชแสวงหาสำนักลัทธิต่าง แปลว่า ก่อนตรัสรู้ก็ได้เคยเสด็จไปศึกษาในสำนักเชนด้วย''ไม่มีกิเลสผูกรัด {{ต้องการอ้างอิงเฉพาะส่วน}}
 
ศาสนาเชนเกิดก่อน พุทธศักราช ประมาณ 56 ปี ศาสนานี้เกิดในประเทศอินเดีย และเกิดร่วมสมัยกับศาสนาพุทธ ศาสดาของศาสนาเชน คือ มหาวีระ คัมภีร์ศาสนาเชนคือ คัมภีร์อาคมะ หรือสิทธานตะ ซึ่งเนื้อหาของคัมภีร์เป็นจารึกคำบัญญัติ หรือวินัยเกี่ยวกับการประพฤติปฏิบัติของนักพรต หรือคฤหัสถ์ ผู้ครองเรือน และเรื่องราวประเภทชาดกในศาสนา
ศาสนาเชนไม่นับถือ[[พระเจ้า]]คล้ายกับ[[ศาสนาพุทธ]] มี[[ศาสดา]]คือ[[พระมหาวีระ]] หรือ นิครนถนาฏบุตร จุดมุ่งหมายสูงสุดของศาสนานี้คือการบำเพ็ญตนให้หลุดพ้นจากกิเลส โดยนักบวชในศาสนานี้ใช้วิธีการตัดกิเลสโดยไม่นุ่งผ้าเรียกว่า [[นิครนถ์]] แปลว่า ไม่มีกิเลสผูกรัด
 
ศาสนาเชนได้แบ่งหลักคำสอนที่สำคัญออกเป็น 3 หลักคือ หลักอนุพรต 5 หลักปรัชญา หลักโมกษะ พิธีกรรมที่สำคัญของศาสนาเชน คือ พิธีภารยุสะนะ หรือพิธีปัชชุสนะ เป็นงานพิธีรำลึกถึงองค์ศาสดามหาวีระ ศาสนาเชนมีจุดหมายปลายทางสูงสุดของชีวิต อันเป็นความสงบสุข ที่แท้จริงและนิรันดรคือ นิรวารณะหรือโมกษะ (ความหลุดพ้น) วิธีที่จะบรรลุจุดหมายปลายทาง นั้นต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เรียกว่า ไตรรัตน์ หรือติรัตนะ และชาวเชนเชื่อว่าชีวิตในโลกนี้ยังต้องเกิดหลายครั้งถ้าตราบใดที่ยังไม่หมด กิเลส
 
ศาสนาเชนมีนิกายที่สำคัญอยู่ 2 นิกายใหญ่ๆ อยู่ 2 นิกาย คือ นิกายทิคัมพร นิกายเศวตัมพร สัญลักษณ์ในศาสนาเชน ใช้รูปองค์ศาสดามหาวีระ เป็นสัญลักษณ์ โดยรูปมหาวีระเป็นรูปเปลือย ปัจจุบันได้ถือเอาทรงกระบอกตั้งมีการบรรจุสัญลักษณ์ข้างใน 4 ประการคือ รูปกงจักร สัญลักษณ์อหิงสาอยู่บนฝ่ามือ รูปสวัสดิกะ เครื่องหมายแห่งสังสาร จุด 3 จุด สัญลักษณ์แห่งรัตนตรัย จุด 1 จุด อยู่บนเส้นครึ่งวงกลมตอนบนสุด คือวิญญาณแห่งความหลุดพ้น
 
 
== ประวัติความเป็นมา ==
 
ศาสนาเชนเกิดก่อนพุทธศักราชประมาณ 56 ปี โดยคิดตามสมัยของวรรธมานะ มหาวีระผู้เป็นศาสดาของศาสนานี้ แต่ชาวเชนเชื่อว่า ศาสนาเชนเป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ทั้งนี้ก็เพราะชาวเชนเชื่อว่า ยุคของโลกแบ่งออกเป็น 2 รอบ คือรอบเจริญกับรอบเสื่อม รอบเจริญ เรียกว่า อุตสรปินี เริ่มด้วยเรื่องไม่ดีพัฒนาไปหาเรื่องที่ดีมีความเจริญตามลำดับ เช่น อายุคนจากน้อยนิดค่อยเปลี่ยนไปเป็นอายุยืนมากขึ้นตามลำดับจนนับไม่ถ้วน ขนาดของรูปร่างตลอดจนคุณธรรมความดีเป็นต้นก็พัฒนาไปตามลำดับเช่นกัน ส่วนรอบเสื่อม เรียกว่า อวสรปินี ก็มีนัยตรงกันข้ามกับรอบเจริญ สำหรับในปัจจุบันตกอยู่ในรอบเสื่อม ทุกอย่างจึงเสื่อมลงตามลำดับ ก็ในแต่ละรอบจะมีศาสดาของศาสนาเชนมาอุบัติ 24 องค์ เฉพาะรอบเสื่อมนี้มีศาสดาองค์แรกคือ ฤษภะมีอายุยืนถึง 8,400,000 ปี องค์ถัดๆ ไปก็คือ อชิต สัมภวะ อภินันทะ สุมาตี ปัทมประภา สุภาสวา จันทรประภา บุษปทันตะ สีตลา เศรยานส วสุปุชวะ วิมลา อนันตะ ธรรม สันติ คุนธุ จรา มัลตี มุนีสวรตะ นมิ เนมิ องค์ที่ 23 มีนามว่า ปารศวะ สิ้นชีพเมื่อก่อน พุทธศักราช 233 ปี ส่วนองค์สุดท้ายองค์ที่ 24 ของรอบเสื่อมนี้ คือ วรรธมานะ มหาวีระ ศาสดาองค์ปัจจุบัน
คำว่าเชน มาจากศัพท์ว่า ชินะ แปลว่า ชนะ แต่ชนะในที่นี้มิได้หมายถึงการออกไปเอาชนะข้าศึกศัตรู หรือชนะภายนอก หากแต่เอาชนะภายในคือกิเลสของตนเอง ศาสนาเชนถือว่า กิเลสเป็นสิ่งที่ร้ายกาจที่สุด ที่นำความวิบัติมาสู่ตนเองและผู้อื่น การมีสงคราม การเข่นฆ่าทำร้ายกัน ก็เพราะอำนาจกิเลสสั่งให้ทำ ตลอดถึงมีการเวียนว่ายตายเกิด ก็เพราะกิเลสเป็นเหตุเช่นกัน เพราะฉะนั้นกิเลสจึงเป็นเรื่องที่จำต้องกำจัดให้หมดไป ใครชนะกิเลสได้มากเท่าไร ก็ดีเท่านั้น ยิ่งชนะกิเลสได้เด็ดขาด ก็ยิ่งดีที่สุด เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ดังนั้นหน้าที่ของทุกคนในศาสนาเชน จะต้องเอาชนะกิเลส ชาวเชนเชื่อว่าศาสดาของศาสนาเชนทุกองค์ล้วนแต่เอาชนะกิเลส ได้เด็ดขาดสิ้นเชิงแล้ว จึงได้นามว่า พระชินะ พระผู้ชนะกิเลส เป็นติตถังกร ผู้สร้างท่าพาคนข้ามฟากถึงฝั่งโมกษะหรือนิพพานในศาสนาเชน พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดไม่ต้องมีทุกข์อีกต่อไป
ที่ว่าเชนเป็นศาสนาแห่งอหิงสา ก็เพราะศาสนาเชนถือการไม่เบียดเบียนกันเป็นเรื่องสำคัญมาก ทุกชีวิตย่อมรักชีวิตของตน รักสุขเกลียดทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น จึงไม่สมควรเข่นฆ่าทำร้ายเบียดเบียนกัน ไม่ว่าต่อคนหรือสัตว์ ส่วนที่ว่าเชนเป็นศาสนาแห่งตบะธรรม ก็เพราะเชน ถือว่า กิเลสเป็นมารร้าย จึงจำต้องกำจัดให้หมดไป กิเลสมีอยู่ในร่างกาย มีร่างกายเป็นที่กักขัง ดังนั้นการปล่อยให้ร่างกายอ้วนพีหรือสุขสบายมากเท่าไร กิเลสก็จะเพิ่มพูนมากขึ้นเท่านั้น จึงจำต้องทรมานร่างกายทุกรูปแบบ ร่างกายยิ่งถูกทรมานมากเท่าไร กิเลสก็จะถูกย่างให้เร่าร้อนลดลงไปเรื่อยๆ เช่นกัน เพราะฉะนั้นจึงต้องทรมานร่างกายในรูปแบบต่างๆ
 
ศาสนาเชนในสมัยของพระศาสดาวรรธมานะ มหาวีระ เจริญรุ่งเรือง มีสาวกและศาสนิกเป็นจำนวนมาก แต่หลังจากสมัยของพระองค์แล้ว [[ศาสนาเชน]]<ref>Robert E Hume. The Worldûs Living Religions, 1959 p. 55-57.</ref> ก็มีความเป็นไปดังนี้
พ.ศ. 30 เกิดการแตกแยกในศาสนาเชน หลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระมหาวีระ เพียง 14 ปี
พ.ศ. 143 มีการประดิษฐานรูปปฏิมาของพระมหาวีระขึ้นเป็นครั้งแรก สำหรับเคารพบูชาในโบสถ์ของศาสนาเชน
พ.ศ. 243 มีคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ 2 คัมภีร์ เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในการประชุมที่เมืองปัตนะ
พ.ศ. 299 พระเจ้าอโศกมหาราชแห่งศาสนาพุทธได้พระราชทานถ้ำ 5 แห่ง ให้แก่ศาสนาเชน ตราบเท่าที่ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ยังดำรงอยู่
 
พ.ศ. 311 สัมปราลิ พระราชนัดดาและผู้สืบราชสมบัติต่อจากพระเจ้าอโศกมหาราช ได้ทรงสร้างโบสถ์และวัดเชนขึ้นหลายแห่ง
พ.ศ. 643 มีการถ่ายทอดวรรณคดีศาสนาเชน เป็นภาษาทมิฬในภาคใต้ของอินเดีย
พ.ศ. 743 มีการถ่ายทอดวรรณคดีศาสนาเชน เป็นภาษาท้องถิ่นของแคว้นคุชรัต ทางภาคตะวันตกของอินเดีย
พ.ศ. 1057 มีการจัดทำคัมภีร์ศาสนาเชนจนจบ ในการประชุมที่เมืองวัลลภิ ประเทศอินเดีย
พ.ศ. 1093 ศาสนาเชน เผยแพร่เข้าไปในเมืองมราถะใต้ ในภาคใต้ของอินเดีย
พ.ศ. 1183 หลวงจีนเฮี่ยนจัง (พระถังซำจั๋ง) เดินทางไปแสวงบุญในประเทศอินเดีย ได้พบโบสถ์เชนและศาสนิกเป็นจำนวนมากอยู่ทั่วไป ทั้งทางภาคเหนือและภาคใต้ของอินเดีย แต่ทางภาคเหนือมีมากทั้งนักบวชเปลือยและนักบวชนุ่งห่มขาว
พ.ศ. 1193 กษัตริย์ฮินดูพระนามว่า กุณะ สั่งให้ฆ่าผู้นับถือศาสนาเชน ประมาณ 8,000 คน ที่เมืองอาร์คอต ภาคใต้ของอินเดีย
พ.ศ. 1358-1423 ในรัชสมัยของพระเจ้าอโมฆวรรษะ ศาสนาเชนทางภาคเหนือของอินเดีย ภายใต้การนำของท่านชินเสนะ และท่านคุณภัทระได้เจริญก้าวหน้าอย่างมาก
พ.ศ. 1668-1702 นักปราชญ์และนักประพันธ์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของศาสนาเชน คือเหมจันทระ สามารถเปลี่ยนพระทัยกษัตริย์ฮินดูในแคว้นคุชรัต พระนามว่ากุมารปาละให้มานับถือศาสนาเชน พระองค์ทรงสร้างวัดเชน ขึ้น 32 วัด และทรงทำเมืองที่พระองค์ประทับอยู่ให้เป็นเมืองที่มั่นคงของศาสนาเชน
พ.ศ. 1717-1719 กษัตริย์ฮินดูแห่งแคว้นคุชรัตองค์ถัดมาคือ พระเจ้าอชยเทวะ เมื่อได้ครองราชย์ก็สั่งให้ฆ่าชาวเชนอย่างปราศจากเมตตา พวกหัวหน้าเชนจะถูกทรมานจนตาย และให้ทำลายวัดเชนด้วย
พ.ศ. 1840-1841 อาลา-อุด-ดิน แห่งศาสนาอิสลาม มีชัยเหนือแคว้นคุชรัต สั่งให้ทำลายพวกเชนอย่างกว้างขวาง
 
พ.ศ. 2085-2148 จักรพรรดิอิสลามผู้ยิ่งใหญ่แห่งราชวงศ์โมกุล คือพระเจ้าอักบาร์ได้ ทรงทำให้พวกเชนพอใจ เพราะสั่งให้ยกเลิกภาษีรายบุคคลในแคว้น คุชรัต ทรงยอมรับรู้สถานที่แสวงบุญอันศักดิ์สิทธิ์ของพวกเชน และ ทรงทำตามคำสั่งสอนของศาสนาเชนในเรื่องความกรุณาต่อสัตว์ โดยทรงประกาศให้งดการฆ่าสัตว์ทั่วอินเดียเป็นเวลาครึ่งปี
 
== ประวัติศาสดา ==
 
มหาวีระผู้เป็นศาสดาของศาสนาเชนมีนามเดิมว่า วรรธมานะ แปลว่า ผู้เจริญ ประสูติ ณ นครเวสาลี แคว้นวัชชี (ดินแดนรัฐพิหารปัจจุบัน) ในภาคเหนือตอนหนึ่งของประเทศอินเดีย ราว 10 ปี หรือ 12 ปีก่อนการประสูติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าศาสดาของศาสนาพุทธ หรือในราว 635 ปีก่อนคริสต์ศักราช จวบจนปัจจุบันก็กว่า 2,600 กว่าปีมาแล้ว ทรงเป็นพระโอรสของกษัตริย์สิทธารถะ (เศรยาม) และพระนางตริศลา ซึ่งเป็นกษัตริย์ในกลุ่มกษัตริย์ลิจฉวี พระนางตริศลาเป็นกนิษฐภคินีของพรเจ้าเวฏกะแห่งแคว้นวิเทหะ เจ้าชายวรรธมานะทรงเป็นพระโอรสองค์สุดท้าย มีพระเชษฐภคินี 1 องค์ และพระเชษฐภาดาอีก 1 องค์
ในวันประสูติของเจ้าชายวรรธมานะ มีการจัดงานฉลองสมโภชที่นครเวสาลีอย่างใหญ่โตมโหฬาร มีประชาชนมาร่วมฉลองกันอย่างเนืองแน่น บรรยากาศของเมืองคึกคักไปด้วยกิจกรรมและพิธีต่างๆ ตามถนนสายต่างๆ จะมีการประดับตกแต่งด้วยแผ่นผ้า ธงทิว และโคมไฟ สีต่างๆ ส่องสว่างและระยิบระยับอยู่ทั่วไป ตามวัดวาอารามเทวสถานต่างๆ มีพิธีเซ่นสรวงบูชายัญ นักบวชต่างๆ ก็ร่ายมนตร์ต่อหน้าพระพรหมผู้สร้างโลก พระวิษณุผู้รักษาโลก และเทวรูปบูชาต่างๆ พระเจ้ากรุงเวสาลีทรงบำเพ็ญทานโปรดให้แจกจ่ายสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคแก่ คนยากไร้อนาถา และทรงโปรดให้ประกาศนิรโทษแก่นักโทษที่ถูกจองจำ โดยปลดปล่อยให้เป็นอิสระให้หมด งานฉลองวันประสูติเจ้าชายครั้งนี้ยิ่งใหญ่ไม่แพ้งานฉลองนักขัตฤกษ์หรืองาน ฉลองชัยชนะจากการทำศึกสงคราม ยิ่งกว่านั้นบรรดากลุ่มฤๅษีนักพรตและเหล่าพราหมณาจารย์จากลุ่มแม่น้ำคงคา และจากเทือกเขาหิมาลัย ต่างก็เดินทางหลั่งไหลเข้าสู่พระราชวัง เพื่อชื่นชมบารมีและถวายพระพรชัยมงคลให้ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน พร้อมกันนั้นเมื่อได้ดูปุริสลักษณะแล้วต่างก็พยากรณ์ว่า เจ้าชายจะทรงเป็นผู้มีอนาคตอันยิ่งใหญ่
เมื่อเจริญวัยขึ้น ในขณะยังทรงพระเยาว์ได้รับการศึกษาศิลปศาสตร์อันควรแก่ฐานะแห่งรัชทายาทหลาย อย่าง เช่น ศึกษาเพทางคศาสตร์ ศึกษาไตรเพท วิชายิงธนู วิชาฝึกม้าป่า วิชาควบช้าง เผอิญวันหนึ่งขณะที่เสด็จประพาสในอุทยานหลวง และเล่นอยู่กับพระสหายอย่างเพลิดเพลินอยู่นั้น มีช้างพลาย (ช้างตัวผู้) ตกมันตัวหนึ่ง หลุดจากโรงช้างแล้วเที่ยวอาละวาดและวิ่งทะยานเข้ามาในอุทยานหลวง แสดงอาการบ้าคลั่งแกว่งงวงไปมา เจ้าชายและพระสหาย กำลังเล่นกันสนุกโดยไม่ได้สนใจอะไรอื่น ครั้งแรกได้ยินเสียงแค่เหมือนเสียงเหยียบต้นไม้ กอหญ้าแห้งดังเข้ามาใกล้ทุกขณะ เมื่อหันหน้ามาดูเท่านั้นก็เห็นช้างใหญ่กำลังวิ่งทะยานเข้ามาสู่พวกตน บรรดาพระสหายทั้งหลายต่างตกใจกลัวพากันวิ่งหนีแตกกระจายกันไปคนละทิศคนละทาง พร้อมทั้งส่งเสียงร้องโวยวายขอความช่วยเหลือไปตามอารมณ์กลัวในขณะนั้น ฝ่ายเจ้าชายวรรธมานะเมื่อทอดพระเนตรเห็นเหตุการณ์เช่นนั้น แทนที่จะทรงวิ่งหนีตามพระสหายกลับประทับยืนนิ่งอยู่พระองค์เดียว เมื่อช้างวิ่งถลาเข้ามาใกล้ตัวก็กระโดดจับงวงช้างอย่างฉับพลัน ตามที่ครูช้างสอนไว้ ไต่ขึ้นไปประทับที่คอช้างและขับขี่บังคับช้างให้กลับไปสู่โรงช้าง มอบให้แก่นายควาญช้างเอาไปผูกขังไว้เช่นเดิม เมื่อเจ้าชายเสด็จกลับสู่พระราชวังแล้วก็มิได้ทูลเหตุการณ์อะไรให้พระราช บิดาพระราชมารดาทรงทราบเลย แต่พวกควาญช้างต่างก็รีบรายงานเหตุการณ์นี้ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบจนคน ทั้งในพระราชวังและประชาชนทั่วไปทราบ และได้รู้ถึงความกล้าหาญของเจ้าชาย ต่างก็พากันกล่าวยกย่องสดุดีวีรกรรมของเจ้าชายไปทั่วทุกหนแห่ง แล้วพร้อมใจกันถวายเนมิตตกนามเสียใหม่ว่า มหาวีระแปลว่า บุรุษผู้ยิ่งด้วยความกล้าหาญ ตั้งแต่นั้นมาเจ้าชายวรรธมานะก็ได้รับสมญานามใหม่ว่า มหาวีระ
เมื่อเจ้าชายพระชนมายุได้ 12 พรรษา ก็ได้รับพิธียัชโญปวีต โดยพราหมณ์ทำพิธีคล้องด้ายศักดิ์สิทธิ์ (ด้ายมงคลสายสิญจน์) ที่เรียกว่า สายธุรำ ตามพิธีของพราหมณ์ เป็นการให้คำปฏิญาณว่าจะนับถือศาสนาพราหมณ์ แล้วก็ถูกส่งไปศึกษาศาสนาพราหมณ์อยู่หลายปี ปรากฏว่าเจ้าชายทรงสนพระทัยต่อการศึกษาเล่าเรียน มีผลการเรียนดีมาก แต่ทรงเกลียดชังทิฏฐิของพราหมณ์ผู้เป็นครู เพราะครูพราหมณ์มักทะนงตนว่าเป็นบุคคลในวรรณะสูงสุด สูงกว่ากษัตริย์ มองเห็นตนเองว่าเป็นผู้วิเศษกว่ากษัตริย์ และครูบางคนก็ไว้ตัวเกินควร จึงทำให้เจ้าชายไม่ทรงโปรด
== ทรงอภิเษกสมรส ==
 
เมื่อจบการศึกษาแล้ว พระชนมายุของพระองค์ได้ 19 พรรษา ความรู้สึกเกลียดพราหมณ์ก็ค่อยๆ จางหายไป เมื่อได้ทรงพบรักกับเจ้าหญิงองค์หนึ่ง พระนามว่า ยโสธรา ทรงเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงในปีนั้น และทรงเสวยสุขในชีวิตสมรสในพระราชวังของพระองค์เป็นเวลาเกือบ 10 ปี จนถึงพระชนมายุ 28 พรรษา ทรงมีธิดา 1 องค์ พระนามว่า อโนชา
 
== ทรงดำริที่จะออกผนวช ==
 
เมื่อมหาวีระมีพระชนมายุได้ 28 พรรษา มีเหตุการณ์อันน่าเศร้าสลดเกิดขึ้น พระราชบิดาและพระราชมารดาสิ้นพระชนม์ในระยะติดๆ กัน ไม่ใช่เพราะประสบอุบัติเหตุหรือถูกปลงพระชนม์ แต่เพราะทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาด้วยการอดอาหารเพิ่มขึ้นทีละน้อยๆ จนสิ้นพระชนม์ ไม่ใช่เพราะทรงขัดสนอาหาร หรือไม่มีอาหารเสวยเพียงพอ แต่ทรงตั้งพระทัยเด็ดเดี่ยวในการบำเพ็ญทุกรกิริยาด้วยวิธีอดอาหาร ซึ่งคนอินเดียในสมัยนั้นเชื่อว่าการตายด้วยวิธีการที่เคร่งครัดเช่นนี้ เป็นการตายที่ศักดิ์สิทธิ์ และเป็นบุญลาภอันประเสริฐอย่างหนึ่ง เชษฐภาดาของมหาวีระได้ขึ้นเสวยราชย์สืบต่อมาและทรงพระนามว่า พระเจ้าโมคทะ การสูญเสียครั้งนี้ทำให้เจ้าชายมหาวีระเศร้าโศกมาก จึงดำริที่จะออกผนวชเป็นการไว้อาลัยแด่พระราชบิดาและพระราชมารดา และจะขอถือปฏิญาณ 12 ปี ที่จะบำเพ็ญพรต งดพูดจา และไม่นำพาเกี่ยวกับการแต่งกาย แต่ถูกพระเชษฐภาดาทรงห้ามไว้ โดยให้เหตุผลว่าการที่พระราชบิดาและพระราชมารดาจากไปก็ทุกข์เศร้าโศกมากพออยู่แล้ว ถ้าเจ้าชายจะไปอีกคนหนึ่ง ก็ยิ่งเพิ่มความโทมนัสมากยิ่งขึ้น มหาวีระจึงเชื่อฟัง
 
== ทรงปฏิญาณแห่งความเป็นผู้นิ่ง 12 ปี ==
 
เมื่อพระชนมายุได้ 30 พรรษา หลังจากได้ขออนุญาตจากพระเชษฐภาดาได้ 2 ปี มหาวีระก็ได้ตัดสินพระทัยอย่างเด็ดเดี่ยวออกจากกรุงเวสาลีไป พอพ้นเขตนอกเมืองก็เปลี่ยน เป็นเครื่องนุ่งห่มของนักบวชผู้ขอทาน พร้อมอธิษฐานว่า ตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป เป็นเวลา 12 ปี จะไม่ยอมพูดจาอะไรกับใครแม้แต่คำเดียว เป็นการถือปฏิญาณ 12 ปี หลังจากนั้นก็ได้ ท่องเที่ยวไปเช่นเดียวกับนักบวชจำนวนพันๆ คนที่มีในอินเดียสมัยนั้น เมื่อผ่านหมู่บ้านชนบทและนครต่างๆ ก็จะยื่นภาชนะขอรับอาหารจากประชาชนผู้ใจบุญ เมื่ออยู่ในป่าก็หาผลไม้รับประทานเท่าที่จะหาได้ ส่วนมากจะใช้เวลาอยู่ตามเทือกผาป่าไม้โดยลำพังเพื่อตริตรองสอบสวนคำสอนของ ศาสนาพราหมณ์ และค้นหาหลักคำสอนใหม่ของพระองค์ต่อไป ตลอดเวลาที่ผ่านมามิได้ปริปากพูดแม้แต่คำเดียว แต่ใช้ความคิดตริตรองอย่างมาก ยิ่งคิดยิ่งพิจารณาก็มองเห็นคำสอนใหม่พร้อมทั้งเห็นข้อผิดพลาดของคำสอนในศาสนา พราหมณ์มากมาย จึงคิดจะเปลี่ยนแปลงปฏิญาณให้ถูกต้องยิ่งขึ้น ตลอดเวลา 12 ปี<ref>Stevenson Simclair. The Heart of Jainism, 1970 p. 36-37.</ref>
 
พระมหาวีระทรงรักษาปฏิญาณอย่างเคร่งครัดมาก แม้จะเผชิญกับความทุกข์ทรมานหรือปัญหาอุปสรรคเท่าใดก็ตาม ไม่เคยทิ้งปฏิญาณหรือเผลอตัวพูดเลย ดังจะเห็นได้จากเหตุการณ์ต่างๆ ในระหว่างนั้น เช่น คราวหนึ่งระหว่างที่ท่องเที่ยวไป พระมหาวีระมาถึงทุ่งหญ้าใกล้หมู่บ้านแห่งหนึ่งมีคนเลี้ยงแกะกำลังเฝ้าฝูงแกะ อยู่ เขากล่าวแก่พระมหาวีระว่า ถ้าท่านเฝ้าฝูงแกะให้เรา เราจะเข้าไปหมู่บ้านเอาอาหารมา และจะแบ่งปันให้ท่านบ้าง พระมหาวีระน้อมศีรษะรับคำ คนเลี้ยงแกะก็จากไป มิช้ามินานสุนัขป่าตัวหนึ่งออกมาจากป่า และคว้าเอาแกะไปด้วยตัวหนึ่งจึงหนีไป เมื่อคนเลี้ยงแกะกลับมาเห็นแกะขาดหายไปตัวหนึ่ง จึงสอบถามพระมหาวีระ แต่ท่านนิ่งเฉยตามปฏิญาณว่าจะไม่พูด คนเลี้ยงแกะโกรธ เพราะพระมหาวีระไม่กล่าวอธิบายว่าแกะหายไปไหน นึกว่าท่านเป็นโจรจึงเอาไม้พลองตีศีรษะพระมหาวีระ พระมหาวีระไม่ยอมพูดอธิบายเพราะถือปฏิญาณอยู่ อนึ่งพระมหาวีระก็แข็งแรงกว่าคนเลี้ยงแกะ ถ้าใช้กำลังต่อสู้ก็ย่อมป้องกันตัวได้ แต่พระมหาวีระได้ถือปฏิญาณอีกข้อหนึ่งว่าจะไม่ป้องกันตัวจากทุกข์ภัยประการ ใดๆ คนเลี้ยงแกะระดมตีพระมหาวีระจนโลหิตไหลอาบตัว ครั้นแล้วก็หยุดชะงัก และจ้องมองพระมหาวีระด้วยความหวั่นเกรง พูดเสียงสั่นว่า ท่านผู้นี้เป็นคนแรกที่เราพบเห็นมาว่า ไม่ต่อสู้ป้องกันตัวหรือวิ่งหนี ท่านเป็นฤๅษีหรือเปล่า พระมหาวีระไม่ตอบ แต่ลุกเดินหลีกไป คนเลี้ยงแกะวิ่งตามมาขออภัยโทษ พระมหาวีระก้มศีรษะพยักให้แสดงว่ายกโทษให้แล้ว และเดินทางต่อไป คนเลี้ยงแกะมองตามพระมหาวีระจนลับสายตา รำพึงกับตนเองว่า นักบวชผู้นี้สอนบทเรียนแก่เราว่า ความนิ่งมีอำนาจเหนือคำพูด พระมหาวีระก็คิดว่า เรื่องนี้สอนเราว่า ความอ่อนน้อมดีกว่าความทะนงตัว สันติมีอำนาจเหนือความโกรธ
 
== ประกาศศาสนา ==
 
เมื่อถือปฏิญาณครบ 12 ปี พระมหาวีระก็ทรงคิดและมั่นพระทัยว่าพระองค์ทรงพบคำตอบต่อปัญหาชีวิตครบถ้วน แล้ว จึงเสด็จออกไปเพื่อเผยแผ่ความคิดคำสอนใหม่ของพระองค์ ซึ่งได้ตรึกตรองค้นพบได้ในระหว่างปฏิญาณแห่งความเป็นผู้นิ่ง ทุกแห่งที่เสด็จผ่านไปก็เทศนาสั่งสอน เสด็จไปสั่งสอนยังที่ต่างๆ เรื่อยไป โดยมิได้เสด็จกลับนครเวสาลีอีก คนทั้งหลาย ผู้มาฟังพระองค์ในกาลต่อมาพูดว่าพระองค์เป็นนักพูดที่ยิ่งใหญ่ พระองค์ทรงพูดความจริงมาเป็นเวลานานจนกลายมาเป็นสาวกของพระองค์เป็นจำนวนมาก พระมหาวีระทรงตั้งศาสนาใหม่ เรียกว่า ศาสนาเชน หรือแปลว่า ศาสนาของผู้ชนะ อันนี้เป็นประเภทแห่งผู้ชนะแบบใหม่ เพราะพวกเชนดังที่สาวกของศาสนานี้เรียกกัน ไม่ต้องการออกไปและเอาชนะผู้อื่น เขาเพียงแต่ต้องการเอาชนะตนเอง ศาสดาของพวกเขาสอนพวกเขาว่า ความหลุดพ้นมีอยู่ภายในตัวท่านเอง เช่นเดียวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระมหาวีระเริ่มต้นด้วยการยอมรับกฎแห่งกรรมของศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู ความดีต้องมาจากกรรมดี ความชั่วต้องมาจากกรรมชั่ว และทรงยอมรับความเชื่อในสังสารวัฏและความหลุดพ้นขั้นสูงสุดในนิรวานหรือโมกษะ แต่มาถึงตอนนี้ ทั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระมหาวีระทรงมีทรรศนะขัดแย้งกับศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู ทั้งสองพระองค์ทรงปฏิเสธความเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของ ระบบวรรณะ การหลุดพ้นด้วยการอ้อนวอน และความจริงสูงสุดของพระเวท ในจุดนี้ผู้ปฏิรูปศาสนาสององค์ก็แตกต่างกัน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปฏิบัติตามมัชฌิมาปฏิปทา พระมหาวีระกลับหันไปหาอัตตกิลมถานุโยคอย่างจริงจัง แม้การประกาศศาสนาของพระมหาวีระจะมีบางอย่างที่ไม่ใช่ของใหม่ เพราะมีอยู่แล้ว ในศาสนาพราหมณ์ หรือมีผู้สอนมาก่อนหน้าพระมหาวีระก็ตาม แต่ก็ยังมีหลายอย่างที่ใหม่และรัดกุมกว่าเดิม อีกทั้งความเป็นนักเทศน์นักปาฐกถาที่สามารถยิ่ง ทำให้ผู้ฟังทั้งหลาย เห็นจริงและเกิดศรัทธาได้ จึงมีคนเชื่อฟังยอมเป็นสาวกมากเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุด พระมหาวีระสามารถจัดระบบคณะภิกษุ คณะภิกษุณี ขึ้นเป็นศาสนาได้ สาวกทั้งหลายมีศรัทธาเชื่อว่าพระมหาวีระเป็นพระชินะผู้ชนะ และเป็นผู้บรรลุโมกษะความหลุดพ้นจากพันธนาการ ละกิเลส เป็นต้น ทั้งเป็นผู้เปี่ยมด้วยเมตตากรุณาละปาณาติบาตได้ในสรรพสัตว์ รุกขชาติ และติณชาติทั้งปวง ยิ่งกว่านั้นสาวกทั้งหลายต่างก็ยอมรับว่าพระมหาวีระเป็นศาสดาองค์สุดท้ายและเป็นศาสดาที่สำคัญที่สุดในศาสนาเชน เพราะศาสนิกชนเชนเชื่อว่ามีศาสดาก่อนพระมหาวีระ 23 องค์ คือ ฤษภา อชิต สัมภวะ อภินันทะ สุมาตี ปัทมประภา สุภาสวา จันทรประภา บุษปทันตะ สีตลา เศรยานส วสุปุชวะ วิมลา อนันตะ ธรรม สันติ คุนธุ จรา มัลตี มุนีสุวรตะ นมิ เนมิ และปารศวนาถ
== บั้นปลายชีวิต ==
 
พระมหาวีระใช้เวลาในการสั่งสอนสาวก ประกาศศาสนาเชนตามคามนิคมชนบทน้อยใหญ่ เมืองต่างๆ และประสบผลสำเร็จตลอดมาเป็นเวลา 30 ปีเศษ เมื่อพระชนมายุได้ 72 ปี ก็ได้เสด็จมายังเมืองปาวาหรือปาวาบุรี (ปัจจุบันเป็นเมืองเล็กๆ ในเขตปัตนะ) พระองค์ประชวรหนักไม่สามารถเสด็จต่อไปได้อีก ทรงทราบว่าวาระสุดท้ายแห่งชีวิต จะมาถึงจึงเรียกประชุมบรรดาสาวกทั้งหลาย และสั่งสอนเป็นโอกาสสุดท้าย
สาวกคนหนึ่งถามว่า ในบรรดาคำสอนทั้งหมดของอาจารย์ ข้อไหนที่สำคัญที่สุด พระมหาวีระตอบว่า ในบรรดาคำสอนของเราทั้งหมด ศีลห้า (ปฏิญญา 5) ข้อต้นสำคัญที่สุด คือ
อย่าฆ่าสัตว์ที่มีชีวิต อย่าทำอันตรายแก่สิ่งมีชีวิต จะเป็นด้วยวาจาก็ดี ความคิดก็ดี หรือการกระทำก็ดี อย่าฆ่าสัตว์เป็นอาหาร อย่าทำการล่าสัตว์หรือจับปลา ไม่ว่าในเวลาใด อย่าฆ่าสัตว์แม้ตัวเล็กที่สุด อย่าฆ่ายุงที่กัดเรา หรือผึ้งซึ่งต่อยเรา อย่าไปทำสงคราม อย่าสู้โต้ตอบผู้ทำร้าย อย่าเหยียบย่ำตัวหนอนริมทาง เพราะตัวหนอนก็มีวิญญาณ ศีลข้อแรกของพระมหาวีระนี้ บรรดาสาวกรู้ว่าคือคำสอน อหิงสา ซึ่งหมายความว่า การไม่ทำร้ายต่อสิ่งซึ่งมีวิญญาณ
พระมหาวีระดับขันธ์ในเช้าวันต่อมา สรีระของพระองค์ได้กระทำการประชุมเพลิงที่เมืองปาวา และจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ เมืองปาวาในเขตปัตนะ รัฐพิหาร จึงเป็นสังเวชนียสถาน เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับศาสนิกชนเชนที่ควรไปดูไปทำสักการะ
 
== คัมภีร์ในศาสนา ==
 
คัมภีร์ที่สำคัญในศาสนาเชน คือ คัมภีร์อาคมะ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สิทธานตะ ซึ่งเนื้อหาของคัมภีร์เป็นจารึกคำบัญญัติ หรือวินัยที่เป็นไปเกี่ยวกับความประพฤติปฏิบัติของนักพรตหรือคฤหัสถ์ผู้ครอง เรือน และเรื่องราวประเภทชาดกในศาสนา ซึ่งตัวคัมภีร์อาคมะนั้นได้จัดพิมพ์เป็นหนังสือ 45 เล่ม โดยแบ่งแยกออกเป็นอังคะ 11 เล่ม เป็นฤทธิวาท 1 เล่ม เป็นอุปางคะ 11 เล่ม เป็นมูลสูตร 4 เล่ม เป็นเจตสูตร 6 เล่ม เป็นคูสิกะสูตร 2 เล่ม เป็นปกัณกะ 10 เล่ม ตามหลักฐานปรากฏว่าได้จารึกคัมภีร์อาคมะเป็นอักษรปรากฤตประมาณ 200 ปี ภายหลังสมัยของพระมหาวีระผู้เป็นศาสนา ส่วนคำอธิบายคัมภีร์ที่เรียกว่า อรรถกถา และวรรณคดีของเชนในสมัยต่อมา ล้วนเป็นภาษาสันสกฤต ซึ่งในปัจจุบันนี้คัมภีร์อาคมะมี การถ่ายทอดสู่ภาษาพื้นเมือง และภาษาอื่นมากมายพอสมควร
 
== หลักคำสอนที่สำคัญของศาสนาเชน ==
 
# หลักธรรมขั้นพื้นฐาน
# หลักปรัชญา หลักปรัชญาในศาสนาเชน
# หลักโมกษะ คือการหลุดพ้น หรือความเป็นอิสระของวิญญาณ ซึ่งศาสนาเชน เชื่อว่า เมื่อวิญญาณหลุดพ้นแล้วก็จะไปอยู่ในส่วนหนึ่งของเอกภาพที่เรียกว่า สิทธิศิลา เป็นดินแดนแห่งความสุขนิรันดร ไม่ต้องกลับมาเกิดอีก
 
== ข้อปฏิบัติของผู้ครองเรือน ==
 
# เว้นจากการฆ่าสัตว์
# เว้นจากการพูดเท็จ
เส้น 29 ⟶ 124:
# ห้ามเรียกสิ่งต่างๆว่าเป็นของตนเอง
# กินอาหารเที่ยงแล้วได้ แต่ห้ามกินในราตรี
 
 
== หลักความเชื่อและจุดหมายสูงสุด ==
 
ศาสนาเชนเชื่อว่า ตราบที่ยังเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ ย่อมเป็นทุกข์ทั้งกายทั้งใจ กิเลสเป็นเหตุให้คนต้องเวียนว่ายตายเกิด เมื่อคนตายแล้ว วิญญาณจะไปเกิดใหม่ เพราะวิญญาณเป็นอมตะ ส่วนจะไปเกิดดีหรือไม่ จะไปสุคติหรือทุคติภูมิ ก็ขึ้นอยู่กับกรรมที่ทำไว้ ศาสนาเชนเชื่อว่านรกมี 7 ขุม และสวรรค์มี 16 ชั้น ก็การเกิดเป็นทุกข์นานาประการ การเกิดจึงเป็น เรื่องน่าสะพรึงกลัว ส่วนการที่จะพ้นทุกข์ได้ก็ต่อเมื่อบรรลุโมกษะแล้วเท่านั้น ดังนั้นโมกษะหรือความหลุดพ้นจากกิเลส จึงเป็นจุดหมายสูงสุดของศาสนาเชน ชาวเชนปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดก็เพื่อเข้าถึงโมกษะ ภูมิที่พ้นไปจากทุกข์ ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป
 
== วิธีปฏิบัติเพื่อบรรลุโมกษะมีดังนี้ ==
# สัมยัคทรรศนะ เห็นชอบ แต่ในที่นี้หมายถึงการเชื่อคำสั่งสอนของศาสดาเชนทุกองค์
# สัมยัคชญาณ ความรู้ชอบ คือรู้แจ้งเห็นจริงตามคำสั่งสอนของพระศาสดา
# สัมยัคจริตะ ประพฤติชอบ คือประพฤติตามคำสั่งสอนของพระศาสดาอย่างเคร่งครัด
 
== พิธีกรรมที่สำคัญ ==
 
พิธีกรรมที่สำคัญของศาสนาเชน คือ พิธีภารยุสะนะ หรือพิธีปัชชุสนะ เป็นงานพิธีรำลึกถึงองค์ศาสดามหาวีระ ซึ่งเป็นงานพิธีกรรมกระทำให้มีความสงบ การให้อภัยกัน และการเสียสละ บริจาคทานแก่คนยากจน และแห่รูปองค์ศาสดาเดินไปตามท้องถนน นิยมทำกันในปลายเดือนสิงหาคม หรือต้นเดือนกันยายน กระทำพิธีคราวละ 8 วัน
 
อนึ่ง ในระหว่างทำพิธี 8 วันนั้น นักบวชตามปกติจะพำนักอยู่ในป่า จะเข้ามาอยู่ในเมืองเพื่อร่วมประกอบพิธีจนครบ 8 วัน ส่วนฆราวาสก็จะอ่านคัมภีร์ซึ่งเป็นคำสอนของมหาวีระจนครบ 8 วันและนอกจากนี้ก็จะมีการเฉลิมฉลองสมโภชกันเอิกเกริกมโหฬารในหมู่ชาวเชนทั่วๆ ไป
 
== นิกายของศาสนาเชน ==
เมื่อ[[พระมหาวีระ]]สิ้นไปแล้วศาสนิกก็แตกแยกกันปฏิบัติหลักธรรม พ.ศ. 200 ก็แตกเป็น 2 นิกาย สาวกของพระมหาวีระได้แตกแยกเป็นหมู่เป็นคณะแยกกันปฏิบัติตามหลักที่ตนเห็นว่าทำให้หลุดพ้นจากทุกข์ได้ แต่นิกายที่แยกออกไปนั้นยังคงมุ่งไปหาหลักอหิงสาธรรมที่เรียบง่ายอย่างเดียวกัน แตกต่างกันก็กลายเพียงหลักการบางอย่างบางประการเท่านั้น
 
เป็นยุ่งเหยิง พ.ศ. 200 ก็แตกเป็น 2 นิกาย คือ
นิกายที่สำคัญในศาสนาเชน มี 2 นิกายใหญ่ๆ<ref> Kedar Nath Tiwari. Comparative Religion, 1983 p. 87-88 </ref> ดังต่อไปนี้
# [[นิกายทิคัมพร]] นุ่งลมห่มฟ้า
 
# [[นิกายเศวตัมพร]] นุ่งขาวห่มขาว
[[นิกายทิคัมพร]] นุ่งลมห่มฟ้าได้แก่ นิกายเปลือยกายหรือนักบวชแบบชีเปลือย ปฏิบัติโดยเคร่งครัด ทรมานตนให้ลำบากนานัปการ ไม่ยอมมีเครื่องปกปิดร่างกาย เพราะพวกเขาเชื่อว่าการมีเครื่องแต่งกายหรือมีผ้าปกปิดร่างกายนั้น ทำให้เกิดความกังวลใจเกี่ยวกับบริขารของตน หรืออาจเป็นเครื่องกังวลใจที่ต้องรักษาและแสวงหามา แต่เมื่อตนได้ถือเพศเป็นนักพรตเปลือยแล้ว ความกังวลใจในเรื่องนี้ก็เป็นอันหมดไป นอกจากไม่มีบริขารแล้ว พวกเขาก็มีเพียงไม้กวาดและผ้ากรองน้ำเพื่อมิให้สิ่งมีชีวิตถูกเบียดเบียน หรือต้องตายเพราะตน หลักปฏิบัติอันเคร่งครัดจริงๆ มีอีก 3 ข้อ ดังต่อไปนี้
 
1. ไม่กินอาหารใดๆ แม้น้ำก็ไม่ยอมให้ล่วงลำคอในคราวปฏิบัติ
 
2. ไม่มีสมบัติใดๆ ติดตัวแม้แต่ผ้านุ่ง สัญจรไปด้วยตัวเปล่าเปลือยกาย
 
3. ไม่ยอมให้ผู้หญิงปฏิบัติตามและบรรลุธรรม
[[นิกายเศวตัมพร]] นุ่งขาวห่มขาวได้แก่ นิกายนุ่งขาวห่มขาวเพียงเพื่อปกปิดกายของตนเท่านั้น ทั้งนี้เพราะผู้ที่เข้ามาบวชพิจารณาเห็นว่า ตนยังมีความละอายใจที่ต้องเที่ยวไปโดยไม่มีชิ้นผ้าปกปิดกาย นิกายเศวตัมพรส่วนมากอาศัยอยู่ทางภาคเหนือของสาธารณรัฐอินเดีย อันเป็นแถบที่มีอากาศหนาวมากกว่าทางตอนใต้ของประเทศซึ่งพวกนิกายทิคัมพรอยู่ อาศัย
 
ความจริงศาสนาเชนทั้ง 2 นิกาย มีข้อวัตรปฏิบัติอย่างเดียวกัน โดยยึดพระสูตรอย่างเดียวกัน ต่างแต่เพียงข้อปฏิบัติเล็กน้อยเท่านั้น เช่น การนุ่งห่มดังกล่าว ข้อวัตรปฏิบัติที่บรรพชิตในศาสนาเชนพึงปฏิบัติประจำตลอดชีวิต เรียกว่า วัตตบท มี 7 อย่าง ดังนี้
1. ประพฤติตนเป็นคนเปลือยไม่นุ่งผ้า
2. ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่เสพเมถุนธรรม
 
3. เลี้ยงชีวิตด้วยของแห้ง ไม่บริโภคข้าวสุก ขนมสด
4. ไปนมัสการอุเทนเจดีย์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ทางทิศบูรพา
5. ไปนมัสการโคตมกเจดีย์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ทางทิศทักษิณ
6. ไปนมัสการสัตตัมพเจดีย์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ทางทิศประจิม
7. ไปนมัสการพหุปุตติกเจดีย์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ทางทิศอุดร
การเดินทางไปนมัสการสถานที่ทั้ง 4 แห่งเหล่านี้ ถือว่าเป็นการปฏิบัติธุดงควัตรอันสำคัญที่สุด ซึ่งพวกเชนจะต้องปฏิบัติจนตลอดชีวิต ถึงจะอยู่ไกลแสนไกลกี่ร้อยโยชน์หรือพันไมล์ ก็ไม่ย่อท้อ เพราะเป็นทางให้บรรลุวิมุตติอันเป็นธรรมสูงสุดได้
 
== สัญลักษณ์ในศาสนา ==
 
ศาสนาเชน ได้ใช้รูปของมหาวีระองค์ศาสดา เป็นสัญลักษณ์คล้ายกับศาสนาพุทธ คือพระพุทธรูป เป็นสัญลักษณ์ต่างกันแต่รูปมหาวีระเป็นรูปเปลือย และต่อมา ศาสนาเชนได้ถือเอาลวดลายต่างๆซึ่งมีภาพมหาวีระอยู่ในวงกลมประกอบอยู่ด้วย
ปัจจุบันได้ถือรูปทรงกระบอกตั้ง มีบรรจุสัญลักษณ์อยู่ข้างใน 4 ประการ ดังนี้
1. รูปกงจักร สัญลักษณ์อหิงสาอยู่บนฝ่ามือ
2. รูปสวัสดิกะ เครื่องหมายแห่งสังสาร
3. จุด 3 จุด สัญลักษณ์แห่งรัตนตรัย - ความเห็นชอบ ความรู้ชอบ ความประพฤติชอบ
4. จุด 1 จุด อยู่บนเส้นครึ่งวงกลมตอนบนสุด คือ วิญญาณแห่งความหลุดพ้น เป็นอิสระสถิตอยู่ ณ สถานที่สูงสุดของเอกภาพ
สัญลักษณ์นี้มาจากความเชื่อถือว่า เวลาและเอกภาพเป็นสิ่งนิรันดร ไม่มีรูป โลกคงมีอยู่ ไม่มีวันจบสิ้น เป็นสภาพนิรันดร ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่สภาวะเปลี่ยนแปลงคงอยู่ตลอดกาล อวกาศเป็นสิ่งขยายไร้รูป เป็นที่รองรับเนื้อที่ทั้งมวลของเอกภาพ และเอกภาพมี รูปร่างเหมือนคนยืนกางขา เอามือเท้าสะเอว รูปร่างเพรียว เอวแบน ตรงกลางเอกภาพมีที่สถิตแห่งดวงวิญญาณ เป็นบริเวณที่สิ่งมีชีวิตทั้งหลายทุกชนิดมีอยู่ เหนือบริเวณตอนกลางของเอกภาพขึ้นไป คือโลกชั้นบน โลกชั้นนี้มีสองส่วน มีสวรรค์ 16 ชั้น มีเขตของท้องฟ้า 14 เขต ชั้นบนที่สุดของเอกภาพเป็นที่ตั้งของ สิทธศิลา ซึ่งเป็นสถานที่มีลักษณะบริเวณโค้ง เป็นที่สถิตของวิญญาณที่หลุดพ้นออกจากกายที่อยู่บนโลกมนุษย์ เรียกว่า ไกวัล
 
== คัมภีร์ทางศาสนา ==
คือ [[คัมภีร์อาคมะ]] หรือ อาคม
 
== สภาวะการณ์ในปัจจุบัน ==
 
ศาสนาเชนถึงแม้จะเกิดมานานแล้ว แต่ก็มีศาสนิกน้อย ประมาณ 3,700,000 คน<ref>Lewis M. Hopfe. Religions of World, 1994 p. 131.</ref> (Encyclopaedia Britannica 1994 : 269) และนับถือกันอยู่ในอินเดียเท่านั้น เนื่องมาจาก 2 เหตุผลใหญ่ ๆ คือ
1. ข้อปฏิบัติของศาสนาเชนเข้มงวดมาก เป็นลักษณะสุดโต่งหรือริมสุดหรือตกขอบ จึงยากที่คนทั่วไปจะปฏิบัติได้
2. ในวงการศาสนาเชนเองก็ไม่ค่อยสนใจที่จะเผยแผ่ศาสนาเชนให้แพร่หลายออกไป ภายนอก หากแต่ยินดีอนุรักษ์ไว้ภายในสำหรับศาสนิกเชนเท่านั้น ยิ่งกว่านั้นยังถูกแวดล้อมด้วยศาสนาฮินดูซึ่งมีผู้นับถือมากกว่าหลายเท่า ทำให้ถูกกลืนเป็นฮินดูมากขึ้นทุกที อย่างเช่น ศาสนาเชนปฏิเสธเรื่องวรรณะ แต่ปัจจุบันนักบวชศาสนาเชนส่วนใหญ่จะเป็นคนวรรณะพราหมณ์ ทั้งได้รับความนับถือสูงกว่าพระในวรรณะอื่นด้วย
ปัจจุบันได้มีขบวนการเผยแผ่ศาสนาเชนเรียกว่าขบวนการอนุพรต โดยมีตุลสีเป็นหัวหน้า มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองกัลกัตตา ขบวนการนี้พยายามชักจูงคนให้สนใจปฏิบัติ ตามหลักธรรมอนุพรต โดยได้นำคำสอนจากศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธที่ตรงกันมาสนับสนุนด้วย เพื่อที่คนจะได้เห็นความสำคัญของศาสนาเชนยิ่งขึ้น
ชาวเชนถึงแม้จะมีกฎระเบียบต่างๆ มากมาย แต่ชาวเชนก็มักจะมีการศึกษาสูงกว่าและฐานะดีกว่าเพื่อนบ้าน ตลอดทั้งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า ชาวเชนซื่อสัตย์สุจริตและมีคุณธรรมสูง ชาวเชนนิยมไปวัดซึ่งมีมากกว่า 40,000 วัดในประเทศอินเดีย ตามวัดต่างๆ จะมีรูปเคารพของพระติตถังกร ประดับประดาอย่างงดงาม และมีหลายวัดที่มีศิลปะงดงามมากอย่างวัดเชนบนภูเขาอบู ได้รับการยกย่องว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ 1 ใน 7 ของอินเดีย
 
 
== แหล่งอ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
 
{{โครงศาสนา}}