ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เงินยาง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
{{ประวัติศาสตร์ไทย}}
หลังจาก[[เวียงเชียงแสน|เวียงปรึกษา]]ได้ปกครองพื้นที่แถวๆนั้นได้ 93 ปี ก็เป็นอันอวสานของเวียง เนื่องจากเมื่อปี [[พ.ศ. 1181]] [[พระยากาฬวรรณดิศราช]] หรือ [[พญาอนิรุทธ]] กษัตริย์ แห่ง[[ทวารวดี]]ได้เสด็จขึ้นมาสนับสนุน[[พญาลวจักรราช]] ผู้มีเชื้อสายของ[[ปู่เจ้าลาวจก]] หรือผู้ที่ขาย[[ดอยตุง]]ให้[[นครโยนกนาคพัน]] สร้าง[[พระธาตุดอยตุง]] ขึ้นเป็นกษัตริย์ ของเวียงปรึกษา [[พญาลวจักรราช]] จึงตั้งชื่อให้ราชวงศ์ใหม่ของพระองค์นี้ว่า [[ราชวงศ์ลวจักรราช]] หรือ [[ราชวงศ์ลาว]]
 
หลังจากขึ้นครองราชเป็นกษัตริย์ พระองค์จึงทรงเปลี่ยนนาม จากเวียงปรึกษา เป็น'''เมืองหิรัญนคร ''' โดยมีศูนย์กลางอยู่แถวๆแถบแม่น้ำสาย และดอยตุง ในเขต[[อำเภอแม่สาย]] [[จังหวัดเชียงราย]]
หลังจากนั้นในสมัย[[พระเจ้าลาวเคียง]] พระองค์ได้สร้าง'''เมืองเงินยาง''' หรือ '''เมืองเชียงแสน''' หรือตรงเวียงเชียงแสนในปัจจุบัน และย้ายเข้าไปปกครองที่นั่น มีกษัตริย์ปกครองสืบเนื่องมาอีกถึง 621 ปี รวม 24 รัชกาล
 
ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เกิดขึ้นเมื่อ [[พระยาลาวเมง]] พระบิดาของ [[พญามังราย]] สร้างเมืองเชียงราย และ พญามังรายขึ้นครองราชเป็นกษัตริย์ พระองค์ที่ 25 ของหิรัญนครเงินยางเชียงแสนในปี [[พ.ศ. 1805]] พระองค์ทรงมีแนวพระราชดำริ่จะรวบรวมแคว้นน้อยใหญ่ในอาณาบริเวณเดียวกันให้เป็นปึกแผ่น
 
เมื่อพระองค์ได้ทรงขึ้นครองราช พระองค์ก็ได้โปรดให้เมืองเชียงราย เป็นราชธานีแห่งใหม่ เป็นการสิ้นสุด[[ราชวงศ์ลวจักรราช]] แห่ง หิรัญนครเงินยาง เริ่มต้น [[ราชวงศ์มังราย]] แห่ง[[อาณาจักรล้านนา]]
 
== พระยาลวจักรราช ==
 
[[พระยาลวจักรราช]] นั้น คาดว่าเดิมมีอำนาจอยู่ในเมืองเชียงลาว บริเวณ[[ดอยตุง]] และ [[แม่น้ำสาย]] ต่อมาจึงได้ขยายมาสู่เมืองเงินยาง หรือเงินยัง ซึ่งตั้งอยู่ริม[[แม่น้ำโขง]]
พระองค์ มีราชบุตร ๓ พระองค์ ได้แก่ ลาวครอบ ลาวช้าง และ ลาวเก๊าแก้วมาเมือง
โดยให้บุตรของพระองค์ครองเมืองดังนี้