ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธรรมกาย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 14:
* '''หลักฐานชั้นพระไตรปิฎก'''
ในพระไตรปิฎกฉบับบาลีอักษรไทย (๒๕๒๕) ซึ่งจัดพิมพ์โดยมหามกุฎราชวิทยาลัย
มีปรากฏคำว่า "ธรรมกาย" อยู่ ๔ แห่ง โดยส่วนใหญ่อยู่ในพระสูตร คือดังนี้
 
''1. ที.ปา. อัคคัญญสูตร ๑๑/๕๕/๙๑-๙๒ ''
ในทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค หน้า ๙๒ ฉบับบาลี ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้กล่าวถึง "ธรรมกาย" ว่า {{คำพูด|ตถาคตสฺส เหตํ วาเสฏฺฐฏฺฐา อธิวจนํ ธมฺมกาโย อิติปี พฺรหฺมกาโย อิติปิ ธมฺมภูโต อิติปิ พฺรหฺมภูโต อิติปิฯ}}
"ดูก่อน วาเสฏฐะ อันว่า คำว่า "ธรรมกาย" ก็ดี "พรหมกาย" ก็ดี "ธรรมภูต" ก็ดี ผู้ที่เป็นธรรมก็ดี หรือ "พรหมภูตะ" ผู้ที่เป็นพรหมก็ดี นี้แหละเป็นชื่อของเราตถาคต" จากข้อความนี้แสดงว่า ในประโยคดังกล่าว เป็นคำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสกับสามเณรวาเสฏฐะว่า "ธรรมกาย" คือชื่อหนึ่งของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้น สามารถจะกล่าวถึงพระนามของพระพุทธองค์ว่าคือ "พระธรรมกาย"
 
''2. ขุ.อป. มหาปชาบดีโคตรมีเถรีอปทาน ๓๓/๑๕๗/๒๘๔ ''
 
ในขุททกนิกาย อปทาน เล่มที่ ๓๓ ข้อ ๑๕๗ หน้า ๒๘๔ บรรทัดที่ ๑๒ ฉบับบาลี ปี ๒๕๒๕ ได้กล่าวถึง "ธรรมกาย" ไว้ว่า
บรรทัด 30:
จากข้อความนี้แสดงว่า เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ พระนางมหาปชาบดีได้เป็นผู้ให้การเลี้ยงดูให้พระองค์เจริญเติบโต แต่พระพุทธองค์ก็ประดุจได้เลี้ยงดูพระนางตอบแทนด้วยการทำให้ "ธรรมกาย" เกิดขึ้นในตัวของพระนาง ทั้งนี้ พระนางมหาปชาบดีเป็นพระอรหันตเถรี จึงกล่าวได้อีกว่า "ธรรมกาย" ก็เป็นลักษณะหนึ่งของการเป็นพระอรหันต์ แต่เนื่องจากพระวรกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นกายของมหาบุรุษ ส่วนกายของพระนางมหาปชาบดีเป็นกายของสตรี ดังนั้นธรรมกายจึงมิใช่กายเนื้อภายนอก เมื่อเป็นเช่นนี้ "ธรรมกาย" จึงเป็นกายภายในกล่าวคือ จิต-เจตสิก ที่เป็นคุณธรรมซึ่งท่านได้สั่งสมไว้จนถึงขีดสุดแล้วและสามารถจะรับรู้ได้ด้วยตนเองเมื่อเข้าถึง คือ บรรลุแล้ว
 
''3. ขุ.อป. ปัจเจกพุทธาปทาน ๓๒/๒/๒๐ ''
ในขุททกนิกาย อปทาน เล่มที่ ๓๒ ข้อ ๒ หน้า ๒๐ บรรทัดที่ ๙ ฉบับบาลี ปี ๒๕๒๕ ได้กล่าวถึงว่า
 
{{คำพูด|...ภวนฺติ ปจฺเจกชินา สยมฺภูสยมฺภูฯ มหนฺต ธมฺมามหนฺตธมฺมา พหุธมฺมกายา...}}
 
"พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้สยมภู ทรงเป็นผู้มีธรรมะธรรมอันใหญ่ มี "ธรรมกาย" มาก"
 
จากข้อความนี้แสดงว่า แม้ในพระปัจเจกพุทธเจ้าก็ทรงมีธรรมกาย ดังนั้นลักษณะที่เหมือนกันของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย คือมี "ธรรมกาย"
 
''4. ขุ.อป. อัตถสันทัสสกเถราปทาน อปทาน ๓๒/๑๓๙/๒๔๓ ''
ในขุททกนิกาย อปทาน เล่มที่ ๓๒ ข้อ ๑๓๙ หน้า ๒๔๓ บรรทัดที่ ๑ ฉบับบาลี ปี ๒๕๒๕ ได้กล่าวถึง "ธรรมกาย" ว่า
 
{{คำพูด|...ธมฺมกายญฺจ ทีเปนฺติ เกวลํ รตนากรํ วิโกเปตํ น สกฺโกนฺตีสกฺโกนฺติ โก ทิสฺวา นปฺปสิทติฯนปฺปสีทติฯ}}
 
"บุคคลใดยัง "ธรรมกาย"ให้สว่างแล้วทั้งสิ้น อันเป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะทั้งหลาย อันบุคคลทั้งหลายไม่มีผู้ใดจะทำร้ายได้ ใครเล่าเมื่อเห็นแล้วจะไม่ปลาบปลื้มยินดีนั้น ไม่มี"