ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาณาจักรเขมร (จตุมุข)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 12:
บังเอิญว่า สมเด็จพระธรรมราชาธิราชฯ มีพระราชมารดาเป็นชาวอยุธยา และรู้จักกับพระยาเดโช ข้าราชการทางฝ่ายกรุงศรีฯ พระยาเดโชได้กราบทูลขอพระเจ้ากรุงศรีอยุธยา ([[สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ]]) ให้ส่งทัพมาช่วยปราบขบถในอาณาจักรเขมร ทัพกรุงศรีฯจึงบุกเข้ามาในเขมรในพ.ศ. 2011 ตีทัพของทั้งพระศรีราชาและพระศรีสุริโยไทยแตกพ่าย จับองค์กษัตริย์เขมรทั้งสองกลับไปกรุงศรีอยุธยา เหลือเพียงพระธรรมราชาธิราชฯเป็นเอกกษัตริย์แห่งกัมพูชาต่อไป
 
พระธรรมราชาธิราชฯมีพระโอรสกับพระอรรคมเหสี คือ สมเด็จเจ้าพระยางามขัตติยราช และมีพระโอรสกับพระสนมคือ เจ้าพระยาจันทราชา เมื่อพระธรรมราชาธิราชฯสวรรคตแล้ว สมเด็จเจ้าพระยางามขัตติยราชก็ขึ้นครองราชสมบัติต่อเป็น สมเด็จพระศรีสุคนธบทฯ ทรงย้ายราชธานีไปที่เมืองปาสาณ ครองราชย์ได้ 9 พรรษาก็ทรงถูกพระเจ้าบุตรเขย ขุนหลวงสมุหเสนาบดีชื่อว่า เสด็จกัน (Sdech Kan) จับไปสำเร็จโทษที่แม่น้ำสะตึงแสนในพ.ศ. 2059 เจ้าพระยาพร้อมกับตั้งตนเป็นเจ้า พระนามว่า พระศรีไชยเชษฐาธิราช พระยาจันทราชาเสด็จหนีไปยังกรุงศรีอยุธยา แล้วกราบทูลของขอทัพจาก[[สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2]] เพื่อกลับมาชิงราชบัลลังก์คืนจากเสด็จกันในพ.ศ. 2063 ทรงตั้งค่ายอยู่ที่เมืองอมราวดีจันทบูร (น่าจะเป็นป้อมฝรั่งป้อมหนึ่ง) บรรดามุขมนตรีเชื้อพระวงศ์ต่างๆพากันเรียกร้องให้พระจันทราชาทรงประกอบพิธีราชาภิเษกเป็น สมเด็จพระบรมราชาที่ 3 จนในพ.ศ. 2069 ได้ยกทัพกรุงศรีฯไปรบกับเสด็จกัน เสด็จกันสิ้นพระชนม์ในที่รบ
 
เมื่อปราบเสด็จกันได้แล้ว สมเด้จพระบรมราชาทรงพระกรุณาฯให้หล่อพระพุทธรูปอัฐรัศประดิษฐานไว้ที่เมืองอมราวดีจันทบูร โดยทรงตั้งชื่อเมืองใหม่ว่า เมืองบันทายมีชัย แล้วก็ทรงสร้างราชธานีใหม่ คือ เมืองละแวก