ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ScorpianPK (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
'''พระยาประสานดุริยศัพท์''' (แปลก ประสานศัพท์) เป็นบุตรคนโตของ[[ขุนกนกเรขา]] (ทองดี) กับนางนิ่ม เกิดเมื่อ
วันที่ [[4 กันยายน]] [[พ.ศ. 2403]] ตรงกับวันอังคาร ณ บ้านเลขที่ 81 ตรอกไข่ ถนนบำรุงเมือง ตำบลหลังวัดเทพธิดา [[กรุงเทพมหานคร]]
 
ท่านได้เรียนปี่ชวากับครูชื่อ “หนูดำ” ส่วนวิชาดนตรีปี่พาทย์อย่างอื่น ได้ศึกษาอย่างจริงจังกับครูช้อย สุนทรวาทิน (บิดาของ[[พระยาเสนาะดุริยางค์]]) จนบรรลุแตกฉาน ท่านเข้ารับราชการ ตั้งแต่เมื่อ[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงพระยศเป็นพระยุพราช ได้ทูลขอพระราชทานบรรดาศักดิ์จาก[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่]]หัวให้นายแปลกเป็นที่ “[[ขุนประสานดุริยศัพท์]]" นับจากนั้นก็ได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์มาเป็นลำดับ จนได้เป็นที่ “พระยาประสานดุริยศัพท์” เจ้ากรมปี่พาทย์หลวง ในสมัยรัชกาลที่ 6
 
ความรู้ความสามารถของพระยาประสานดุริยศัพท์นั้น เป็นที่กล่าวขวัญเรื่องลือว่า ท่านเป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วยฝีมือ ความรู้ ปฏิภาณ ไหวพริบ ท่านเป็นครู และเป็นศิลปินที่หาได้ยากยิ่ง เมื่อปี [[พ.ศ. 2428]] ท่านได้รับเลือกให้ไปร่วมฉลองครบรอบร้อยปีของพิพิธภัณฑ์เมืองอวิมปลีย์ที่วิมปลีย์ที่[[ประเทศอังกฤษ]]ผลของการบรรเลงขลุ่ยของท่านเป็นที่พอพระราชหฤทัยของ[[สมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรีย]]เป็นอย่างยิ่งถึงกับรับสั่งขอฟังเพลงขลุ่ยเป็นการส่วนพระองค์ใน[[พระราชวังบัคกิ้งแฮมบัคกิ้งแฮม]]อีกครั้ง การบรรเลงครั้งหลังนี้[[สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย]]ทรงลุกจากที่ประทับและใช้พระหัตถ์ลูบคอพระยาประสานฯพร้อมทั้งรับสั่งถามว่า เวลาเป่านั้นหายใจบ้างหรือไม่ เพราะเสียงขลุ่ยดังกังวานอยู่ตลอดเวลา
 
พระยาประสานดุริยศัพท์ได้แต่งเพลงไว้ดังนี้คือ เพลงเชิดจั่น 3 ชั้น พม่าหัวท่อน เขมรราชบุรี [[ลาวคำหอม]] [[ลาวดำเนินทราย]] เขมรทรงดำเนิน (เขมรกล่อมพระบรรทม) เขมรปากท่อ เขมรใหญ่ ดอกไม้ไทร ถอนสมอ ทองย่อน เทพรัญจวน นารายณ์แปลงรูป แมลงภู่ทอง สามไม้ใน อาถรรณ์ คุณลุงคุณป้า พราหมณ์เข้าโบสถ์ ธรณีร้องไห้ มอญร้องไห้ แขกเห่ อนงค์สุดา วิเวกเวหา แขกเชิญเจ้าย่องหวิด 3 ชั้น เป็นต้น
ความสามารถทางดนตรีของท่านนั้น ทำให้ท่านมีลูกศิษย์ที่มีความสามารถเป็นทวีคูณขึ้นไป และศิษย์ของท่านเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปคือ
[[พระประดับดุริยกิจ]] (แหยม วิณิณ) [[พระเพลงไพเราะ]] (โสม สุวาทิต) [[หลวงประดิษฐไพเราะ]] (ศร ศิลปบรรเลง) [[หลวงบรรเลงเลิศเลอ]] (กร กรวาทิน) [[พระยาภูมิเสวิน]] (จิตร จิตตเสรี) อาจารย์มนตรี ตราโมท ครูเฉลิม บัวทั่ง เป็นต้น
พระยาประสานดุริยศัพท์ ป่วยโดยโรคชรา และถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้ 65 ปี เมื่อวันที่ [[5 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2467]]