ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อริยบุคคล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
{{พุทธศาสนา}}
'''อริยบุคคล''' แปลว่า ''บุคคลผู้ประเสริฐ, ผู้ไกลจากข้าศึก, ผู้หักกำล้อ[[สังสารวัฏ]]ได้แล้ว''แบ่งได้หลายประเภทคือแบ่งอย่างใหญ่ได้เป็น พระเสขะและพระอเสขะ แบ่งตามประเภทบุคคลมี 4 ประเภทคือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ และยังแบ่งย่อยเป็น 8 ประเภท จัดเป็น 4 คู่ได้อีก
 
'''== อริยบุคคล''' แบ่งตามประเภทใหญ่ มี 2 คือ==
===เสขะ===
1. '''พระ[[เสขะ]]''' คือคือพระผู้ยังต้องศึกษา[[ไตรสิกขา]]เพิ่มขึ้นต่อไปอีกจนกว่าจะสำเร็จ
 
===อเสขะ===
'''อเสขะ''' แปลว่า ผู้ไม่ต้องศึกษาอีก คือไม่ต้องศึกษา[[ไตรสิกขา]] คือ[[อธิศีล]] [[อธิสมาธิ]] [[อธิปัญญา]]อีกต่อไป เพราะได้ศึกษาจบโดยได้บรรลุ[[อรหันตผล]]แล้ว เรียกเต็มว่า '''พระอเสขะ''' หรือ [[อเสขบุคคล]] '''อเสขะ''' ได้แก่[[พระอริยบุคคล]]ระดับสูงสุดคือ[[พระอรหันต์]] ผู้เสร็จกิจการศึกษาไตรสิกขาแล้ว ผู้ไม่มีกิจที่จะต้อง[[บำเพ็ญ]]เพื่อละ[[กิเลส]]อีก
 
1. '''พระ[[เสขะ]]''' คือคือพระผู้ยังต้องศึกษา[[ไตรสิกขา]]เพิ่มขึ้นต่อไปอีกจนกว่าจะสำเร็จ
 
2. '''พระ[[อเสขะ]]''' คือพระผู้ศึกษาสำเร็จแล้ว เสร็จกิจการศึกษาแล้ว ไม่ต้องศึกษาอะไรต่อไปอีก
 
'''อริยบุคคล''' แบ่งตามประเภทบุคคล มี 4 คือ
 
 
*'''พระ[[โสดาบัน]]''' ละ[[สังโยชน์]]ได้ 3 ประการ ซึ่งผู้บรรลุ[[ธรรม]]ขั้น[[โสดาบัน]]นี้อาจเป็น[[ฆราวาส]]หรือ[[บรรพชิต]]ก็ได้
*'''พระ[[สกทาคามี]]''' ละสังโยชน์ได้ 3 ประการ แต่สามารถทำกิเลสให้เบาบางลงกว่าพระโสดาบัน
*'''พระ[[อนาคามี]]''' ละสังโยชน์ได้ 5 ประการ
*'''พระ[[อรหันต์]]''' ละสังโยชน์ได้ครบ 10 ประการ
 
เส้น 22 ⟶ 23:
*คู่ที่ 4 พระผู้ตั้งอยู่ในอรหันตมรรค.... อรหันตผล
 
== อริยบุคคลแบ่งตามประเภทบุคคล ==
===โสดาบัน===
'''โสดาบัน''' แปลว่า ''ผู้เข้าถึงกระแสธรรม ผู้แรกถึงกระแสธรรม'' (คืออริยมรรค) เป็นชื่อเรียกพระ[[อริยบุคคล]]ประเภทแรกใน ๔ ประเภท คือ โสดาบัน [[สกทาคามี]] [[อนาคามี]] [[อรหันต์]] ผู้ได้บรรลุโสดาปัตติผลแล้วด้วยการละ [[สังโยชน์]] เบื้องต่ำ ๓ ประการได้คือ
# '''สักกายทิฏฐิ''' คือ ความเห็นเป็นเหตุถือตัวตน เช่นเห็นว่ากายนี้ใจนี้เป็นตัวตนของเรา
# '''วิจิกิจฉา''' คือ ความลังเลสงสัย เช่นสังสัยในข้อปฏิบัติของตนว่าถูกต้องหรือไม่ สงสัยในพระรัตนตรัยหรือในอริยสัจ ๔ ว่ามีจริงหรือไม่
# '''สีลัพพตปรามาส''' คือ ความเชื่อถือยึดมั่นว่าความศักดิ์สิทธิ์มีได้ด้วย[[ศีล]]และพรตอย่างนั้นอย่างนี้ ข้อนี้ขยายความได้ว่ารักษาศีลแต่เพียงทางกาย ทางวาจา แต่ใจยังไม่เป็นศีล หรืออย่างน้อยก็ยังไม่เป็นศีลตลอดเวลา
 
ความเป็นพระโสดาบันนี้ก็เช่นเดียวกับความเป็นพระอริยบุคคลประเภทอื่นๆ ที่มิได้จำกัดอยู่เฉพาะเพศบรรพชิต(นักบวช) เท่านั้น แม้ [[คฤหัสถ์]] คือชายหรือหญิงผู้ครองเรือน ก็สามารถเป็นพระโสดาบันได้ เช่น ในสมัยพุทธกาลคฤหัสถ์ที่เป็นพระโสดาบันที่มีชื่อเสียงก็มีจำนวนมากได้แก่ นางวิสาขามหาอุบาสิกา อนาถบิณฑิกเศรษฐี พระเจ้าพิมพิสาร เป็นต้น
 
การเข้าถึงกระแสธรรมของพระโสดาบันนั้น เป็นการยกระดับจิตใจของท่านอย่างถาวร ทำให้ท่านไม่สามารถกลับมาเป็นปุถุชนได้อีก เป็นผู้ที่จะไม่ไปเกิดในอบายภูมิ (เช่น นรก หรือ เดียรฉาน) ทั้งยังเป็นผู้ที่จะบรรลุพระนิพพานในเบื้องหน้าอย่างแน่นอน
===สกทาคามี===
'''สกทาคามี''' หรือ '''สกิทาคามี''' แปลว่า ผู้กลับมาเพียงครั้งเดียว เป็นชื่อเรียกพระ[[อริยบุคคล]]ลำดับที่ ๒ ใน ๔ ประเภท ที่เรียกว่า "ผู้กลับมาเพียงครั้งเดียว" หมายถึง พระสกิทาคามีจะเกิดในกามาวจรภพอีกเพียงครั้งเดียวเท่านั้นก็จะถึงพระนิพพา ผู้ได้บรรลุสกทาคามิผลคือผู้ที่ละ[[สังโยชน์]] เบื้องต่ำ ๓ ประการแรกได้เช่นเดียวกับพระ[[โสดาบัน]] อีกทั้งทำสังโยชน์เบื้องต่ำอีกสองประการที่เหลือให้เบาบางลงด้วยคือ
* กามราคะ หมายถึง ความพอใจในกาม คือ การความเพลินในการได้เสพ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์ ที่น่าพอใจ
* ปฏิฆะ หมายถึง ความกระทบกระทั่งในใจ คล้ายความพยาบาทอย่างละเอียด
หากสังโยชน์เบื้องต่ำทั้งสองประการนี้หมดไปก็จะเป็นพระอนาคามี
===อนาคามี===
'''อนาคามี''' แปลว่า ''ผู้ไม่มาเกิดอีก'' หมายความว่าจะไม่กลับมาเกิดในกามาวจรภพอีก แต่จะเกิดใน [[พรหมโลก]] อีกเพียงครั้งเดียว แล้วจะนิพพานจากพรหมโลกนั้นเลย เป็นชื่อเรียกพระอริยบุคคลประเภทที่ ๓ ใน ๔ ประเภท คือ [[โสดาบัน]] [[สกทาคามี]] อนาคามี [[อรหันต์]] เป็นผู้ละ[[สังโยชน์]]เบื้องต่ำ (โอรัมภาคิยสังโยชน์) ทั้ง ๕ ประการได้แล้ว ยังเหลือสังโยชน์เบื้องสูง (อุทธัมภาคิยสังโยชน์) อีก ๕ ประการ คือ
# รูปราคะ หมายถึง ความพอใจในรูปฌาน หรือ รูปธรรมอันประณีต หรือ ความพอใจในรูปภพ
# อรูปราคะ หมายถึง ความพอใจในรูปฌาน หรือ พอใจในอรูปธรรม เช่น ความรู้ เป็นต้น หรือ ความพอใจในอรูปภพ
# มานะ หมายถึง ความสำคัญตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่ เช่น เป็นพระอนาคามี (แม้ว่าจะเป็นจริงๆ) เป็นต้น
# อุทธัจจะ คือ ความฟุ้งของจิต
# อวิชชา คือ ความไม่รู้แจ้ง
อนึ่งพึงเข้าใจว่า แม้สังโยชน์เบื้องสูงบางข้อจะมีชื่อเหมือนกิเลสอย่างหยาบที่ยังมีในปถุชน (ผู้ยังไม่เป็นบรรลุเป็นพระอริยบุคคล) เช่น มานะ อุทธัจจะ หรือ อวิชชา แต่สังโยชน์เบื้องสูงอันเป็นกิเลสที่ยังหลงเหลืออยู่ในจิตใจของพระอนาคามีนั้น เป็นกิเลสที่ละเอียดกว่าของปถุชนอย่างมาก
==อ้างอิง==
* [[พระธรรมกิตติวงศ์]] (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ [[ราชบัณฑิต]] ''พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด '''คำวัด,''' '' [[วัดราชโอรสาราม]] กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548