ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ขยะมูลฝอย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chale yan (คุย | ส่วนร่วม)
เปลี่ยนทางไปที่ ปฏิกูล
 
บรรทัด 1:
#เปลี่ยนทาง [[ปฏิกูล]]
{{ต้นฉบับ}}
{{โปร}}
{{ต้องการอ้างอิง}}
{{ขาดสรุป}}
{{ตรวจภาษา}}
 
[[ไฟล์:Lixo.jpg|200px|thumb|right|ขยะมูลฝอยในถุงขยะ]]
== ขยะมูลฝอย ==
 
ปัจจุบันนี้ในเมืองใหญ่ เราจะเห็นบางถนนสะอาด มีกระถางดอกไม้ [[ต้นไม้]]เรียงรายอยู่ข้างทาง แต่บาง[[ถนน]]สกปรก มีถุงใส่เศษอาหาร เปลือกผลไม้ ตกทิ้งอยู่กลาดเกลื่อน ถ้าเราเดินทางไปทางเรือ เราจะเห็นแม่น้ำลำคลองบางตอนใสสะอาดบางตอนสกปรก มีขยะมูลฝอยลอยอยู่ทั่วไป น้ำมีสีดำ ส่งกลิ่นเน่าเหม็นเศษอาหาร [[ถุงพลาสติก]]ที่ใช้แล้ว เศษผ้า ใบไม้ร่วง เรียกรวมว่า '''ขยะมูลฝอย''' ถ้าไม่ทิ้งให้เป็นที่เป็นทาง จะสร้าง[[ความสกปรก]] ขยะมูลฝอยที่กองอยู่บนดิน เช่น จำพวกเศษอาหาร นอกจากจะส่งกลิ่นเหม็นแล้ว ยังเป็นที่อยู่อาศัยของ[[แมลงวัน]]และ[[หนู]] เป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคและเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเรา ดังนั้นเราทุกคนจึงควรช่วยกันรักษาความสะอาด ไม่ทิ้งขยะมูลฝอยเกลื่อนกลาด ถ้าเป็นขยะมูลฝอยในบ้าน ควรรวบรวมใส่ถุง เพื่อส่งให้[[รถเก็บขยะ]]ต่อไปขยะมูลฝอยถ้าทิ้งกระจัดกระจาย ไม่เป็นที่เป็นทาง จะทำให้บ้านเมืองสกปรกไม่เป็นระเบียบ ขยะมูลฝอยที่บูดเน่านอกจากจะส่งกลิ่นเหม็น รบกวนผู้ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงยังเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคต่าง ๆ อีกด้วย
== นิยามและความหมาย ==
[[พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒]]ให้ความหมาย
กุมฝอย น. ขยะ, เศษของที่ทิ้งแล้ว, คุมฝอย หรือ มูลฝอย ก็ว่า.
 
[[พระราชบัญญัติการสาธารณสุข]]<ref>
http://app-thca.krisdika.go.th/Naturesig/CheckSig?whichLaw=law2&folderName=%a136&lawPath=%a136-20-9999-update
</ref>
พ.ศ.๒๕๓๕ และ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ ให้คำว่า" มูลฝอย" หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น และ
หมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน
 
[[พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม]] พ.ศ. 2535 ให้คำว่า" มูลฝอย"จัดเป็นของเสียประเภทหนึ่ง โดยให้คำจำกัดความของคำว่า ของเสีย (Waste) หมายความว่า ขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล น้ำเสีย อากาศเสีย มลสารหรือวัตถุอันตรายอื่นใด ซึ่งถูกปล่อยทิ้งหรือมีที่มาจากแหล่งกำเนิดมลพิษ รวมทั้งกากตะกอนหรือสิ่งตกค้าง จากสิ่งเหล่านั้น ที่อยู่ในสภาพของแข็งของเหลวหรือก๊าซ
 
[[พระราชบัญญัติโรงงาน]] พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้นิยามที่มีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า “ขยะมูลฝอย” เพื่อควบคุม กำกับการจัดการ “ขยะมูลฝอย” ในภาคอุตสาหกรรม โดยได้นิยามคำว่า “สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว” หมายความว่า สิ่งของที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการโรงงาน รวมถึงของเสียจาก วัตถุดิบ ของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต ของเสียที่เป็นผลิตภัณฑ์เสื่อมคุณภาพ และน้ำทิ้งที่มีองค์ประกอบหรือมีคุณลักษณะที่เป็นอันตราย ซึ่งปรากฏในประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. ๒๕๔๘
 
== ประเภทของขยะมูลฝอย ==
'''จำแนกประเภทขยะมูลฝอยตามลักษณะและส่วนประกอบ''' ได้เป็น 10 ประเภท ได้แก่ <br/>
* [[ผัก]][[ผลไม้]] และเศษอาหาร ได้แก่ เศษผัก เศษผลไม้ เศษอาหารที่เหลือจากการปรุงอาหารและเหลือจากการบริโภค เช่น ข้าวสุก เปลือกผลไม้ เนื้อสัตว์ ฯลฯ
* [[กระดาษ]] ได้แก่ วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเยื่อกระดาษ เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ใบปลิว ถุงกระดาษ กล่องกระดาษ ฯลฯ
* [[พลาสติก]] ได้แก่ วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติก เช่น ถุงพลาสติก ภาชนะพลาสติก ของเล่นเด็ก ผลิตภัณฑ์ไฟเบอร์กลาส ฯลฯ
* [[ผ้า]] ได้แก่ สิ่งทอต่าง ๆ ที่ทำมาจากเส้นใยธรรมชาติและใยสังเคราะห์ เช่น ฝ้าย ลินินขนสัตว์ ผ้าไนลอน ได้แก่ เศษผ้า ผ้าเช็ดมือ ถุงเท้า ผ้าขี้ริ้ว ฯลฯ
* แก้ว ได้แก่ วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแก้ว เช่น เศษกระจก ขวด หลอดไฟ เครื่องแก้ว ฯลฯ
* ไม้ ได้แก่ วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากไม้ ไม้ไผ่ ฟาง หญ้า เศษไม้ เช่น กล่องไม้เก้าอี้ โต๊ะ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องเรือน ฯลฯ
* โลหะ ได้แก่ วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ทำจากโลหะ เช่น กระป๋อง ตะปู ลวดภาชนะที่ทำจากโลหะต่าง ฯลฯ
* หิน [[กระเบื้อง]] กระดูก และเปลือกหอย ได้แก่ เศษหิน เปลือกหอย เศษกระดูกสัตว์เช่น ก้างปลา เครื่องปั้นดินเผา เปลือกหอย กุ้ง ปู เครื่องเคลือบ ฯลฯ
* ยางและหนัง ได้แก่ วัสดุและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากยางและหนัง เช่น รองเท้า กระเป๋าลูกบอล ฯลฯ
* วัสดุอื่น ๆ ได้แก่ วัสดุที่ไม่สามารถจัดเข้ากลุ่มต่าง ๆ ข้างต้น <br/>
'''จำแนกประเภทขยะมูลฝอยตามแหล่งกำเนิด ''' ได้แก่ <br/>
*ขยะมูลฝอยจากภาคเกษตรกรรม
*ขยะมูลฝอยจากภาคอุตสาหกรรม
*ขยะมูลฝอยจากการรักษาพยาบาล (Health care Waste ;Hospital Waste ;Medical Waste)
*ขยะมูลฝอยจากครัวเรือนและชุมชน (Municipal Waste) <br/>
'''จำแนกประเภทตามคุณสมบัติความเป็นพิษหรืออันตราย''' ได้แก่
*ขยะมูลฝอยมูลฝอยที่ไม่เป็นพิษหรือเป็นอันตราย (General Waste)
*ขยะมูลฝอยมูลฝอยที่เป็นพิษหรือเป็นอันตราย (Hazardous Waste)<br/>
 
== การกำจัดขยะมูลฝอย ==
เริ่มตั้งแต่การเก็บรวบรวม การขนย้ายไปยัง[[โรงงาน]]และการทำลายขยะมูลฝอย เมื่อเรารวบรวมขยะมูลฝอยทิ้ง ควรแยกให้เป็นประเภท เพื่อช่วยให้ง่ายต่อการเก็บและทำลาย [[เศษแก้ว]] [[เศษกระจก]] และของมีคมต่าง ๆ ควรแยกต่างหาก ไม่ทิ้งปะปนกับขยะมูลฝอยอื่น ๆ เพราะอาจจะบาดหรือตำผู้อื่นได้ เราควรเก็บขยะมูลฝอยใส่ถุงและผูกปากถุงให้เรียบร้อย ใส่ในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด เพื่อป้องกันสุนัขคุ้ยเขี่ย การกำจัดขยะมูลฝอย มีหลายวิธี เช่น การเผากลางแจ้ง การเทกองบนพื้นดิน การนำไปทิ้งทะเล แต่วิธีการเหล่านี้ไม่ถูกต้อง เพราะทำให้เกิดภาวะมลพิษต่อสภาพแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของมนุษย์ ตัวอย่างเช่น การเผากลางแจ้ง ทำให้เกิดควันและ[[ฝุ่นละออง]]ในอากาศ วิธีกำจัดที่ถูกต้อง คือ การเผาในเตาเผาขยะ [[การฝังกลบ]] [[การหมัก]]ทำ[[ปุ๋ย]] และการแปรสภาพเป็นพลังงาน
 
== การเผาขยะ ==
คือ การเผาในเตาเผาสามารถทำลายขยะมูลฝอยได้เกือบทุกชนิดแต่ถ้าขยะมูลฝอยมี[[ความชื้น]]มากกว่าร้อยละ 50 [[เตาเผาขยะ]]ต้องเป็นชนิดที่ใช้เชื้อเพลิงจำพวกน้ำมันเตาช่วยใน[[การเผาไหม้]] การเผาในเตาเผาใช้เนื้อที่น้อย ส่วนที่เหลือจากการเผาไหม้ เช่น [[ขี้เถ้า]] สามารถนำไปใช้ถมที่ดินหรือใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้
 
== การฝังกลบ ==
ทำได้โดยนำขยะมูลฝอยมาเทลงในพื้นที่ที่เตรียมเอาไว้แล้วกลบด้วยดิน และบดให้แน่นอีกครั้งหนึ่ง การฝังกลบไม่สร้างความรำคาญและเป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อม
 
== การแปรสภาพขยะมูลฝอยเป็น[[พลังงาน]] ==
คือการนำขยะมูลฝอยที่ติดไฟได้มาทำเป็น[[เชื้อเพลิง]]สำหรับต้มน้ำ หรือผลิตไอน้ำเพื่อไปหมุน[[เครื่องกำเนิดไฟฟ้า]]ได้
 
== การหมักทำปุ๋ย ==
ใช้วิธีนำขยะมูลฝอยที่ส่วนมากเน่าเปื่อยได้ มาผ่านขบวนการบดหมักทำลายของ[[โรงงานกำจัดขยะ]]มูลฝอย เพื่อให้เกิด[[การย่อยสลาย]]ตัว ขยะมูลฝอยที่ผ่านการหมักแล้ว จะถูกนำไปผึ่งต่อที่ลานผึ่งประมาณ 40-60 วัน เพื่อให้การย่อยสลายเป็นไปโดยสมบูรณ์ จากนั้นจะถูกนำไปร่อนแยกเอาส่วนที่จะใช้เป็นปุ๋ยต่อไป
 
== ลักษณะของขยะมูลฝอย ==
ขยะมูลฝอยอาจแบ่งออกได้ตามลักษณะส่วนประกอบของขยะมูลฝอย ได้เป็น 10 ประเภท ได้แก่
* [[ผัก]][[ผลไม้]] และเศษอาหาร ได้แก่ เศษผัก เศษผลไม้ เศษอาหารที่เหลือจากการปรุงอาหารและเหลือจากการบริโภค เช่น ข้าวสุก เปลือกผลไม้ เนื้อสัตว์ ฯลฯ
* [[กระดาษ]] ได้แก่ วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเยื่อกระดาษ เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ใบปลิว ถุงกระดาษ กล่องกระดาษ ฯลฯ
* [[พลาสติก]] ได้แก่ วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติก เช่น ถุงพลาสติก ภาชนะพลาสติก ของเล่นเด็ก ผลิตภัณฑ์ไฟเบอร์กลาส ฯลฯ
* [[ผ้า]] ได้แก่ สิ่งทอต่าง ๆ ที่ทำมาจากเส้นใยธรรมชาติและใยสังเคราะห์ เช่น ฝ้าย ลินินขนสัตว์ ผ้าไนลอน ได้แก่ เศษผ้า ผ้าเช็ดมือ ถุงเท้า ผ้าขี้ริ้ว ฯลฯ
* แก้ว ได้แก่ วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแก้ว เช่น เศษกระจก ขวด หลอดไฟ เครื่องแก้ว ฯลฯ
* ไม้ ได้แก่ วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากไม้ ไม้ไผ่ ฟาง หญ้า เศษไม้ เช่น กล่องไม้เก้าอี้ โต๊ะ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องเรือน ฯลฯ
* โลหะ ได้แก่ วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ทำจากโลหะ เช่น กระป๋อง ตะปู ลวดภาชนะที่ทำจากโลหะต่าง ฯลฯ
* หิน [[กระเบื้อง]] กระดูก และเปลือกหอย ได้แก่ เศษหิน เปลือกหอย เศษกระดูกสัตว์เช่น ก้างปลา เครื่องปั้นดินเผา เปลือกหอย กุ้ง ปู เครื่องเคลือบ ฯลฯ
* ยางและหนัง ได้แก่ วัสดุและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากยางและหนัง เช่น รองเท้า กระเป๋าลูกบอล ฯลฯ
* วัสดุอื่น ๆ ได้แก่ วัสดุที่ไม่สามารถจัดเข้ากลุ่มต่าง ๆ ข้างต้น
 
== ผลกระทบของขยะมูลฝอยต่อ[[สุขภาพและสิ่งแวดล้อม]] ==
ขยะมูลฝอยนับวันจะเพิ่มมากขึ้นตามจำนวนของประชากร ถ้าหากไม่มีการจัดการอย่างถูกต้อง ตั้งแต่ขั้นตอน การคัดแยก การเก็บรวบรวม การเคลื่อนย้าย การขนส่งและการกำจัดขยะมูลฝอยให้ถูกต้องและเหมาะสมแล้ว จะส่งผลกระทบต่อ[[สุขภาพและสิ่งแวดล้อม]]ของผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะมูลฝอย และประชาชนทั่วไปทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ทั้งนี้เนื่องจาก
**** ขยะมูลฝอยเป็นแหล่งอาหารและ[[แหล่งเพาะพันธุ์]]ของ[[แมลงนำโรค]]
**** ขยะมูลฝอย ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นและก่อให้เกิดความรำคาญ
**** ขยะมูลฝอยที่ทิ้งเกลื่อนกลาด ถูกลมพัดกระจัดกระจายไปตกอยู่ตามพื้น ทำให้พื้นที่บริเวณนั้นสกปรก
**** [[น้ำเสีย]]ที่เกิดจากกองขยะมูลฝอยที่กองทิ้งไว้ เป็นน้ำเสียที่มีความสกปรกสูงมาก ซึ่งมีทั้ง[[สารอินทรีย์]] [[สารอนินทรีย์]] [[เชื้อโรค]] และ[[สารพิษ]]ต่าง ๆ เจือปนอยู่ ปนเปื้อนแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคทั้ง แหล่งผิวดินและใต้ดิน
**** ขยะมูลฝอยทำให้เกิดมลพิษแก่[[อากาศ]] ขยะมูลฝอยที่กองทิ้งไว้ใน[[เขตชุมชน]] หรือที่กองทิ้งไว้ในแหล่งกำจัดซึ่งไม่มี[[การฝังกลบ]]
 
[[วรรณกรรมและการศึกษาวิจัย]]ที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากการจัดการขยะมูลฝอยในประเทศไทย
**[[มหาวิทยาลัยมหิดล]] (2532) การศึกษาผลกระทบของขยะมูลฝอยต่อคนงานในโรงงานกำจัดขยะมูลฝอยอ่อนนุช โดย พบว่า จากจำนวนคนงานทั้งหมด 136 คน มีการติดเชื้อเอดส์ 6 คน และเป็นโรคไวรัสตับอักเสบ 26 คน แม้ในการศึกษาไม่สามารถแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าการติดเชื้อดังกล่าวมีสาเหตุมาจากขยะมูลฝอย แต่จากข้อมูลนี้แสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงภัยต่อสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพนี้ได้
 
**[[สุคนธ์ เจียสกุลและสสิธร เทพตระการพร]] (2544) ศึกษาเปรียบเทียบขยะมูลฝอยจากสถานบริการสุขภาพกับขยะมูลฝอยจากบ้านเรือน พบว่า ร้อยละ 2 ของขยะมูลฝอยที่เปื้อนเลือด ตรวจพบไวรัสตับอักเสบ ตรวจพบเชื้อ Poliovirus และEchovirus ในผ้าอ้อมที่เป็นขยะมูลฝอยจากบ้านเรือน
 
**[[สุคนธ์ เจียสกุล, สสิธร เทพตระการพร]] (2544) ศึกษาสมรรถภาพปอดของผู้ที่ประกอบอาชีพเก็บขยะมูลฝอยที่บริเวณกองขยะมูลฝอยในกรุงเทพมหานคร พบว่า ร้อยละ 40 มีสมรรถภาพปอดต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ ส่วนของการศึกษาในเด็กที่ทำงานเก็บขยะมูลฝอยในกรุงมะนิลา จำนวน 194 คน พบว่า ร้อยละ 23 มีอาการไอเรื้อรัง ร้อยละ 19 มีอาการหายใจสั้นๆ ร้อยละ 3 ของเด็กมีอาการคล้ายกับเป็นโรควัณโรค และร้อยละ 53 มีสมรรถภาพการทำงานของปอดลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับประชากรในเมืองทั่วไป
 
**[[อุทัย สินเพ็ง และคณะ]] (2540) ได้ศึกษาความเสี่ยงอันตรายของพนักงานทำความสะอาด เก็บกวาดขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองนครสวรรค์ทั้งหมด 156 คน ส่วนมากร้อยละ 93.6 เป็นเพศหญิง พบว่าสมรรถภาพปอดต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 49.6 โดยพบปัจจัยเสี่ยงคือฝุ่นรวม ซึ่งขณะปฏิบัติงานมีปริมาณเฉลี่ยเท่ากับ 1.806 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และจากการศึกษาของสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (2544) ด้วยการสำรวจความคิดเห็นของซาเล้ง พบว่าโรคหรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับซาเล้งบ่อยที่สุด ได้แก่ ปวดหลัง ปวดเอว รองลงมาคือ เป็นไข้ตัวร้อน ถูกของมีคมบาด โรคภูมิแพ้ เวียนศีรษะ หน้ามืด ตามลำดับ โดยสาเหตุของการเกิดโรคเหล่านี้เกิดจากการปฏิบัติตนขณะทำงานไม่ถูกต้อง เช่น ถูกของมีคมบาด เพราะไม่สวมถุงมือป้องกัน เป็นต้น แต่ในส่วนของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดที่รวมถึงประชาชนที่อาศัยอยู่รอบบริเวณสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยด้วยไม่ได้อยู่ในขอบเขตของการศึกษา
 
**[[อุทัย สินเพ็ง และคณะ]]( 2540) ศึกษาปริมาณฝุ่นละอองที่มีผลต่อสมรรถภาพของปอดและสภาวะสุขภาพของคนงานกวาดถนน ในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ พบว่า ปริมาณฝุ่นรวมขณะปฏิบัติงาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.806 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และปริมาณฝุ่นขนาดเล็กที่สามารถเข้าสู่ทางเดินหายใจส่วนปลาย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.36 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งมีค่าไม่เกินค่ามาตรฐานของสารเคมีในบรรยากาศ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย แต่จากการตรวจสมรรถภาพปอด พบว่า คนงานกวาดถนน ร้อยละ 49.6 มีสมรรถภาพปอดต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ โดยความผิดปกติเป็นแบบลักษณะบกพร่องเชิงขยายตัว ร้อยละ 45.0 และลักษณะเชิงอุดกั้นร้อยละ 4.6
 
**[[สุคนธ์ เจียสกุล, สสิธร เทพตระการพร]] (2544) การศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของควันและกลิ่นที่ปล่อยจากปล่องควันโรงงานเตาเผาขยะติดเชื้อ ที่ผ่านมายังไม่มีการรายงาน มีเพียงการศึกษาตรวจวัดระดับเสียงและความร้อนว่าจะเป็นอันตรายต่อเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานหรือไม่ โดยผลการศึกษาระบุว่าไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด กล่าวคือ จากผลการตรวจวัดระดับความดังของเสียง และความร้อนของโรงงานเตาเผาขยะติดเชื้อจากโรงพยาบาล โดยบริษัทกรุงเทพธนาคม เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 พบว่า หัวเผา(Burner) ของเตาเผามีระดับความดังเสียงเฉลี่ยตลอดเวลาทำงาน 8 ชม. เท่ากับ 86 dBA. ซึ่งเป็นค่าไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยสำหรับพนักงานที่สัมผัสกับเสียง และมีค่าดัชนี WBGT อยู่ในช่วง 2.1 - 26.8 องศาเซนเซียส ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัย (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, 2543)
 
**[[สมหมาย ขยันดี]] (2542) ศึกษาการปนเปื้อนของน้ำชะขยะมูลฝอยในน้ำใต้ดินจากสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยของเทศบาลนครขอนแก่น โดยศึกษาลักษณะสมบัติของน้ำชะขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย และคุณภาพน้ำใต้ดินจากบ่อน้ำที่ขุดเจาะบริเวณรอบๆ สถานที่กำจัด ในรัศมี 1.5กิโลเมตร จำนวน 27 บ่อ ครอบคลุมพื้นที่หมู่บ้าน 2 หมู่บ้าน คือ บ้านคำบอน หมู่ที่ 7 ต.โนนท่อน อ.เมือง จ. ขอนแก่น จำนวน 3 บ่อ และบ้านซำจาน อ.เมือง จ.ขอนแก่น จำนวน 24 บ่อ พบว่ามีการปนเปื้อนของน้ำชะมูลฝอยในบ่อน้ำตื้นระดับความลึกเฉลี่ยไม่เกิน 20 เมตร ปริมาณสารมลพิษที่ตรวจพบเมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานแล้วพบว่า ปริมาณเหล็ก และแมงกานีส ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานของคุณภาพน้ำบาดาล ที่ใช้บริโภค ส่วนปริมาณสารตะกั่ว ทองแดง และ แคดเมี่ยม มีปริมาณเกินมาตรฐานที่กำหนดแต่ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ที่อนุโลมให้มีได้ ผลของการศึกษายังแสดงให้เห็นว่าน้ำชะขยะมูลฝอยจากสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย สามารถปนเปื้อนสู่น้ำใต้ดินได้
 
**[[จรัสพงศ์ สร้อยระย้า และคณะ]] (2533) ได้ศึกษามลภาวะของแหล่งน้ำดื่มรอบบริเวณที่ทิ้งขยะมูลฝอยของเทศบาลในเขตภาคตะวันออก จำนวน 3 เทศบาล ได้แก่ เทศบาลเมืองชลบุรี เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา และเทศบาลเมืองระยอง โดยเก็บตัวอย่างดินรอบบริเวณที่ทิ้งขยะมูลฝอยจำนวนแหล่งละ 6 ตัวอย่าง สำหรับน้ำชะมูลฝอย เก็บในแหล่งที่ทิ้งขยะมูลฝอย จำนวน 2 จุด ในแต่ละแหล่งที่ทิ้งขยะมูลฝอยนั้น ผลการศึกษาพบว่า
****1) ลักษณะและองค์ประกอบของน้ำเสียจากกองขยะมูลฝอย ของขยะมูลฝอยจากชุมชนเมืองในภาคตะวันออกของประเทศไทยไม่มีความแตกต่างจากน้ำเสียจากกองขยะมูลฝอยจากแหล่งอื่นๆ สารพิษโลหะหนักที่ตรวจพบในน้ำเสียจากกองขยะมูลฝอยของทั้ง 3 เทศบาล มีปริมาณสูงกว่าค่าที่กำหนดไว้ในมาตรฐานน้ำดื่มเล็กน้อย และเมื่อผ่านขบวนการ absorption จากดินแล้ว ทำให้ตรวจพบเป็นปริมาณน้อยมากในแหล่งน้ำดื่ม
****2) การปนเปื้อนของน้ำชะมูลฝอยในแหล่งน้ำรอบบริเวณที่ทิ้งขยะมูลฝอยสามารถตรวจพบได้เป็นระยะทางถึง 1,000 เมตร และความเข้มข้นของการปนเปื้อนของบ่อน้ำตื้นทุกบ่อมีแนวโน้มมากขึ้นในฤดูฝนในทุกเทศบาล ถึงแม้ว่าลักษณะดินรอบบริเวณที่ทิ้งขยะมูลฝอยของแต่ละ เทศบาลจะแตกต่างกัน
****3) ความเข้มข้นการปนเปื้อนจากสารอนินทรีย์ (Inorganic substance) ในบ่อน้ำตื้นที่อยู่ในรัศมี 500 เมตร จากจุดที่ทิ้งขยะมูลฝอยทั้ง 3 เทศบาล ไม่มีความแตกต่างกัน แต่เจือจางลงในบ่อน้ำที่มีระยะทางห่างกว่านี้ ส่วนความเข้มข้นการปนเปื้อนจากสารอินทรีย์ (Organic substance) ในระยะทาง 1,000 เมตร ไม่แตกต่างกัน
****4) คุณภาพของแหล่งน้ำดื่มจากบริเวณที่ทิ้งขยะมูลฝอยของทั้ง 3 เทศบาล มีลักษณะไม่สะอาดพอ ไม่น่าดื่ม มีสิ่งสกปรกเจือปนอยู่ และอาจทำให้เกิดโรคได้ แต่ปริมาณสารพิษโลหะหนักไม่เกินค่าที่กำหนดไว้ในมาตรฐานน้ำดื่ม
****5) คุณภาพของแหล่งน้ำดื่ม บริเวณรอบจุดที่ทิ้งขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองชลบุรี เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา และเทศบาลเมืองระยอง เมื่อพิจารณาตามฤดูกาลเห็นได้ว่า ในฤดูแล้งน้ำจากบ่อน้ำตื้นของเทศบาลเมืองชลบุรีทุกบ่อในรัศมี 1,000 เมตร ปลอดภัยที่จะอุปโภคบริโภคได้ และบ่อน้ำตื้นของเทศบาลเมืองระยอง เฉพาะที่มีระยะห่างจากที่ทิ้งขยะมูลฝอย 1,000 เมตร เท่านั้นที่ปลอดภัย ส่วนในฤดูฝนทุกบ่อในรัศมี 1,000 เมตร ของทั้ง 3 เทศบาล มีสภาพของน้ำไม่สะอาดพอ ไม่น่าดื่ม แม้ว่า จะมีปริมาณสารพิษโลหะหนักไม่เกินค่าที่กำหนดก็ตาม
****6) คุณภาพของแหล่งน้ำดื่มรอบบริเวณที่ทิ้งขยะมูลฝอยของพื้นที่ศึกษา เมื่อพิจารณาถึงลักษณะดินที่ใช้เป็นที่ทิ้งขยะมูลฝอยแล้ว เห็นได้ว่า คุณภาพน้ำในฤดูแล้งในรัศมี 500 เมตร ของเทศบาลเมืองระยอง ซึ่งมีลักษณะดินเป็นดินปนทรายและดินทรายร่วน มีความสกปรกและไม่ได้มาตรฐานเมื่อเทียบกับที่ทิ้งขยะมูลฝอยเทศบาลเมืองชลบุรี ซึ่งมีลักษณะดินเป็นดินปนทราย คุณภาพน้ำในฤดูแล้ง ได้มาตรฐานน้ำดื่มทุกแหล่งน้ำทั้งนี้อาจเนื่องจากลักษณะดินที่เป็นดินทราย หรือทรายร่วนมีการซึมผ่านของน้ำเสียจากกองขยะมูลฝอย ผ่านได้เร็วและแพร่กระจายไปปนเปื้อนแหล่งน้ำใกล้เคียงได้ง่าย ผิดกับลักษณะดินที่เป็นดินร่วนปนทราย น้ำซึมผ่านขยะมูลฝอยไหลซึมผ่านได้ช้าและยังมีขบวนปฏิกิริยาในดิน(Soil Mechanism) อีกทำให้ความเข้มข้นของความสกปรกลดลงได้ในระหว่างที่มีการเคลื่อนที่ไปยังแหล่งน้ำใกล้เคียง
****7) ลักษณะของน้ำเสียจากกองขยะมูลฝอยเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา เจือจางกว่าน้ำเสียจากกองขยะมูลฝอยเทศบาลเมืองชลบุรี และเทศบาลเมืองระยอง แต่คุณภาพน้ำจากแหล่งน้ำรอบบริเวณที่ทิ้งขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองฉะเชิงเทราสกปรกกว่าอีก 2 เทศบาล อาจเป็นเพราะดินเป็นดินเหนียวและดินร่วนปนดินเหนียว อีกทั้งใช้เป็นที่ทิ้งขยะมูลฝอยเป็นเวลานาน ทำให้สะสมความสกปรกได้มากกว่าดินทรายและดินร่วนปนทราย หรืออาจเป็นผลเนื่องมาจากขบวนการปฏิกิริยาในดิน ของดินแต่ละชนิด
 
**[[ศศิธร วงศ์หิรัญมาศ]] (2539) ได้ศึกษาแหล่งน้ำที่อยู่ใกล้ที่ฝังกลบขยะมูลฝอยของเทศบาลนครสวรรค์ พบว่ามีปริมาณสารอินทรีย์อยู่ระหว่าง 8.5–256 มิลลิกรัมต่อลิตร (มาตรฐานองค์กรอนามัยโลก 0.7 มิลลิกรัมต่อลิตร) ฟอสเฟตมีปริมาณ 0.07-0.6 มิลลิกรัมต่อลิตร ไนเตรดและคลอไรด์ อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
 
**[[วรรณพร แจ้งปิยะรัตน์, ธเรศ ศรีสถิตย์]] (2535) ได้ศึกษาการปนเปื้อนของปรอท แคดเมี่ยม และแมงกานีส ในดินตะกอนใกล้เคียงสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยของกรุงเทพมหานคร พบว่า ดินตะกอนในบริเวณบ่อพักน้ำชะขยะมูลฝอยของสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยอ่อนนุชและหนองแขม มีการปนเปื้อนของโลหะหนักหลายชนิด เช่น ปรอท แมงกานีส ในปริมาณสูงเกินเกณฑ์มาตรฐานโดยเฉพาะตะกอนดินบริเวณใกล้เคียงสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยอ่อนนุช พบว่ามีการปนเปื้อนของปรอทและแมงกานีส เฉลี่ย 2.377 และ 311.0 ไมโครกรัมต่อกรัม ตามลำดับ ส่วนบริเวณใกล้เคียงสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยหนองแขม พบว่ามีการปนเปื้อนของปรอท และแมงกานีส เฉลี่ย 0.663 และ 845.8ไมโครกรัมต่อกรัม ตามลำดับ และถ้าน้ำชะขยะมูลฝอยไหลลงสู่แหล่งน้ำก็จะทำให้คุณภาพของแหล่งน้ำเปลี่ยนแปลงไป อันเนื่องมาจากมีสารละลายมากเกินไป เช่น สารละลายโซเดียม แคลเซียมคาร์บอเนต เหล็ก และอลูมิเนียม เป็นต้น ซึ่งแล้วแต่ว่า น้ำชะขยะมูลฝอยที่มีคุณลักษณะเช่นใด
 
**[[วีรวรรณ ปัทมาภิรัต]] (2530) ศึกษาน้ำชะขยะมูลฝอยจากโรงกำจัดขยะมูลฝอยอ่อนนุช กรุงเทพมหานคร พบว่า มีโลหะหนักที่มีความเป็นพิษสูงปนเปื้อนอยู่ เช่น ปรอท มีความเข้มข้น เท่ากับ 3.5 –4.7 มิลลิกรัมต่อลิตร ลักษณะสีของน้ำชะมูลฝอยเป็นสีน้ำตาลแก่จนถึงสีดำ และมีกลิ่นแอมโมเนียอย่างชัดเจน
 
**[[ธรณิศาร์ ทรรพนันท์, ธเรศ ศรีสถิตย์]] (2535) ได้ศึกษาปริมาณการปนเปื้อนของโลหะหนักบริเวณบ่อรับน้ำชะขยะมูลฝอยที่สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยอ่อนนุช พบว่า มีปรอทปนเปื้อนอยู่ในช่วง 2.47 – 39.13 ไมโครกรัมต่อลิตร และสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยหนองแขมพบในช่วง 1.13 – 3.74 ไมโครกรัมต่อลิตร สำหรับแมงกานีส ตรวจวัดได้ 0.01–2.88 มิลลิกรัมต่อลิตร ส่วนการตรวจวัด แคดเมี่ยมไม่พบในระดับที่สูงกว่า 0.03 มิลลิกรัมต่อลิตร
 
**[[ศิริรัตน์ ชาญไววิทย์, ประเสริฐ ศิริรัตน์]] (2536) ศึกษาผลกระทบของน้ำชะขยะมูลฝอยต่อคุณภาพน้ำใต้ดินในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยการเก็บตัวอย่างน้ำจากบ่อน้ำตื้น และบ่อน้ำบาดาลรอบบริเวณที่ทิ้งขยะมูลฝอยในรัศมี 6 กิโลเมตร ผลการวิเคราะห์พบว่า มีการปนเปื้อนของสารมลพิษในน้ำบ่อตื้นบริเวณสถานที่ทิ้งขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองหาดใหญ่ ในระยะ 40 เมตร มีปริมาณที่สูงเกินมาตรฐานคุณภาพน้ำดื่มขององค์การอนามัยโลก สารมลพิษที่พบว่าปนเปื้อน ได้แก่ คลอไรด์ เหล็ก แมงกานีส ตะกั่ว แคดเมี่ยม และแบคทีเรีย และการปนเปื้อนของน้ำชะขยะมูลฝอยสามารถปนเปื้อนไปได้ไม่เกิน 100 เมตรจากสถานที่ทิ้งขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองหาดใหญ่
 
== การแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย ==
ขยะมูลฝอยมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทำให้เกิดการปนเปื้อนของ[[พื้นดิน]] แหล่งน้ำและอากาศ ทำให้บ้านเมืองไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่เป็นที่เจริญของผู้ที่ได้พบเห็น ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนโดยทั่วไปจึงควรปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไขผลเสียที่จะเกิดขึ้น สำหรับการป้องกันและแก้ไขที่ดีควรพิจารณาถึงต้นเหตุที่ก่อให้เกิดขยะมูลฝอยขึ้นมา ซึ่งก็คงจะหมายถึง มนุษย์ หรือผู้สร้างขยะมูลฝอย นั้นเอง
 
== ประชาพิจารณ์ข้อกฎหมายเพื่อการจัดการขยะมูลฝอย ==
(ร่าง 3)
กฎกระทรวง
ว่าด้วยการจัดการมูลฝอย พ.ศ. ....
--------------------------
 
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕และมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๒
พ.ศ. ๒๕๕๐ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับ
มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยคำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุข ออกกฎกระทรวงไว้ดังต่อไปนี้ </br>
ข้อ ๑ กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา </br>
ข้อ ๒ กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเป็นการทั่วไปทุกท้องถิ่น </br>
 
หมวด ๑</br>
บททั่วไป
-------------------------
ข้อ ๓ ในกฎกระทรวงนี้ </br>
[[“มูลฝอย”]] หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์
หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาด จาก ถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตราย
จากชุมชน </br>
[[“มูลฝอยติดเชื้อ” ]]หมายความว่า มูลฝอยติดเชื้อตามกฎกระทรวงว่าด้วยการ
กำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2545
</br>
[[“มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน ”]] หมายความว่า เศษสิ่งของ วัสดุ ที่ไม่ใช้แล้วหรือเสื่อมสภาพ รวมถึงภาชนะบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ
ซึ่งมี หรือปนเปื้อน หรือมีองค์ประกอบของ วัตถุอันตรายที่อาจก่ออันตรายต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์หรือสิ่งแวดล้อม
ในขณะนั้นหรืออนาคต
</br>
[[“วัตถุอันตราย” ]]หมายความว่า วัตถุ สารหรือวัสดุที่มีคุณสมบัติ เป็นวัตถุระเบิดได้ วัตถุไวไฟ วัตถุออกซิไดซ์และวัตถุเปอร์ออกไซด์ วัตถุมีพิษ วัตถุที่ทำให้เกิดโรค วัตถุกัมมันตรังสี วัตถุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม วัตถุกัดกร่อน วัตถุที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง หรือวัตถุอย่างอื่นไม่ว่าจะเป็นเคมีภัณฑ์หรือสิ่งอื่นใด ที่อาจทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ หรือสิ่งแวดล้อม
</br>
[[(๑) “มูลฝอยทั่วไป” ]]หมายความว่า มูลฝอยที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆในชุมชน เช่นบ้านพักอาศัย ธุรกิจการค้า สถานประกอบการ สถานบริการ
ตลาดสด สถาบันต่างๆ รวมทั้งเศษวัสดุก่อสร้าง ทั้งนี้ไม่รวมมูลฝอยติดเชื้อ และมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน
</br>
[[(๒) “มูลฝอยทั่วไป” ]]หมายความว่า มูลฝอยที่ไม่ใช่ มูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็น
พิษหรืออันตรายจากชุมชน
</br>
[[“การแปรสภาพมูลฝอย” ]] หมายความว่า การดำเนินการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะหรือองค์ประกอบทางกายภาพ เคมี หรือชีวภาพของมูลฝอย เพื่อให้มีความสะดวกและปลอดภัยในการขนส่งการนำกลับไปใช้ประโยชน์ การเก็บรวบรวม หรือการกำจัด</br>
[[“สถานีขนถ่ายมูลฝอย” ]] หมายความว่า สถานที่สำหรับถ่ายเทมูลฝอยจากรถเก็บขน มูลฝอยลงสู่ยานพาหนะขนาดใหญ่ เพื่อขนส่งไปยัง
สถาน
</br>
[[ “สถานที่คัดแยกมูลฝอย”]] หมายความว่า สถานที่จัดการมูลฝอยซึ่งจัดให้มีการแยกวัสดุที่นำกลับคืนออกจากมูลฝอยเพื่อนำกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่</br>
[[“สถานที่กำจัดโดยเตาเผา” ]] หมายความว่า สถานที่จัดการมูลฝอยที่ติดตั้งเตาเผาเพื่อใช้เผาทำลายของเสียที่เป็นของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซที่เผาไหม้ได้</br>
[[“สถานที่หมักทำปุ๋ย” ]] หมายความว่า สถานที่จัดการมูลฝอยที่มีการนำมูลฝอย มาแปรสภาพโดยวิธีการหมักโดยอาศัยขบวนการทางชีววิทยาของจุลินทรีย์ในการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุที่มีอยู่ในมูลฝอย ผลผลิตที่ได้จะมีลักษณะเป็นผงหรือก้อนเล็กๆ สามารถนำไปใช้เป็นสารบำรุงดิน
</br>
[[“สถานที่ฝังกลบมูลฝอย” ]] หมายความว่า สถานที่จัดการมูลฝอยที่นำมูลฝอยมาเทกองในพื้นที่ซึ่งจัดเตรียมไว้ ใช้เครื่องจักรกลบอัดให้แน่น ใช้ดินกลบทับเป็นชั้น ๆ และได้จัดเตรียมมาตรการป้องกันน้ำชะมูลฝอยไหลซึมลงสู่แหล่งน้ำใต้ดิน การป้องกันกลิ่นและแมลงรบกวน และการแพร่กระจายของเชื้อโรคสู่สภาพแวดล้อมโดยรอบ
</br>
[[“น้ำชะมูลฝอย” ]]หมายความว่า ของเหลวที่ไหลชะล้างผ่านหรือออกมาจากมูลฝอย ซึ่งอาจประกอบด้วย สารละลาย สารแขวนลอยผสมอยู่
</br>
[[“ภาชนะรองรับมูลฝอย” ]]หมายความว่า ภาชนะที่ใช้ในการเก็บ ขน หรือรวบรวมมูลฝอยประเภทต่างๆ
</br>
 
ข้อ ๔. การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ และมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน ต้องดำเนินการตามกฏกระทรวงว่าด้วยการนั้น
ข้อ ๕. การจัดการมูลฝอยทั่วไปต้องดำเนินการตาม บทบัญญัติในกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดการมูลฝอย
 
หมวด ๒ </br>
การเก็บมูลฝอยทั่วไป
--------------------------
ข้อ ๖. ในการเก็บมูลฝอยทั่วไป ผู้ก่อให้เกิดมูลฝอยทั่วไปต้องเก็บมูลฝอยทั่วไป ในภาชนะบรรจุที่ต้องด้วยสุขลักษณะ ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม โดยเป็นไปตามข้อกำหนดของท้องถิ่น</br>
 
ข้อ ๗. ในการใช้ภาชนะรองรับมูลฝอยทั่วไป ผู้ก่อให้เกิดมูลฝอยทั่วไปต้องจัดให้มีภาชนะรองรับที่มีลักษณะดังนี้</br>
(๑) ทำจากวัสดุที่ทำความสะอาดง่าย มีความแข็งแรง ทนทานต่อการกัดกร่อน ไม่รั่วซึม มีฝาปิดมิดชิด ป้องกันการหกหล่นของมูลฝอย และสามารถป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรคได้</br>
(๒) มีน้ำหนักเบา ขนาดพอเหมาะสามารถเคลื่อนย้ายได้โดยสะดวก ง่ายต่อการ
ถ่าย เท มูลฝอย</br>
 
ข้อ ๘. ราชการส่วนท้องถิ่นอาจกำหนดให้อาคาร สถานที่ของรัฐและเอกชน ที่ก่อให้เกิดมูลฝอยทั่วไปในปริมาณมาก ต้องจัดให้มีที่พักรวมมูลฝอย
ทั่วไปสำหรับอาคาร สถานที่นั้น และปฏิบัติให้ต้องด้วยสุขลักษณะดังนี้ </br>
(๑) เป็นอาคารแยกเป็นสัดส่วนเฉพาะ ตั้งอยู่ในสถานที่ที่สะดวกต่อการขนถ่ายมูลฝอยห่างจากแหล่งน้ำเพื่อ
การอุปโภค บริโภคและสถานที่ประกอบอาหาร</br>
(๒) พื้น ผนัง เรียบ ทำด้วยวัสดุที่ทำความสะอาดง่าย มีลักษณะโปร่ง มีระบบระบายอากาศที่ดี มีขนาดกว้างเพียงพอสำหรับเก็บกักภาชนะบรรจุ
มูลฝอย และมีการป้องกันสัตว์ แมลงพาหะนำโรค</br>
(๓) มีการดูแลไม่ให้มีกลิ่นเหม็นและรักษาความสะอาดอยู่เสมอ กรณีอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษต้องจัดให้มี
ที่พักรวมมูลฝอยทั่วไปให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยควบคุมอาคารด้วย</br>
 
ข้อ ๙. ราชการส่วนท้องถิ่นอาจกำหนดให้มีจุดพักรวมมูลฝอยทั่วไป ในสถานที่สาธารณะหรือชุมชนเพื่อความสะดวกในการเก็บ ขนมูลฝอยทั่วไป โดยมีลักษณะ ดังนี้ </br>
(๑) แยกเป็นสัดส่วนเฉพาะ</br>
(๒) ภาชนะรองรับมูลฝอยทั่วไป ทำจากวัสดุที่ทำความสะอาดง่าย มีความแข็งแรง ทนทานต่อการกัดกร่อน ไม่รั่วซึม มีฝาปิดมิดชิด สามารถป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรคได้ มีขนาดเหมาะสมสามารถเคลื่อนย้ายหรือ ขนได้โดยสะดวก</br>
(๓) ตั้งอยู่ห่างจากแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค สถานที่ประกอบอาหาร สถานที่รับประทานอาหาร
บริเวณที่เลี้ยงเด็กอ่อน หรือสนามเด็กเล่น </br>
(๔) มีการกำหนดขอบเขตบริเวณที่ตั้งจุดพักรวมมูลฝอยทั่วไปอย่างชัดเจน สะดวก
ต่อการเก็บรวบรวม และขนไปกำจัด มีเครื่องหมายหรือป้ายแสดงว่าเป็น “จุดพักรวมมูลฝอยทั่วไป”
และมีการดูแลรักษาความสะอาดอยู่เสมอ </br>
 
ข้อ ๑o. ในกรณีที่ราชการส่วนท้องถิ่น ผู้ได้รับมอบหรือผู้ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้เป็นผู้เก็บรวบรวม ขน หรือกำจัด
มูลฝอยทั่วไป มีการดำเนินการคัดแยกมูลฝอยทั่วไปด้วย จะต้องจัดให้มีสถานที่ตามข้อ ๑๑ และปฏิบัติให้ต้องด้วยสุขลักษณะดังนี้ </br>
(๑) สวมชุดอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลในขณะดำเนินการคัดแยกมูลฝอยทั่วไป เช่น ถุงมือ ผ้ายางกันเปื้อน ผ้าปิดปาก-จมูก และ รองเท้าพื้นยางหุ้มแข้ง เป็นต้น</br>
(๒) ไม่เผา หลอม สกัดหรือดำเนินการอื่นใดเพื่อการคัดแยกมูลฝอยทั่วไป ประเภทโลหะมีค่าหรือทำลายมูลฝอย</br>
(๓) ควบคุมมิให้มีการปลิวฟุ้ง การหก หล่น ของมูลฝอยทั่วไปและการรั่วไหล
ของน้ำชะมูลฝอยทั่วไปในขณะดำเนินการคัดแยก </br>
 
ข้อ ๑๑. สถานที่คัดแยกและเก็บรวบรวมมูลฝอยทั่วไป ต้องมีลักษณะ ดังนี้ </br>
(๑) เป็นพื้นที่เฉพาะ มีขนาดเพียงพอ เหมาะสม สามารถรองรับมูลฝอยทั่วไปที่จะนำเข้ามาคัดแยกได้ มีการรักษาบริเวณโดยรอบให้สะอาดและเป็นระเบียบอยู่เสมอ</br>
(๒) มีการป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรค และการดำเนินการดังกล่าวต้องไม่ก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญและผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน</br>
(๓) มีแสงสว่างเพียงพอและมีการระบายอากาศดี </br>
(๔) จัดให้มีห้องน้ำ ห้องส้วมที่สะอาด เพียงพอ สำหรับใช้งานและชำระล้างร่างกาย</br>
 
 
หมวด ๓</br>
การขนมูลฝอยทั่วไป
-----------------------
ข้อ ๑๒. ในการขนมูลฝอยทั่วไป ผู้ก่อให้เกิดมูลฝอยทั่วไปต้องนำภาชนะบรรจุหรือภาชนะ
รองรับมูลฝอยทั่วไป ไปไว้ ณ จุดรอการเก็บขน และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในข้อกำหนดของท้องถิ่น</br>
 
ข้อ ๑๓.ในการเก็บรวบรวม และขนมูลฝอยทั่วไป ราชการส่วนท้องถิ่น ผู้ได้รับมอบหรือผู้ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้ดำเนินการ เก็บรวบรวม และขน มูลฝอยทั่วไป ต้องจัดให้มียานพาหนะไม่ว่าเป็นรถ หรือเรือ หรือพาหนะอื่นใดสำหรับเก็บ ขนมูลฝอยทั่วไป ให้เพียงพอกับปริมาณมูลฝอยทั่วไปที่เกิดขึ้น และต้องมีลักษณะดังนี้ </br>
(๑) ตัวถังบรรจุมูลฝอย มีความแข็งแรง ทนทาน มีลักษณะปกปิด และสะดวกต่อการ
ขนถ่ายมูลฝอย ทำความสะอาดได้ง่าย และไม่เกิดสนิม</br>
(๒) มีระบบป้องกันน้ำซะมูลฝอยรั่วไหล และมูลฝอย ปลิว ตก หก หล่น ในขณะเก็บรวบรวมหรือขนส่งมูลฝอย
โดยต้องจัดให้มีถังรองรับน้ำซะมูลฝอย ผ้าใบหรือตาข่ายปกคลุมมูลฝอยในระหว่างการขนส่ง </br>
(๓) ระดับที่ยกเทมูลฝอยทั่วไป ใส่ในตัวถังยานพาหนะต้องไม่สูงเกินไป หรืออยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อสุขภาพและการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงาน
(๔) กรณีใช้ยานพาหนะอื่นในการเก็บ ขนมูลฝอย ยานพาหนะที่ใช้ต้องมีลักษณะที่สามารถป้องกันการปลิว ตก หก หล่นของมูลฝอย
และป้องกันน้ำชะมูลฝอยรั่วไหลลงสู่ ดินและแหล่งน้ำได้</br>
(๕) ต้องบำบัดน้ำเสีย น้ำซะมูลฝอย ให้ได้มาตรฐานสิ่งแวดล้อมหรือตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด ก่อนระบายทิ้งลงสู่แหล่งน้ำ
สาธารณะหรือแหล่งน้ำธรรมชาติ</br>
 
ข้อ ๑๔. ผู้ขับขี่ยานพาหนะ ผู้เก็บรวบรวมมูลฝอยต้องได้รับการฝึกอบรม ในเนื้อหาวิชาเกี่ยวกับการป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากการเก็บ ขน มูลฝอย</br></br>
 
ข้อ ๑๕. สถานีขนถ่ายมูลฝอยทั่วไป ต้องมีลักษณะและการดำเนินการขนถ่ายที่ต้องด้วยสุขลักษณะดังต่อไปนี้</br>
(๑) มีลักษณะเป็นอาคาร มีขนาดเหมาะสมกับปริมาณมูลฝอยทั่วไปที่ทำการขนถ่าย มีการระบายอากาศ และแสงสว่าง
ที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน</br>
(๒) มีการป้องกันปัญหา กลิ่นจากมูลฝอยทั่วไป การปลิวของมูลฝอยทั่วไป ฝุ่นละออง เสียงดังรบกวน เหตุรำคาญ
สัตว์และแมลงพาหะนำโรค</br>
(๓) มีระบบระบายน้ำเสียและบำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพ โดยน้ำทิ้งที่ระบายออกสู่ภายนอกเป็นไปตามมาตรฐาน
สิ่งแวดล้อมหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด</br>
(๔) มีอุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับป้องกันอุบัติเหตุและอัคคีภัยไว้ประจำสถานีขนถ่าย
 
 
หมวด ๔ </br>
การกำจัดมูลฝอยทั่วไป
-----------------------
 
ข้อ ๑๖. ในการกำจัดมูลฝอยทั่วไป ราชการท้องถิ่น ผู้ได้รับมอบหรือผู้ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้ดำเนินการกำจัดมูลฝอยทั่วไป ต้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้ <br/>
(๑) ต้องกำจัดมูลฝอย โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง หรือหลายวิธี ตามที่กำหนดในข้อ ๑๗</br>
(๒) จัดให้มีผู้ควบคุมและผู้ปฏิบัติงานกำจัดมูลฝอยที่มีความรู้เกี่ยวกับระบบกำจัดมูลฝอย </br>
โดยผ่านการอบรมตามหลักสูตรและระยะเวลาตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา </br>
(๓) จัดให้มีชุดอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมสำหรับผู้ปฏิบัติงานกำจัด มูลฝอย ได้แก่
ถุงมือ ผ้าปิดปาก-จมูก รองเท้าพื้นยางหุ้มแข้ง รวมทั้งอุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับป้องกันอุบัติเหตุและอัคคีภัย
ไว้ประจำบริเวณที่กำจัดมูลฝอย </br>
ข้อ ๑๗. การกำจัดมูลฝอยทั่วไปต้องไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีวิธีดำเนินการ ดังนี้</br>
(๑) การฝังกลบมูลฝอยอย่างถูกหลักสุขาภิบาล ตามข้อ ๑๘</br>
(๒) การเผาในเตาเผา ตามข้อ ๑๙</br>
(๓) การหมักทำปุ๋ย ตามข้อ ๒o</br>
(๔) การแปรสภาพมูลฝอยเป็นพลังงานหรือเชื้อเพลิงทดแทน ตามข้อ ๒๑</br>
(๕) วิธีอื่นตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา </br>
 
ข้อ ๑๘. การฝังกลบมูลฝอยอย่างถูกหลักสุขาภิบาล ต้องดำเนินการให้ถูกสุขลักษณะและเกณฑ์มาตรฐานดังนี้</br>
(๑) สถานที่ตั้งเหมาะสม เป็นพื้นที่ดอนระดับน้ำใต้ดินอยู่ลึก ในกรณีเป็นพื้นที่ลุ่มที่มีโอกาสเกิดน้ำท่วมฉับพลัน
หรือน้ำป่าไหลหลากจะต้องมีมาตรการป้องกันแก้ไข มีระบบป้องกันการปนเปื้อนของน้ำใต้ดินจากน้ำชะมูลฝอยและ
มีการรวบรวมและบำบัดให้ได้ตามมาตรฐานสิ่งแวดล้อมหรือตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด ก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ
สาธารณะหรือแหล่งน้ำธรรมชาติ </br>
(๒) มีการป้องกันปัญหา กลิ่นจากมูลฝอย การปลิวของมูลฝอย ฝุ่นละอองจากการขนส่ง เสียงดังรบกวน เหตุรำคาญ
สัตว์และแมลงพาหะนำโรค ตลอดจนผลกระทบอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นต่อชุมชน</br>
(๓) ต้องสุ่มตัวอย่างน้ำจากบ่อติดตามตรวจสอบ น้ำชะมูลฝอย และน้ำทิ้งจากระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อวิเคราะห์
คุณภาพน้ำอย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง</br>
(๔) ต้องตรวจสอบอากาศพิษจากหลุมฝังกลบ อย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง</br>
 
ข้อ ๑๙. การกำจัดมูลฝอยทั่วไปโดยการเผาในเตาเผา ต้องเผามูลฝอยทั่วไปที่อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 1,000 เซลเซียส
โดยมีการดำเนินการเผาให้ต้องด้วยสุขลักษณะและหลักเกณฑ์ ดังนี้</br>
(๑) สถานที่ตั้งเหมาะสม มีลักษณะเป็นอาคาร มีขนาดเหมาะสมกับกระบวนการเผามูลฝอย มีการระบายอากาศและแสงสว่าง
ที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน</br>
(๒) มีการป้องกันปัญหา กลิ่นจากมูลฝอย การปลิวของมูลฝอย ฝุ่นละออง เสียงดังรบกวน เหตุรำคาญ สัตว์และแมลงพาหะนำโรค</br>
(๓) มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศจากปล่องเตาเผา โดยจะต้องมีค่าไม่เกินมาตรฐาน ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด</br>
(๔) ต้องบำบัดน้ำเสียจากมูลฝอย และน้ำเสียใด ๆ ทั้งหมดที่เกิดขึ้นภายในสถานที่กำจัด โดยเตาเผา ให้มีคุณภาพน้ำทิ้ง
ไม่เกินมาตรฐานสิ่งแวดล้อมหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด </br>
(๕) มีการกำจัดเถ้า โดยใช้วิธีการฝังกลบที่มีการป้องกันน้ำชะขี้เถ้า ปนเปื้อนแหล่งน้ำผิวดินและใต้ดิน</br>
 
ข้อ ๒๐. การกำจัดมูลฝอยโดยการหมักทำปุ๋ยจะต้องดำเนินการให้ต้องด้วยสุขลักษณะและหลักเกณฑ์ที่กำหนดดังนี้</br>
(๑) สถานที่ตั้งเหมาะสม มีลักษณะเป็นอาคาร มีขนาดเหมาะสมกับปริมาณมูลฝอยทั่วไปที่นำมาหมักทำปุ๋ย มีการระบายอากาศ
และแสงสว่างที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน</br>
(๒) มีการป้องกันปัญหา กลิ่นจากมูลฝอย การปลิวของมูลฝอย ฝุ่นละออง เสียงดังรบกวน เหตุรำคาญ สัตว์และแมลงพาหะนำโรค
(๓) ต้องบำบัดน้ำเสีย น้ำซะมูลฝอย จากสถานที่หมักมูลฝอยทำปุ๋ยให้ได้คุณภาพน้ำทิ้งตามมาตรฐานสิ่งแวดล้อมหรือกฎหมาย
ที่เกี่ยวข้องกำหนด</br>
(๔) มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดินภายนอกสถานที่หมักทำปุ๋ย อย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง</br>
(๕) มีการติดตามตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบการหมักทำปุ๋ยและปุ๋ยต้องได้มาตรฐานตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา </br>
 
ข้อ ๒๑. การแปรสภาพมูลฝอยเป็นพลังงานหรือเชื้อเพลิงทดแทน ต้องดำเนินการให้ถูกสุขลักษณะและหลักเกณฑ์ที่กำหนด ดังนี้</br>
(๑) สถานที่ตั้งเหมาะสม มีลักษณะเป็นอาคาร มีขนาดเหมาะสมกับกระบวนการแปรรูปมูลฝอยเป็นสภาพทดแทน มีการระบายอากาศ
และแสงสว่างที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน</br>
(๒) มีการป้องกันปัญหา กลิ่นจากมูลฝอย การปลิวของมูลฝอย ฝุ่นละออง เสียงดัง
รบกวน เหตุรำคาญ สัตว์และแมลงพาหะนำโรค</br>
(๓) มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศจากปล่องเตาเผาหรือเครื่องยนต์กำเนิดพลังงาน โดยมีค่าไม่เกินมาตรฐาน
ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด</br>
(๔) ต้องบำบัดน้ำเสีย น้ำชะมูลฝอย ภายในสถานที่แปรรูปมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิงทดแทน ให้มีคุณภาพน้ำทิ้งตามกฎหมายเกี่ยวข้องกำหนด </br>
(๕) ต้องกำจัดกากขี้เถ้า โดยวิธีการฝังกลบที่มีระบบการป้องกันน้ำชะขี้เถ้าปนเปื้อนน้ำใต้ดินและน้ำผิวดิน</br>
 
 
หมวด ๕ </br>
การบริหารจัดการของท้องถิ่น
----------------------
ข้อ ๒๒. การบริหารจัดการมูลฝอยของราชการส่วนท้องถิ่น มีความแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่นทั้งนี้ขึ้นอยู่กับศักยภาพและความพร้อม
ของแต่ละท้องถิ่นนั้น โดยอาจมีรูปแบบการดำเนินการ ได้ดังนี้คือ</br>
(๑) ราชการส่วนท้องถิ่นลงทุนเอง และ ดำเนินการเองทั้งระบบ ตั้งแต่การเก็บรวบรวม
การขน และการกำจัด </br>
(๒) ราชการส่วนท้องถิ่นลงทุนเองทั้งระบบ บริหารจัดการมูลฝอยโดยการจัดตั้งวิสาหกิจ
หรือจ้างจ้างเอกชนดำเนินการ หรือการให้สัมปทาน ตั้งแต่การเก็บรวบรวม การขน และการกำจัด </br>
(๓) ราชการส่วนท้องถิ่นมีการลงทุนร่วมกับภาคเอกชน ดำเนินการเองทั้งระบบแบบ
บริษัทเอกชน ตั้งแต่การเก็บรวบรวม การขน และการกำจัด </br>
(๔) ราชการส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาล ดำเนินการร่วมกับราชการส่วนท้องถิ่นอื่นในการ
จัดทำระบบจัดการมูลฝอยทั่วไป โดยตั้งเป็นสหการ</br>
(๕) การดำเนินการร่วมกันระหว่างท้องถิ่น เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล
องค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นต้น โดยมีข้อตกลงในการดำเนินการร่วมกัน</br>
(๖) ราชการท้องถิ่น อนุญาต ให้เอกชนดำเนินการจัดการมูลฝอยทั่วไป โดยทำเป็นธุรกิจใน
เขตพื้นที่ของราชการส่วนท้องถิ่น</br>
(๗) รูปแบบอื่นๆ</br>
 
 
บทเฉพาะกาล
--------------------
 
ข้อ ๒๓. ให้ราชการส่วนท้องถิ่น ผู้ก่อให้เกิดมูลฝอย รวมทั้งบุคคลที่ได้รับมอบให้ดำเนินการเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอยแทน
ภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่นตามมาตรา ๑๘ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
และผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินการเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอย มาตรา ๑๙ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่ดำเนินการอยู่ก่อน
วันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับ ต้องดำเนินการเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรการตามที่กำหนด
ไว้ในกฎกระทรวงนี้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับ </br>
 
 
ให้ไว้ ณ วันที่ .. เดือน ...............พ.ศ. ....
(ลงชื่อ)
(………………………………….)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
 
== อ้างอิง ==
** เอกสารประกอบการเรียน "เรื่องมลพิษสิ่งแวดล้อม"
** คู่มือบรรยายสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://school.net.th/library/snet6/envi3/garbet/garbetn.htm] ขยะมูลฝอย
* [http://www.tungsong.com/Environment/Garbage_n/default.asp] ปัญหาขยะมูลฝอย
* [http://www.thailocaladmin.go.th/work/e_book/eb1/stan9.htm] มาตรฐานการจัดการขยะมูลฝอย
{{commons|Waste}}
{{Link FA|he}}
 
[[หมวดหมู่:ธรรมชาติ]]