ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยูเอชเอฟ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 11:
ในการออกอากาศวิทยุโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟ มีช่วงเลขประจำช่อง ระหว่าง 14-83 (47-890 [[เมกะเฮิร์ทซ์]])
 
ส่วนใน[[ประเทศไทย]] มีช่องสัญญาณอยู่ที่ช่อง 21 ถึง 69 แต่ในกรณีช่อง 21 ถึง 25 และ 61 ถึง 69 กรมไปรษณีย์โทรเลข (ปัจจุบันคือ สำนักงาน [[กทช.]]) ได้สงวนช่องสัญญาณไว้ด้งกล่าว เพื่อใช้ในระบบการสื่อสารทางโทรศัพท์มือถือ ระบบ Cellular Mobile System จึงทำให้ประเทศไทย สามารถใช้ข่องช่องสัญญาณไว้ตั้งแต่ที่ 26 ถึง 60 เพื่อออกอากาศส่งทางวิทยุโทรทัศน์ เท่านั้น
 
=== ตัวอย่างการใช้ระบบในประเทศไทย ===
[[สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี]] (สปน.) เริ่มดำเนินโครงการ [[สถานีโทรทัศน์]]ระบบยูเอชเอฟ เมื่อปี [[พ.ศ. 2538]] โดยมีการเปิดประมูลรับ[[สัมปทาน]] เมื่อวันที่ [[4 เมษายน]] พ.ศ. 2538 โดย กลุ่มสยามทีวีแอนด์คอมมิวนิเคชั่น (แปรรูปเป็น บริษัท สยามอินโฟเทนเมนท์ จำกัด เมื่อได้รับอนุมัติสัมปทานแล้ว และเปลี่ยนชื่อเป็น [[บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน)]] เมื่อวันที่ [[2 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2541]]) เป็นผู้ได้รับอนุมัติสัมปทานดังกล่าว โดยใช้ชื่อสถานีว่า '''[[สถานีโทรทัศน์ไอทีวี]]''' (ITV-Independent Television) นับเป็น สถานีโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟแห่งแรกของประเทศไทย แพร่ภาพออกอากาศทางช่อง 26 และเปลี่ยนมาเป็นช่อง 29 ในภายหลัง โดยมีอายุสัมปทาน 30 ปี เริ่มต้นออกอากาศอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ [[1 กรกฎาคม]] พ.ศ. 2539 และได้เปลี่ยนแปลงเป็น [[สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี]]ในปี 2550 และ [[สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย]] ตามลำดับ ในปี 2551
 
== ข้อมูลอื่น ==
* [[วีเอชเอฟ]]
 
[[หมวดหมู่:คลื่นความถี่]]