ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรีย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต แก้ไข: sr:Борис ІІІ Сакскобургготски
Xqbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต แก้ไข: sr:Борис ІІІ од Бугарске; ปรับแต่งให้อ่านง่าย
บรรทัด 27:
 
== ภายใต้การปกครองของพระบิดาผู้เข้มงวด ==
=== การรับศีลจุ่มที่ทำให้เกิดข้อโต้แย้ง ===
เจ้าชายบอริสได้ประสูติในวันที่ [[30 มกราคม]] [[พ.ศ. 2437]] ประเทศบัลแกเรีย [[พระเจ้าซาร์เฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งบัลแกเรีย|เจ้าชายเฟอร์ดินานด์แห่งบัลแกเรีย]]และ[[เจ้าหญิงมารี หลุยส์แห่งปาร์มา]] พระมเหสีได้ประกาศยิงปืนร้อยเอ็ดนัดเพื่อเฉลิมฉลองการประสูติบุตรองค์แรก ในนาม '''เจ้าชายบอริสแห่งทูร์นูโว'''
 
บรรทัด 37:
 
อย่างไรก็ตามการที่ทรงกระทำเช่นนี้ทำให้เป็นข่าวใหญ่ไปทั่วยุโรป [[สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 13]]แห่งโรมันคาทอลิกทรงบัพพาชนียกรรมพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ [[สมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟที่ 1 แห่งออสเตรีย]]ทรงร้องขอให้เจ้าหญิงมารี หลุยส์ทูลเตือนการกระทำของพระสวามี ทำให้พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ทรงลังเลพระทัยเล็กน้อยแต่ในที่สุดฝ่ายรัฐชนะ ทำให้พระองค์ทรงยืนยันความคิดเดิม ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2439 ทรงเข้ารีตนับถือออร์ทอด็อกซ์ และ[[สมเด็จพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย]](พระโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ที่ 3 ซึ่งพระเจ้านิโคลัสทรงอภิเษกสมรสกับพระราชนัดดาใน[[สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย]]แห่ง[[สหราชอาณาจักร]])ได้กลายเป็นพระบิดาอุปถัมภ์ของเจ้าชายบอริส พระเจ้าเฟอร์ดินานด์และเจ้าหญิงมารี หลุยส์ พระมเหสีหลังจากทรงถูกบัพพาชนียกรรม ทรงตัดสินใจให้พระโอรสองค์ที่ 2 คือ [[เจ้าชายคีริลแห่งบัลแกเรีย]]เข้ารีตโรมันคาทอลิก เพื่อขอโทษพระสันตะปาปา
=== การเลี้ยงดูอย่างเข้มงวด ===
[[ไฟล์:Boris III âgé de 5 ans.jpg|thumb|left|เจ้าชายบอริส เมื่อมีพระชนมายุ 5 ชันษา]]
ในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2442 หลังจากเจ้าหญิงมารี หลุยส์ทรงพระประสูติกาลพระธิดาองค์ที่ 2 คือ [[เจ้าหญิงนาเด็จดาแห่งบัลแกเรีย]] พระนางก็ทรงสิ้นพระชนม์ ทำให้ทุกพระองค์ทรงได้รับการเลี้ยงดูจากพระอัยยิกาคือ [[เจ้าหญิงคลีเมนทีนแห่งออร์เลออง]] ซึ่งเป็นพระธิดาของ[[พระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปป์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส]] แค่พระนางก็ทรงสิ้นพระชนม์ในวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2450 พระบิดาจึงทรงเลี้ยงดูและให้การศึกษาด้วยพระองค์เอง
บรรทัด 44:
 
อย่างไรก็ตามชีวิตในวังนั้นไม่เรียบง่าย พระโอรสธิดาทุกพระองค์ต้องเรียกพระบิดาว่า"ฝ่าบาท" ไม่มีการเรียกพระนามแบบสนิทสนม ทำให้พระโอรสธิดาทรงเก็บกด อารมณ์รุนแรงหรืออ่อนไหวง่าย เมื่อไม่มีภารกิจเจ้าชายบอริสจะไม่ได้ทรงติดต่อภายนอกต้องอยู่ในพระราชวังในสภาพไม่ต่างจากคุก
=== ทรงเป็นพยานในเหตุการณ์ใหญ่ ===
[[ไฟล์:bjy.jpg|thumb|เจ้าชายบอริสแห่งบัลแกเรีย เมื่อทรงพระเยาว์]]
ในวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2451 เกิดการขัดแย้งทางการเมืองภายในจักรวรรดิออตโตมัน พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ได้ประกาศตนเป็น "สมเด็จพระเจ้าซาร์" และทรงประกาศอิสรภาพบัลแกเรียจากจักรวรรดิออตโตมันอย่างสมบูรณ์
บรรทัด 57:
 
== ต้นรัชกาล ==
=== พระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 กษัตริย์แห่งปวงชนบัลแกเรีย ===
[[ไฟล์:boris III de bulgarie.jpg|thumb|พระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรียในวันครองราชสมบัติ]]
บัลแกเรียในรัชสมัยของพระเจ้าซาร์เฟอร์ดินานด์ ทรงประสบความล้มเหลวทางด้านการทหาร ได้แก่
บรรทัด 66:
มีทรงครองราชย์ลางร้ายเริ่มเกิดขึ้น พระองค์ทรงถูกแยกจากพระราชวงศ์ พระองค์ทรงไม่ได้พบกับพระขนิษฐาทั้ง 2 พระองค์ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2464 และไม่ได้พบกับพระอนุชาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2469 ผลผลิตไม่ดีในปีพ.ศ. 2460 และพ.ศ. 2461 เกิดพวกฝ่ายซ้ายคือ [[สหภาพอกราเรียน]]และ[[พรรคคอมมิวนิสต์บัลแกเรีย]] อย่างไรก็ตามพวกฝ่ายซ้ายได้ถูกกำจัดในปีพ.ศ. 2462 และยังคงระบอบกษัตริย์ไว้
 
=== ยุคไร้อำนาจแห่งเผด็จการ ===
[[ไฟล์:Boris III in 1925.jpg|thumb|left|พระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรียในปีพ.ศ. 2468]]
1 ปีหลังจากทรงครองราชสมบัติ [[อเล็กซานเดอร์ สแตมบอลิยิสกี้]]จากพรรคสหภาพประชาชนบัลแกเรียได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรี แม้ว่าเขาจะได้รับคะแนนนิยมจากเหล่าเกษตรกรและชนชั้นกรรมาชีพ นายกรัฐมนตรีแสดงตนต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างชัดเจน ในไม่ช้าประธานคณะมนตรีได้จัดตั้งเผด็จการชาวนาขึ้นมาและแสดงตนเป็นปริปักษ์กับเหล่าผู้นำกองทัพระดับสูงและคนชนชั้นกลาง
บรรทัด 77:
 
ในขณะเดียวกัน[[กรีซ]]ได้ประกาศสงครามกับบัลแกเรียจาก[[เหตุการณ์ที่เพทริค]]ที่เป็นกรณีพิพาทกัน และกรีซก็ได้รับการสนับสนุนจาก[[สันนิบาตชาติ]] ซึ่งกรีซสามารถยึดครองเพทริคได้
=== การโจมตีจากทั้งสองฝ่าย ===
[[ไฟล์:Svned5-bugarash.jpg|thumb|เหตุการณ์ระเบิดที่มหาวิหารสเวตา-นาเดลยา ในกรุง[[โซเฟีย]] พ.ศ. 2468]]
ในวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2468 พระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 และพระสหายสี่คนได้กลับจากการล่าสัตว์ที่อราโบคอนัก ใกล้เมือง[[บอเตฟกราด|โอฮานี]] ในขณะที่ทางกลับ ทรงได้ยินเสียงกระสุนปืนจำนวนมาก คนเฝ้าสัตว์ป่าและพนักงานพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติถูกสังหาร กระสุนปืนทำให้คนขับรถได้รับบาดเจ็บ พระเจ้าบอริสทรงควบคุมรถไว้ได้แต่รถพระที่นั่งได้พุ่งชนกับเสา โชคดีที่มีรถบัสผ่นมาทำให้พระองค์และพระสหายอีกสองคนหลบหนีมาได้ และในวันเดียวกันอดีตนายพลและผู้แทนราษฎร [[คอนสแตนติน จอร์เจียฟ]] ได้ถูกลอบสังหาร
บรรทัด 84:
 
== พระเจ้าซาร์ของประชาชน ==
=== พระเจ้าซาร์เพื่อประชาชน ===
ตั้งแต่การครองราชสมบัติของพระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรีย พระองค์อุทิศเวลาส่วนใหญ่ในการพักผ่อน เช่น การเก็บดอกไม่ป่าและจับผีเสื้อหรือทรงศึกษากลศาสตร์ โดยเฉพาะหัวรถจักร พระองค์ทรงเริ่มประพาสทั่วประเทศ ได้แก่ ทรงเข้าเมือง,หมู่บ้าน,โรงงาน,ฟาร์มและบางครั้งทรงพำนักในบ้านของชาวนาและทรงจัดทำพันธบัตรแก่ประชาชนบัลแกเรีย
 
บรรทัด 92:
 
ในการเสด็จประชุมครั้งแรกที่โรม ทรงเข้าพบ[[เบนิโต มุสโสลินี]]ครั้งแรก ทรงมีพระปฏิสันถารกับเขาว่า "ผมชื่นชมท่านที่มีการจัดการเพื่อฟื้นฟู ปรับปรุงอิตาลี แต่เผด็จการเป็นระบอบเบ็ดเสร็จนิยมมีความสามารถชั่วคราวเท่านั้น จำคำพูดของบิสมาร์กที่ว่า คุณสามารถทำทุกอย่างด้วยดาบปลายปืนยกเว้นนั่งบนมัน ผมชื่นชมคุณมากขึ้นถ้าคุณออกจากระบอบนี้ด้วยตนเอง แต่เมื่อจำเป็นที่ต้องออก คุณควรให้อำนาจกลับคืนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย"
=== ซารีนาเพื่อชาวบัลแกเรีย ===
[[ไฟล์:tsar and tsaritsa of bulgaria.jpg|thumb|พระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 และซารินาจีโอวันนาแห่งบัลแกเรีย]]
ในปีพ.ศ. 2470 พระองค์ทรงมีพระชนมายุกว่า 30 ปีแล้ว พระเจ้าซาร์บอริสยังไม่ทรงอภิเษกสมรส ทั้งในยุโรปและอเมริกาได้มีการลือมากมายเกี่ยวกับราชินีในอนาคตของบัลแกเรีย ในที่สุดพระองค์ทรงตกหลุมรักเจ้าหญิงชาวอิตาเลียน พระนามว่า [[จีโอวันนาแห่งอิตาลี สมเด็จพระราชินีแห่งบัลแกเรีย|เจ้าหญิงจีโอวันนาแห่งซาวอย]] พระธิดาพระองค์ที่ 3 ใน [[พระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 3 แห่งอิตาลี]]กับ[[เอเลนาแห่งมอนเตเนโกร สมเด็จพระราชินีแห่งอิตาลี|เจ้าหญิงเอเลนาแห่งมอนเตเนโกร]] หลังจากพระราชพิธีอภิเษกสมรสของ[[สมเด็จพระเจ้าอุมแบร์โตที่ 2 แห่งอิตาลี|มกุฎราชกุมารอุมแบร์โตแห่งอิตาลี]]กับ[[เจ้าหญิงมารี-โจเซแห่งเบลเยียม]] พระเจ้าซาร์บอริสได้ขอเจ้าหญิงจีโอวันนาอภิเษกสมรส
บรรทัด 110:
 
== อำนาจเต็มแห่งสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ==
=== ขึ้นสู่อำนาจ ===
[[ไฟล์:boris III and cyril.jpg|thumb|200px|พระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 และเจ้าชายคิริล พระอนุชา]]
บัลแกเรียในยุคนี้เป็นยุคที่ต่างจากยุคอื่นมาก ถ้าสถานการณ์ความรุนแรงในประเทศสูงขึ้น จะส่งผลให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจจนถึงขั้นวิกฤต ผลผลิตลดลงถึง 40% ในเวลาเพียง 2 ปีและอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นถึง 200,000 คนจากประชากรทั้งหมด 7 ล้านคน ได้มีการเลือกตั้งในปีพ.ศ. 2474 ประชาชนผิดหวังมากเพราะบุคคลที่เลือกไปไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ นอกจากนี้ในการเลือกตั้งสภาเทศบาลในปีพ.ศ. 2475 พรรคคอมมิวนิสต์ได้คะแนนเสียงในเมืองหลวง[[โซเฟีย]]แต่สภาถูกสลายอย่างรวดเร็วโดยรัฐบาล
บรรทัด 118:
พระเจ้าซาร์บอริสตัดสินใจที่จะนำอำนาจมาไว้ในพระหัตถ์ ในวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2478 8 เดือนหลังจากจอร์เจียฟยึดอำนาจ พระเจ้าซาร์ได้แต่งตั้งนายพล[[เพนโช สลาเตฟ]] ทำหน้าที่ "ล่าพวกสาธารณรัฐ" และปฏิรูปรัฐบาลใหม่ พระองค์ได้เข้ามาในการเมือง ทำให้พระองค์ได้อำนาจที่แท้จริงในการปกครอง
 
=== การจัดตั้งพระราชอำนาจเผด็จการ ===
การครองอำนาจของพระเจ้าซาร์บอริสในช่วงต้น เป็นการก่อจั้งรัฐบาลของ[[จอร์เจียฟ คิมอน]] รัฐบาลชุดใหม่นั้ได้ประกอบด้วย 3 นายพล ,สมาชิกจากพรรคต้องห้ามทั้ง 3 คือ พรรคเกษครกร,พรรคประชาธิบไตยแลสกอวอร์และพรรคAgreement และสมาชิกจาก 3 คณะพลเรือน
 
บรรทัด 127:
 
== นโยบายต่างประเทศผิดแปลก ==
=== การสร้างสัมพันธไมตรีกับนาซีเยอรมนี ===
 
จาก[[สนธิสัญญาเนยยี-เซอร์-ไซน์]] ทำให้กองทัพบัลแกเรียเป็นอันตรายและหลายครั้งที่รัฐบาลต้องการการแก้ไข ในปีพ.ศ. 2478 ได้เผชิญหน้ากับ[[ตุรกี]] เพื่อป้องกันช่องแคบที่ [[เธรซ]]ทางตะวันตก เมื่อขอบเขตแดนถูกรุกล้ำ บัลแกเรียได้เตรียมทำการโจมตีโดยมีมหาอำนาจยินยอม บัลแกเรียได้หันไปพึ่ง[[ฝรั่งเศส]],[[อังกฤษ]]และ[[เยอรมนี]] เพื่ออาวุธที่ทันสมัย [[นาซีเยอรมนี|จักรวรรดิไรช์ที่สาม]]ได้ตอบรับพร้อมข้อเสนอที่น่าสนใจ แต่ในขณะที่รับข้อเสนอพระเจ้าซาร์บอริสทรงพยายามไม่มีสัญญาณที่ผูกมิตรกับทหารเยอรมัน
บรรทัด 134:
[[ไฟล์:Official boris III.jpg|thumb|300px|left|ภาพพระฉายาลักษณ์อย่างเป็นทางการของพระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 และซารินาจีโอวันนา]]
 
=== นโยบายทางการทูตของพระเจ้าซาร์ ===
[[ไฟล์:Boris3bulgaria1894.jpg|thumb|พระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรีย ในปีพ.ศ. 2476]]
ตั้งแต่พ.ศ. 2478 พระเจ้าซาร์บอริสและนายกรัฐมนตรี [[จอร์กี คียอเซอิวานอฟ]] พยายามสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับประชาธิปไตยตะวันตก พระองค์ทรงเสด็จไปฝรั่งเศสและอังกฤษหลายครั้งเพื่อรองรับประชาธิปไตยแต่ไม่สำเร็จด้านสัญญาการค้า ในช่วงหนึ่งทรงเดินทางไปอังกฤษในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2481 พระองค์ได้รับการช่วยเหลือจากนายกรัฐมนตรีอังกฤษ [[เนวิลล์ แซมเบอร์เลน]] เกี่ยวกับ[[วิกฤตชูเดเตน]] พระองค์ทรงทราบว่า ฟือเรอห์ [[อดอล์ฟ ฮิตเลอร์]]รู้สึกเห็นใจเขาและได้มีบทบาทเป็นตัวกลางในกิจการของพระองค์ใน[[เยอรมนี]] ซึ่งพระองค์ได้พบปะเป็นการลับกับฟือเรอห์ หลังจากการพบปะนี้พระองค์ทรงเขียนถึงเลขาธิการที่จะใช้คำแนะนำการติดต่อโดยตรงกับฮิตเลอร์และกำหนดขอบเขตแคว้น[[ชูเดเตน]]
บรรทัด 144:
เมื่อสงบ พระเจ้าซาร์บอริสทรงมั่นใจได้ว่าลัทธิสนับสนุนการเรียกร้องดินแดนคืนของบัลแกเรียสามารถแก้ไขได้ผ่านช่องทางการทูตและจะเพิ่มขึ้นด้วยการสนับสนุน[[อดอล์ฟ ฮิตเลอร์]]และ[[สงครามโลกครั้งที่ 2]]
 
=== เป็นกลาง ===
ในช่วงแรกของ[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] มีความคิดเห็นในสาธารณะระหว่างการสนับสนุนเยอรมนี ซึ่งสัญญาจะจะได้รับอาณาเขตที่เสียไปในสงครามโลกครั้งที่ 1 และเห็นใจฝ่ายที่ต่อต้าน[[ฝ่ายอักษะ]] พระเจ้าซาร์บอริสทรงกล่าวในปีพ.ศ. 2483 ว่า "นายพลของข้าคือผู้นิยมเยอรมัน ข้าคือผู้นิยมนโยบายอังกฤษ,พระราชินีและพสกนิกรคือผู้นิยมอิตาลีและผู้นิยมรัสเซีย ดังนั้นข้าบัลแกเรียเป็นกลาง"
 
บรรทัด 154:
 
 
== พันธมิตรที่ผิดแปลก ==
=== เยอรมนี พันธมิตรใหม่ ===
 
ในเดือรมกราคม พ.ศ. 2484 [[อดอล์ฟ ฮิตเลอร์]]ได้ช่วยเหลือ[[เบนิโต มุสโสลินี]] หลังจากกรีทาทัพเข้ายึด[[กรีซ]] กองทัพเยอรมันได้เคลื่อนทัพผ่าน[[โรมาเนีย]]และได้เคลื่อทัพต่อไปยัง[[บัลแกเรีย]] พระเจ้าซาร์บอริสทรงถูกบังคับให้ร่วม[[สนธิสัญญาไตรภาคี]] โดย[[บ็อกดาน ฟิลอฟ]]เป็นผู้ลงนามในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2484 และในวันเดียวกันกองทัพเยอรมนีได้เข้าสู่บัลแกเรีย
บรรทัด 163:
ในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ราชอาณาจักรบัลแกเรียได้ประกาศสงครามกับ[[อังกฤษ]]และ[[สหรัฐอเมริกา]]
 
=== ชาวยิวในบัลแกเรีย ===
[[ไฟล์:kissing tsar hand.jpg|thumb|left|ประชาชนจุมพิตที่พระหัตถ์ของพระเจ้าซาร์บอริส]]
ในวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2483 รัฐบาลได้วางแผนก่อตั้งองค์กรยุวชน [[เบรนนิก]]ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจจากฮิตเลอร์ แต่สี่วันก่อนหน้ารัฐสภาโหวตกฎหมาย"การป้องกันชาติ" ผ่ายต่อต้านเซมิติกได้เสนอมาตรการซึ่งมีผลต่อชาวยิวในประเทศ 50,000 คน แต่แผนการนี้ได้ถูกคัดค้าน ในปีพ.ศ. 2483 กลุ่มต่อต้านเซมิติไม่ได้อยู่ในบัลแกเรีย อย่างไรก็ตามมาตรการของกลุ่มได้รับการตอบรับในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2484
บรรทัด 174:
ชาวยิวจำนาวนมากได้หลบหนีออกจากค่ายกักกันในบัลแกเรีย
 
=== การสวรรคตอย่างลึกลับและกะทันหัน ===
[[ไฟล์:people and boris III.jpg|thumb|200px|ประชาชนชาวบัลแกเรียเดินทางมาไว้อาลัยพระศพพระเจ้าซาร์บอริสที่ 3]]
ในปีพ.ศ. 2486 สงคามใกล้ถึงจุดเปลี่ยนที่[[สตาลินกราด]] เยอรมันเริ่มเพลี่ยงพล้ำ พระเจ้าซาร์บอริสทรงตระหนักถึงเรื่องนี้ดีและต้องการหลีกเลี่ยงความผิดพลาดเช่นเดียวกันกับพระบิดา เมื่อ 25 ปีก่อน พระองค์ทรงติดต่อกับอเมริกาอย่างเป็นการลับ
บรรทัด 246:
* The Daily Telegraph, Obituary for "HM Queen Ioanna of the Bulgarians", London, 28 February 2000.
* Balkans into Southeastern Europe by John R. Lampe, Palgrave Macmillan, New York, 2006.
* A History of Israel: From the Rise of Zionism to Our Time by Howard M. Sachar, Alfred A. Knopf, New York, 2007, ISBN 978-03944856450-394-48564-5
* http://en.wikipedia.org/wiki/Boris_III_of_Bulgaria
* [http://stara-sofia.com/dvorec.html Historical photographs of the royal palace in Sofia]
* [http://www.findagrave.com/cgi-bin/fg.cgi?page=gr&GRid=9426828 Find-A-Grave biography]
 
{{สืบตำแหน่งพิเศษเริ่ม}}
บรรทัด 269:
{{birth|1894}}
{{death|1943}}
 
[[หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์บัลแกเรีย|บ]]
[[หมวดหมู่:ชาวบัลแกเรีย|บ]]
เส้น 300 ⟶ 301:
[[ru:Борис III]]
[[sk:Boris III.]]
[[sr:Борис ІІІ Сакскобургготскиод Бугарске]]
[[sv:Boris III av Bulgarien]]
[[tr:III. Boris]]