ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตะพาบม่านลาย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 25:
ตะพาบตัวเมียจะขึ้นมาวางไข่บนหาดทรายริมแหล่งน้ำ โดยขุดหลุมลึก 40-50 เซนติเมตร ออกไข่เสร็จแล้วจะปิดทรายไว้ปากหลุมทิ้งไว้ประมาณ 2 เดือน ไข่จะฟักออกเป็นตัว ลูกตะพาบจะวิ่งหาลงน้ำ และหาอาหาร ซึ่งได้แก่ ลูกปลา ลูกกุ้งและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร เลี้ยงตัวจนถึงวัยเจริญพันธุ์ โดยพฤติกรรมในธรรมชาติจะฝังตัวอยู่ใต้ทรายในพื้นน้ำ โผล่มาแต่เฉพาะตาและจมูกเท่านั้น และจะหาเหยื่อด้วยวิธีการซุ่มนี้
 
สถานภาพปัจจุบันไม่พบรายงานในธรรมชาติมานานเป็นระยะเวลากว่า 30 ปีแล้ว จนเชื่อได้ว่าอาจสูญพันธุ์ไปแล้วจากแหล่งธรรมชาติ เนื่องจากถูกล่าเป็นอาหารและสัตว์เลี้ยงอย่างมาก รวมทั้งถูกคุกคามในเรื่องที่อยู่อาศัยในธรรมชาติด้วย และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า [[พ.ศ. 2535]] แต่ปัจจุบัน [[กรมประมง]]สามารถเพาะขยายพันธุ์ตะพาบม่านลายได้สำเร็จในที่เลี้ยงได้แล้วในปี [[พ.ศ. 2545]] โดยให้[[ผสมพันธุ์]]ในน้ำและขึ้นมาวางไข่บนหาดทรายใน[[ฤดูหนาว]]ช่วงเดือน[[ธันวาคม]]-[[กุมภาพันธ์]] ตะพาบม่านลายอัตราการเจริญเติบโตเทียบกับ[[เต่า]]หรือตะพาบชนิดอื่นแล้ว นับว่ามีอัตราการเจริญเติบโตที่ช้ากว่ามาก
 
และในต้นปี [[พ.ศ. 2553]] แม่พันธุ์ตะพาบม่านลายของกรมประมงก้ได้วางไข่สูงสุดถึง 305 ฟอง ซึ่งนับว่ามากสุดเท่าที่เคยมีมา ใช้เวลาฟัก 61-70 วัน โดยฟักเป็นตัวทั้งหมด 92 ฟอง คิด เป็นอัตราการฟักประมาณ 30 [[เปอร์เซนต์]] ซึ่งทางกรมประมงตั้งเป้าหมายจะเพาะขยายพันธุ์ให้มากขึ้นกว่านี้เพื่อจะได้ปล่อยลูกตะพาบลงสู่ธรรมชาติ เพื่อมิให้เกิดการสูญพันธุ์<ref>[http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=340&contentID=77987 เพาะพันธุ์ตะพาบม่านลายได้ยอดทะลุเป้า ]จาก[[เดลินิวส์]] [[วันพฤหัสบดี]]ที่ [[15 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2553]]</ref>
ตะพาบม่านลายยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกว่า กริวลาย, กราวด่าง, ม่อมลาย, มั่มลาย เป็นต้น
 
นอกจากนี้แล้ว ตะพาบม่านลายยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกว่า กริวลาย, กราวด่าง, ม่อมลาย, มั่มลาย เป็นต้น
 
อนึ่ง ตะพาบม่ายลายยังมี[[สปีชีส์|ชนิด]]ที่แยกไปอีก 2 ชนิด โดยพบที่[[อินเดีย]]มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''C. indica'' (โดยที่อดีตตะพาบม่านลายชนิดนี้ก็ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ร่วมกับชนิด ''C. indica'') และชนิดที่พบใน[[พม่า]] มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''C. vandijki''
เส้น 33 ⟶ 35:
==อ้างอิง==
*[http://www.scitour.most.go.th/index.php?option=com_content&task=view&id=527&Itemid=1 ตะพาบม่านลาย]
*{{รายการอ้างอิง}}
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==