ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราหุล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
กล่องข้อมูล บุคคลในพระพุทธประวัติ
Hintha (คุย | ส่วนร่วม)
+image
บรรทัด 41:
 
ในพระไตรปิฎกว่า เจ้าชายสิทธัตถะเมื่อได้ทราบว่า พระกุมารประสูติ ทรงเปล่งอุทานออกมาว่า "ราหุ ชาโต พันธนัง ชาตัง" แปลว่า "''ราหุ'' (บ่วง) เกิดขึ้นแล้ว พันธนาการเกิดขึ้นแล้ว" หมายความว่า พระกุมารที่ประสูติจะเป็นบ่วงร้อยรึงพระองค์ไว้กับภริยาและชีวิตฆราวาส ซึ่ง[[พระเจ้าสุทโธทนะ]]ทรงนึกว่าสิทธัตถราชกุมารทรงตั้งพระนามโอรสอย่างนั้น จึงทรงขนานนามพระภาคิไนย (พระเจ้าหลาน) ว่า "ราหุล" อันแปลว่า "บ่วง"
[[File:Prince Rahula and Buddha.jpg|thumb|]]
 
อย่างไรก็ดี ตามพระวินัยของ[[นิกายสรวาสติวาท]]ว่า พระนาม "ราหุล" มิได้มาจากรากศัพท์ "ราหุ" ที่แปลว่า "บ่วง" แต่มาจากศัพท์ "ราหุ" ที่แปลว่า "[[จันทรคราส]]" หรือที่ในภาษาไทยว่า "[[พระราหู|ราหู]]"<ref>Edward Joseph Thomas, The Life of Buddha as Legend and History. Routledge, 1975. Page 53, note 1.</ref> <ref>Raniero Gnoli (ed.) The Gilgit Manuscript of the Samghabhedavastu. Rome: Instituto Italiano per il Medio ed Estremo Oriente, 1977. 1:119.</ref>