ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วังลดาวัลย์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Cbarlee (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น พร้อมแนบไฟล์ภาพ
Cbarlee (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''วังลดาวัลย์''' ตั้งอยู่ติดถนน 3 ด้าน คือ [[ถนนประชาธิปไตย]] [[ถนนลูกหลวง]]และ[[ถนนราชสีมา]] ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ[[สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์]] สร้างขึ้นเมื่อ [[พ.ศ. 2449]] ตามพระราชประสงค์ของ [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เป็นที่ประทับของ[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศร์]] (ต้นราชสกุลยุคล) เมื่อคราวใกล้จะสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ โดยพระราชทานนาม “วังลดาวัลย์” ตามพระนามเดิมของกรมหมื่นภูมินทรภักดี (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลดาวัลย์) ผู้เป็นเสด็จตาของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพรฯ โดยมี[[พระสถิตย์นิมานการ]] เจ้ากรมโยธาธิการ เป็นผู้จัดการเรื่องแปลน ซึ่งขณะนั้นกรมโยธาธิการได้จ้างช่างชาวต่างประเทศออกแบบพระที่นั่ง พระตำหนัก ตำแหน่งและอาคารต่าง ๆ ฉะนั้น ตำหนักหลังนี้คงออกแบบโดยนายช่างชาวต่างประเทศ โดยมีนาย[[จี บรูโน]] เป็นผู้รับเหมาการก่อสร้าง
 
[[ไฟล์:Example.jpg]] [[ไฟล์:Example.jpg]]
 
ลักษณะเป็นตำหนักก่ออิฐถือปูน มีความสูง 2 ชั้น ตำหนักชั้นล่างมีเครื่องตกแต่งเป็นแบบฝรั่ง ได้แก่ [[ประติมากรรม]][[หินอ่อน]]รูป[[พระนางมารี]]และพระบุตร ชานพักบันไดเป็นหน้าต่างติดตาย ตอนบนเป็นช่องแสงโค้งครึ่งวงกลม ตอนล่างติดกระจกสีเป็นลายดอกไม้ ชั้นบนตกแต่งเป็นแบบจีน ได้แก่รูปเขียนที่ชานพักบันได ภายในห้องโถงกลางตั้งชุดรับแขกแบบจีน ห้องพระซึ่งประดิษฐาน[[พระพุทธรูป]]ในตู้ไม้แบบจีน ลงรักปิดทองทั้งตู้ บานตู้เขียนลายเรื่อง[[พระพุทธประวัติ]]ที่งดงามมาก มุขด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นหอคอยมีบันไดเวียนขึ้นไปชั้นสาม ซึ่งเป็นหอประดิษฐานพระบรมอัฐิของสมเด็จพระบูรพกษัตริยาธิราชตามแบบฉบับของตำหนักที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5