ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เหตุการณ์ นปช. ปะทะกับกลุ่มพันธมิตรฯ 2 กันยายน พ.ศ. 2551"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nuttapol sk131 (คุย | ส่วนร่วม)
เหตุการณ์ นปก. ปะทะกับกลุ่มพันธมิตรฯ 2 กันยายน พ.ศ. 2551 ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น [[เหตุการณ์ นปช. ปะท...
Nuttapol sk131 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''เหตุการณ์ นปก.ปะทะกับกลุ่มพันธมิตรฯ 2 กันยายน พ.ศ. 2551''' เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันที่ [[2 กันยายน]] [[พ.ศ. 2551]] เป็นการปะทะกันระหว่าง[[แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่ต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ]] (นปกนปช.) และกลุ่ม[[พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย]] บริเวณ[[แยก จปร.]] เป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บ 40 คน เสียชีวิต 1 คน<ref>[http://politics.spiceday.com/viewthread.php?tid=9913 นปกนปช.ปะทะพธม เจ็บ 40 สมัครฯ ประกาศภาวะฉุกเฉิน]</ref> ทำให้ [[สมัคร สุนทรเวช|นายสมัคร สุนทรเวช]] นายกรัฐมนตรี ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่[[กรุงเทพมหานคร]] ส่งผลให้ห้ามมีการชุมนุมเกิน 5 คน ห้าม[[สื่อมวลชน]]นำเสนอข่าวที่กระทบต่อความมั่นคง หรือทำให้ประชาชนหวาดกลัว<ref>[http://news.sanook.com/politic/politic_301639.php นายกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในกทม.]</ref> และในวันที่ [[14 กันยายน]] [[สมชาย วงศ์สวัสดิ์|นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์]] รักษาการนายกรัฐมนตรี ประกาศยกเลิก[[สถานการณ์ฉุกเฉิน]]และมีผลในวันเดียวกัน<ref>[http://tnews.teenee.com/politic/26783.html เลิกพรก.ฉุกเฉิน ตั้งอนุพงษ์ ตามสถานการณ์]</ref>
 
== ลำดับเหตุการณ์ ==
บรรทัด 25:
 
=== [[30 สิงหาคม]] ===
เมื่อเวลา 17.00 น. [[แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่ต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ]] (นปกนปช.) ได้เคลื่อนไหวต่อต้านกลุ่ม[[พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย]] โดยเปิดเวทีปราศรัยที่[[ท้องสนามหลวง]] บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีผู้เข้าร่วมหลายพันคน ส่วนใหญ่ใส่เสื้อ[[สีแดง]] หรือมีผ้าพันคอ[[สีแดง]]เป็นสัญลักษณ์
 
เวลา 19.45 น. แกนนำกลุ่ม นปกนปช.ได้ขออาสาสมัครชายจำนวน 200 คน โดยระบุว่าต้องการนำคนไปเคลื่อนไหวในวันที่ [[31 สิงหาคม]]<ref>[http://tnews.teenee.com/politic/26396.html ประกาศศึก! เนวิน ฟื้น นปกนปช. ยึดสนามหลวงประจัญหน้า พันธมิตร หนุน หมัก หนึบเก้าอี้นายกฯ]</ref>
 
=== [[2 กันยายน]] ===
บรรทัด 37:
เวลา 00.10 น. กลุ่ม นปช.ที่สวมสวมเสื้อแดงบ้างหรือโพกผ้าแดง ตั้งขบวนโดยให้ชายฉกรรจ์ขับขี่รถจักรยานยนต์นำหน้าบีบสัญญาณแตรตลอดเส้นทาง ตามด้วยกลุ่มชายฉกรรจ์เดินเท้ากลุ่มใหญ่จากนั้น เป็นรถบรรทุก 6 ล้อ ขับตามหลัง 2 คัน บนรถมีนายวิภูแถลงเคลื่อนขบวนจากสนามหลวงไปตามถนนราชดำเนิน ปิดท้ายด้วยกลุ่ม นปช. เดินตามหลัง ซึ่งระหว่างทางกลุ่มชายฉกรรจ์ได้ถอดป้ายหาเสียงของนาย[[อภิรักษ์ โกษะโยธิน]] ที่ติดอยู่ออกด้วย<ref>[http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1220370267 ลำดับฉาก เหตุปะทะเดือด "พันธมิตร-นปช." ต้นตอรบ.คลอด "พ.ร.ก.ฉุกเฉิน"]</ref>
 
เมื่อเวลา 00.40 น. [[แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่ต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ]] (นปกนปช.) เคลื่อนพลจากสนามหลวง เพื่อขับไล่ กลุ่ม[[พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย]] ที่ชุมนุมยึด[[ทำเนียบรัฐบาล]] โดยใช้เส้นทาง[[ถนนราชดำเนิน]]สู่[[แยก จปร.]] เชิง[[สะพานมัฆวานรังสรรค์]] ฝ่าด่าน[[ตำรวจ]]ที่ตั้งแผงเหล็กมาได้ตลอดเส้นทาง ระหว่างนั้น [[สมศักดิ์ โกศัยสุข|นายสมศักดิ์ โกศัยสุข]] แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ ได้ประกาศบนเวที เพื่อขอกำลังการ์ดอาสาเพิ่ม เนื่องจากทางกลุ่ม นปก.ได้เคลื่อนกำลังเข้ามาจำนวนหลายพันคน พร้อมกับเน้นย้ำให้การ์ดทำหน้าที่อยู่ในพื้นที่เท่านั้น
 
จนเมื่อเวลา 01.10 น. กลุ่ม นปกนปช.เคลื่อนกำลังมาถึงบริเวณร้าน[[ลิขิตไก่ย่าง]] เลย[[สนามมวยราชดำเนิน]]มาเล็กน้อย ได้เกิดการปะทะกันกับฝ่ายพันธมิตรฯ ที่ปักหลักอยู่ฝั่งตรงข้ามของสะพาน และฝ่าแนวกั้นเข้ามา โดยต่างฝ่ายต่างวิ่งเข้าหากัน พร้อมกับมีการปาขวดน้ำ ขวดโซดา ขว้างก้อนหินใส่กัน พร้อมกับมีการถืออาวุธไม้วิ่งไล่ตีกัน ระหว่างที่เกิดการปะทะกันทั้งสองฝ่ายได้เกิดเสียง[[ปืน]]ดังขึ้น 5-6 นัด และเสียงคล้าย[[ระเบิดควัน]]ดังติดต่อกันหลายครั้ง โดย[[กระสุนปืน]]ได้ถูกกลุ่มผู้ชุมนุม นปก.ล้มลงได้รับบาดเจ็บสาหัส 2 ราย เจ้าหน้าที่รีบนำตัวส่ง[[วชิรพยาบาล]]
 
ตั้งแต่เวลา 01.30 น. หลังการปะทะกันบริเวณสะพานมัฆวานฯ หน้า[[อาคารที่ทำการสหประชาชาติ สำนักงานกรุงเทพฯ]] ระหว่างกลุ่มพันธมิตรฯ และกลุ่ม นปกนปช. [[จำลอง ศรีเมือง|พล.ต.จำลอง ศรีเมือง]] ได้ขึ้นกล่าวบนเวทีสั่งระดมการ์ดและผู้ชุมนุมให้ไปตั้งขบวนอยู่ที่หน้าเต้นท์กองทัพธรรม [[ถนนพิษณุโลก]] เพื่อยกกำลังไปช่วยผู้ชุมนุมที่อยู่บริเวณสะพานมัฆวานฯ จากนั้นกลุ่มผู้ชุมนุมนับร้อยพร้อมด้วยอาวุธครบมือ ได้ไปรวมตัวกันที่บริเวณเต้นท์หน้ากองทัพธรรม โดยพล.ต.จำลอง และนายสมศักดิ์ ได้เดินลงมาสั่งการด้วยตัวเอง
 
ต่อมาเมื่อเวลา 02.00 น. [[พัชรวาท วงษ์สุวรรณ|พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ]] ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้เดินทางไปถึงที่เกิดเหตุ พร้อมกับ [[จงรัก จุฑานนท์|พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์]] รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะรักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และ [[สุชาติ เหมือนแก้ว|พล.ต.ต.สุชาติ เหมือนแก้ว]] รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ในฐานะที่ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ควบคุมความสงบเรียบร้อยในการชุมนุม โดยนายตำรวจระดับสูงทั้งหมด ได้หารือกันกันอย่างเคร่งเครียด และได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจส่งกำลังเข้าขัดขวางไม่ให้ผู้ชุมนุมทั้งสองฝ่ายปะทะกันอีกระลอก โดยฝั่งหนึ่งเป็นผู้ชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯ ขณะที่อีกฝั่งหนึ่งเป็นผู้ชุมนุมกลุ่ม นปกนปช. ซึ่งตำรวจที่ตั้งแถวกั้นกลางอยู่มีประมาณ 500 นาย ทั้งหมดมีเพียงโล่พลาสติกเป็นเครื่องป้องกัน ไม่มี[[กระบอง]]หรืออาวุธอื่นใด
 
ช่วงเวลาประมาณ 03.00 น. มีการปะทะกันเล็กน้อย ระหว่างทั้ง 2 กลุ่ม โดยมีการจุดพลุไฟใส่กัน แต่ไม่มีเหตุเกิดขึ้นรุนแรง ส่วนทางด้านสนามม้านางเลิ้ง กลุ่มผู้ชุมนุม นปกนปช. ได้ทำการเคลื่อนย้ายเพื่อตั้งเต็นท์ประมาณ 3-4 เต๊นท์ ซึ่งคาดว่า กลุ่ม นปกนปช.จะทำการปักหลักค้างคืน ณ จุดดังกล่าว
 
เหตุการณ์ล่วงเลยมาจนถึงเวลา 03.40 น. ปรากฏว่าสถานการณ์ยังคงตึงเครียด แม้ว่าผู้ชุมนุมกลุ่ม นปก.จะตั้งเต็นท์ที่หน้า[[กองบัญชาการกองทัพบก]] ในลักษณะปักหลักแล้วก็ตาม แต่ก็ยังเผชิญหน้ากับกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ระดมคนจำนวนมากมาตรึงที่เวทีเชิง[[สะพานมัฆวานรังสรรค์]] ฝั่งหน้า[[กระทรวงศึกษาธิการ]]เช่นกัน โดยพื้นที่ตรงกลางระหว่างทั้งสองกลุ่มนั้น มีกำลังตำรวจและทหารชุดปราบจลาจลตั้งแนวกั้นคุมเชิงเอาไว้ นอกจากนี้ยังพบการปะทะกันย่อย ๆ อีกหลายจุด เช่นที่[[แยกนางเลิ้ง]] และภายในซอยข้าง[[สนามมวยราชดำเนิน]] มีการปา[[ระเบิดเพลิง]]เข้าใส่กัน จนตำรวจต้องเข้าระงับเหตุ แต่ก็ยังไม่สามารถควบคุมสถานการณ์เอาไว้ได้ทั้งหมด
 
จนกระทั่งเวลา 05.00 น. มีรายงานว่า มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ 1 คน คือ นาย[[ณรงศักดิ์ กรอบไธสง]] ผู้ชุมนุมกลุ่ม นปกนปช. และมีผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวน 40 คน ซึ่งทั้งหมดถูกส่งไปรักษาตัวที่[[โรงพยาบาล]]
 
ต่อมาเมื่อเวลา 07.00 น. [[สถานีโทรทัศน์เอ็นบีที]] ได้เผยแพร่การประกาศ[[สถานการณ์ฉุกเฉิน]]ในเขตท้องที่[[กรุงเทพมหานคร]] ที่ลงนามโดย [[สมัคร สุนทรเวช|นายสมัคร สุนทรเวช]] นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เนื่องจากเหตุการณ์เกิดการปะทะกันระหว่าง กลุ่ม นปก. กับกลุ่มพันธมิตรฯ จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก พร้อมกันนี้ในประกาศดังกล่าวได้มีการแต่งตั้ง [[อนุพงษ์ เผ่าจินดา|พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา]] ผู้บัญชาการทหารบก รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและแม่ทัพภาคที่ 1 เป็นรองหัวหน้า นอกจากนี้ยังออกคำสั่งนายกรัฐมนตรี ห้ามชุมนุมเกินกว่า 5 คนในเขต[[กรุงเทพมหานคร]] รวมทั้งห้ามการเสนอข่าวที่อาจกระทบต่อความมั่นคงทั่วราชอาณาจักร
 
หลังจากนั้น กลุ่ม นปกนปช.ได้ถอนการชุมนุมกลับไปที่[[ท้องสนามหลวง]] ก่อนจะนัดรวมตัวที่หน้า[[ศาลากลางจังหวัด|ศาลากลาง]][[จังหวัดสมุทรปราการ]] และยุติการชุมนุมอย่างรวดเร็ว เพื่อปฏิบัติตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่ขณะเดียวกัน ผู้ชุมนุมแนวร่วมกลุ่มพันธมิตรฯ ยังคงปักหลักชุมนุมต่อไป และมิได้ตื่นตระหนกกับการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแต่อย่างใด
 
เมื่อเวลา 10.00 น. ที่[[กองบัญชาการองทัพบก]] [[อนุพงษ์ เผ่าจินดา|พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา]] ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ตาม พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ได้เรียกหน่วยงานด้านความมั่นคงและหัวหน้าส่วนราชการต่างๆ รวม 20 องค์กร ร่วมหารือเพื่อแก้ไขสถานการณ์การชุมนุมที่มีการปะทะกันระหว่าง[[กลุ่มพันธมิตรฯ]] และกลุ่ม [[นปก.]] เช่น [[พัชรวาท วงษ์สุวรรณ|พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ]] ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ [[ประยุทธ์ จันทร์โอชา|พล.ท.ประยุทธ์ จันทร์โอชา]] แม่ทัพภาคที่ 1 ในฐานะรองหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน [[สุรพล เผื่อนอัยการ|พล.ท.สุรพล เผื่อนอัยการ]] เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) [[จงรัก จุฑานนท์|พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์]] รองผบ.ตร. ในฐานะรักษาการ ผบช.น. โดยใช้เวลาในการประชุมเกือบ 4 ชั่วโมง
บรรทัด 71:
{{พธม.}}
{{วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2552}}
{{เรียงลำดับ|หเตุการณ์ นปกนปช.ปะทะกับกลุ่มพันธมิตรฯ 2 กันยายน พ.ศ. 2551}}
[[หมวดหมู่:เหตุการณ์ในประเทศไทย]]
[[หมวดหมู่:พ.ศ. 2551]]