ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าโคจงแห่งโครยอ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 11:
ทัพมองโกลยังคงอยู่ในเกาหลีต่อมา เกาหลีกลายเป็นดินแดนไร้ขื่อแปมีแต่ทัพมองโกลบุกปล้นสะดมบ้านเมือง ขณะที่ราชสำนักก็หลบซ่อนอยู่ที่เกาะคังฮวา ในค.ศ. 1236 พระเจ้าโคจงมีพระราชโองการให้จัดพิมพ์[[พระไตรปิฏกภาษาเกาหลี]] (Tripitaka Koreana) ขึ้นมาเพื่อทดแทนของเดิมที่ถูกมองโกลทำลายและทรงเชื่อว่าการทำเช่นนี้จะทำให้ได้บุญและโครยอจะรอดพ้นจากการรุกรานของมองโกล เมื่อวอเคอไตข่านเสียชีวิตในค.ศ. 1241 การรุกรานของมองโกลก็อ่อนแอลงไป
 
ในค.ศ. 1251 มองเกอข่าน (Mongke Khan) ข่านคนใหม่ของมองโกล ได้เรียกร้องให้พระเจ้าโคจงย้ายกลับมาประทับที่เมืองแคซอง มองเกอข่านส่งจาแลร์ไต (Jalairtai) ยกทัพมองโกลเข้ามาบุกโครยออีกครั้ง จนพระเจ้าโคจงต้องทรงยอมจำนน ย้ายกลับมาประทับที่แคซอง แต่ชเวฮัง (최항, 崔沆) บุตรชายของชเวอูและผู้นำทหารต่อจากบิดายังคงอยู่ที่เกาะคังฮวา มองเกข่านเห็นว่าเกาหลียังไม่นอบน้อมเพราะผู้นำเผด็จการทหารจึงต้องการนำตัวชเวฮังมาลงโทษ จาแลร์ไตบุกเกาหลีอีกครั้งในค.ศ. 1254 ซึ่งเป็นครั้งที่รุนแรงที่สุดมีความเสียหายมากที่สุด<ref>http://www.koreanhistoryproject.org/Ket/C06/E0604.htm</ref>
 
ในที่สุด ค.ศ. 1258 ชเวอี (최의, 崔竩) ผู้นำเผด็จการทหารบุตรชายของชเวฮัง ก็ได้ถูกพระเจ้าโคจงร่วมกันวางแผนกับคิมอินจุน (김인준, 金仁俊) และขุนนางฝ่ายพลเรือนทั้งหลายลอบสังหารเสีย และพระเจ้าโคจงก็ทรงยอมจำนนต่อมองโกลอย่างเป็นทางการโดยการส่งพระโอรสองค์ชายรัชทายาทวังจอนไปเป็นองค์ประกัน จาแลร์ไตจึงถอนทัพกลับออกไปจนหมด
 
== พระราชวงศ์ ==