ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าโคจงแห่งโครยอ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
พระเจ้าโคจงประสูติในรัชกาลของ[[พระเจ้ามยองจงแห่งโครยอ|พระเจ้ามยองจง]] เป็นพระโอรสขององค์ชายรัชทายาทและพระชายาตระกูลยู ในค.ศ. 1197 พระเจ้ามยองจงทรงถูก[[ชเวชุงฮอน]]ปลดจากราชสมบัติ และเนรเทศพระราชวงศ์ไป[[เกาะคังฮวา]] จนในค.ศ. 1211 ชเวชุงฮอนไำด้นำอดีตองค์ชายรัชทายาทกลับขึ้นมาเป็น[[พระเจ้าคังจง]] พระราชวงศ์จึงได้นิวัติพระราชวัง พระเจ้าคังจงอยู๋ในราชสมบัติได้สองปีก็สวรรคต พระโอรสจึงขึ้นครองราชย์ต่อเป็นพระเจ้าโคจง
 
พระเจ้าโคจงนั้นเช่นเดียวกับพระบิดาและพระอัยกี คือทรงเป็นเพียงกษัตริย์หุ่นเชิดสำหรับผู้นำเผด็จการทหารชเวชุงฮอน เมื่อชเวชุงฮอนเสียชีวิตในค.ศ. 1219 บุตรชายชเวอูชเวอู (최우, 崔瑀) ก็ก้าวขึ้นมามีอำนาจต่อจากบิดา
{{main|การรุกรานเกาหลีของมองโกล}}
ต้นศตวรรษที่ 13 เป็นช่วงเวลาแห่งการขยายอำนาจของมองโกล ในค.ศ. 1225 [[ออเกอเดย์ข่าน]] (Ögedei Khan) ส่งฑูตมาเรียกร้องบรรณาการจากโครยอ แต่พูตมองโกลถูกลอบสังหารอย่างปริศนา<ref>Jae-un Kang, Jae-eun Kang, Suzanne Lee. ''The land of scholars: two thousand years of Korean Confucianism''.</ref> ออเกอเดย์ข่านจึงแก้แค้นเกาหลีโดยการส่งแม่ทัพซาร์ไต (Sartai) ยกทัพมองโกลมาบุกเกาหลีในค.ศ. 1231 รุกข้ามแม่น้ำยาลูมาอย่างรวดเร็วและยึดเมืองอีจู (의주, 義州) ได้ ชเวอูจึงระดมพลเกาหลีไปรบกับมองโกลที่เมืองอันจู (안주, 安州) และคูซอง (구성, 龜城) ซาร์ไตยึดเมืองอันจูได้แต่พ่ายแพ้ทัพเกาหลีที่คูซอง ทัพมองโกลนั้นมีความรวดเร็วสามารถยึดเมือง[[แคซอง]]ได้ในค.ศ. 1232 ด้วยความช่วยเหลือของฮงบกวอน (홍복원, 洪福源) ขุนนางเกาหลีที่ไปเข้ากับมองโกล ราชสำนักเกาหลีต้องยอมเสียเงินทองผ้าไหม รวมทั้งม้าและทาสให้กับมองโกลเป็นค่าชดเชย และออเกอเดย์ข่านยังให้ผู้ตรวจการ (darugachi) จำนวน 72 คนอยู่ควบคุมสถานการณ์ในโครยอ
 
แต่ชเวอูก็ได้สั่งให้นำผู้ตรวจการทั้ง 72 คนไปสังหารเสีย แล้วย้ายราชสำนักไปที่เกาะคังฮวา สร้างป้อมปราการแข็งแรงล้อมรอบ ซึ่งแผนการย้ายราชสำนักนี้เป็นที่ต่อต้านของพระเจ้าโคจงและขุนนางฝ่ายพลเรือนทั้งหลาย ที่เห็นว่าไม่ควรจะไปสู้รบกับมองโกลเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่โครยอ ราชสำนักที่เกาะคังฮวานั้นเป็นวังของชเวอูมากกว่าที่จะเป็นพระราชวังของพระเจ้าโคจง<ref>http://www.koreanhistoryproject.org/Ket/C06/E0602.htm</ref> ออเกอเดย์ข่านเห็นว่าการย้ายเมืองหลวงของเกาหลีเป็นการเตรียมรบกับมองโกล จึงส่งทัพมาบุกอีกนำโดยฮงบกวอน (홍복원, 洪福源) ขุนนางเกาหลีที่ไปเข้าพวกมองโกล แต่การบุกในครั้งนี้ไม่ประสบความสำเร็จเพราะชาวบ้านร่วมมือกันต้านทานและแม่ทัพซาร์ไตถูกลอบสังหารโดยพระภิกษุชื่อว่าคิมยุนฮู
 
ค.ศ.1232 (พ.ศ. 1775) ทรงย้ายเมืองหลวงจาก[[เมืองซองโด]]ไปอยู่[[เกาะคังฮวา]] โดยหวังว่าจะปลอดภัยจากทัพ[[มองโกล]] ค.ศ.1251 (พ.ศ. 1794) ในสมัยของพระองค์ได้มีรับสั่งให้ช่างแกะสลักไม้เป็นเรื่อง[[พระไตรปิฎกฉบับเกาหลี]]ที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนมากมายถึง 81,000 ประกอบด้วยกรอบเสร็จสมบูรณ์ที่งดงาม พระองค์หวังว่างานเรื่องนี้จะมีมณต์ขลังช่วยให้[[มองโกล]]เลิกบุก[[ราชวงศ์โครยอ]] แต่ในภายหลังนั้นทัพ[[มองโกล]]ได้บุกโจมตี[[ราชวงศ์โครยอ]]ครั้งใหญ่ สามารถยึด[[เมืองซองโด]]ได้และ[[กุบไลข่าน]] ได้ถอดพระเจ้าโคจงออกจากตำแหน่งพระจักรพรรดิแห่งโครยอ แล้วให้[[พระเจ้าวอนจง]]ขึ้นครองราชย์ต่อไป
 
ทัพมองโกลยังคงอยู่ในเกาหลีต่อมา เกาหลีกลายเป็นดินแดนไร้ขื่อแปมีแต่ทัพมองโกลบุกปล้นสะดมบ้านเมือง ขณะที่ราชสำนักก็หลบซ่อนอยู่ที่เกาะคังฮวา ในค.ศ. 1236 พระเจ้าโคจงมีพระราชโองการให้จัดพิมพ์[[พระไตรปิฏกภาษาเกาหลี]] (Tripitaka Koreana) ขึ้นมาเพื่อทดแทนของเดิมที่ถูกมองโกลทำลายและทรงเชื่อว่าการทำเช่นนี้จะทำให้ได้บุญและโครยอจะรอดพ้นจากการรุกรานของมองโกล เมื่อออเกอเดย์ข่านเสียชีวิตในค.ศ. 1241 การรุกรานของมองโกลก็อ่อนแอลงไป ชเวอูเสียชีวิตในค.ศ. 1249
 
ในค.ศ. 1251 มองเกข่าน (Mongke Khan) ข่านคนใหม่ของมองโกล ได้เรียกร้องให้พระเจ้าโคจงย้ายกลับมาประทับที่เมืองแคซอง มองเกข่านส่งจาแลร์ไต (Jalairtai) ยกทัพมองโกลเข้ามาบุกโครยออีกครั้ง จนพระเจ้าโคจงต้องทรงยอมจำนน ย้ายกลับมาประทับที่แคซอง แต่ชเวฮังบุตรชายของชเวอูและผู้นำทหารต่อจากบิดายังคงอยู่ที่เกาะคังฮวา มองเกข่านเห็นว่าเกาหลียังไม่นอบน้อมเพราะผู้นำเผด็จการทหารจึงต้องการนำตัวชเวฮังมาลงโทษ จาแลร์ไตบุกเกาหลีอีกครั้งในค.ศ. 1254 ซึ่งเป็นครั้งที่รุนแรงที่สุดมีความเสียหายมากที่สุด<ref>http://www.koreanhistoryproject.org/Ket/C06/E0604.htm</ref>