ผลต่างระหว่างรุ่นของ "Session Initiation Protocol"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Suriyun (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Suriyun (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 11:
ในการส่งสัญญาณมีเดีย SIP จะต้องทำงานร่วมกับ[[โพรโทคอล]]อื่นๆในการส่งสัญญาณ แต่ SIP เท่านั้นที่จะถูกใช้เป็นตัวเริ่มต้นการสื่อสาร (communication session) โดยปกติ SIP ฝั่งลูกข่าย (client) จะใช้[[โพรโทคอล]] TCP หรือ UDP พอร์ตหมายเลข 5060 หรือ 5061 ในการเชื่อมต่อกับเครื่องแม่ข่าย (server) หรือ SIP endpoint โดยพอร์ตหมายเลข 5060 จะใช้ในการส่งสัญญาณแบบไม่เข้ารหัส (non-encrypted signaling traffic) ส่วนพอร์ตหมายเลข 5061 จะใช้ในกรณีที่มีการส่งสัญญาณแบบเข้ารหัส และจะทำงานร่วมกับ Transport Layer Security (TLS) อีกที โดยหลักๆแล้ว SIP จะทำหน้าที่ติดต่อหรือยกเลิกการส่งสัญญาณเสียงหรือภาพวิดีโอ ซึ่งในโปรแกรมประยุกต์หลายชนิดจะใช้ SIP ในการส่งข้อมูลมิเดียเช่น โปรแกรม instant messaging ที่สามารถส่งภาพและเสียงพร้อมกันได้ นอกจากนี้ยังมีเอกสารหลากหลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับ SIP ซึ่งถูกประกาศโดย [[IETF]] เช่น Real-time Transport Protocol (RTP), Session Description Protocol (SDP) โดย SDP จะถูกใช้ร่วมกับ SIP สำหรับการทำข้อตกลง (negotiate) รูปแบบตัวแปรที่ใช้ในการเชื่อมต่อข้อมูลมิเดีย เช่น หมายเลขพอร์ต , [[โพรโทคอล]], การเข้ารหัสสัญญาณมิเดีย (codecs) โดยข้อมูลของ SDP เหล่านี้จะถูกส่งภายใต้ข้อมูลของ SIP packet body อีกที
 
เป้าหมายในการออกแบบ[[โพรโทคอล]] SIP ก็เพื่อใช้เป็นมาตราฐานในการเริ่มต้นการส่งสัญญาณโทรศัพท์ (signaling and call setup protocol) บนเครือข่ายแบบ IP-based และสามารถทำงานร่วมกับ public switched telephone network (PSTN) ที่มีอยู่เดิมได้ทันที และ SIP ถูกออกแบบมาโดยอ้างอิงถึงการเชื่อมต่อกันระว่าง proxy server และ user agents เพื่อให้มีลักษณะคล้ายกับการทำงานของโทรศัพท์มากที่สุด เช่น การส่งหมายเลข (dialing a number), การส่งสัญญาณกระดิ่ง (ringing), การส่งสัญญาญรอการเชื่อมต่อ (ring back) และการส่งสัญญาณสายไม่ว่าง (busy tone)
 
[[โพรโทคอล]] SIP ยังเพิ่มความสามารถพิเศษให้กับ[[โพรโทคอล]] Signaling System 7 (SS7) อีกด้วย ถึงแม้ทั้งสอง[[โพรโทคอล]]จะทำงานแตกต่างกันมาก เพราะ SS7 เป็น[[โพรโทคอล]]ที่ทำงานอยู่บนแกนกลางของระบบเครือข่ายที่เชื่อมต่อกับเครื่องลูกข่ายจำนวนมาก ซึ่งจะแตกต่างกับ SIP ที่เป็น[[โพรโทคอล]]ที่ทำงานแบบ peer-to-peer ที่ทำงานระหว่าง endpoint กับ endpoint
บรรทัด 17:
ถึงแม้ว่าจะมี[[โพรโทคอล]]หลากหลายที่ใช้งานบน VoIP signaling protocols แต่ SIP ยังเป็นที่นิยมในการสื่อสารแบบ IP community มากกว่า telecommunications industry นอกจาก SIP แล้วยังมี[[โพรโทคอล]] H.323 ของ International Telecommunication Union (ITU) ที่ทำงานลักษณะเดียวกันอีกด้วย
 
เอกสารการทำงานของ SIP เวอร์ชั่น 2.0 ประกาศครั้งแรกใน [http://tools.ietf.org/html/rfc2543 RFC 2543] และถูกปรับปรุงอีกครั้งใน [http://tools.ietf.org/html/rfc3261 RFC 3261]
 
{{โครง}}