ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เลิศ ชินวัตร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5:
แต่เรียนได้เทอมเดียวต้องกลับมาช่วยกิจการของครอบครัว คือ โรงงานทอผ้าไหมชินวัตรพาณิชย์และธุรกิจตลาดสดสันกำแพง ต่อมาได้ประกอบกิจการหลายอย่าง เช่น รับเหมาก่อสร้างโรงไฟฟ้าตามต่างจังหวัด เปิดร้าน[[กาแฟ]]ที่ห้องแถวไม้หน้าตลาดสันกำแพง ทดลองทำสวน[[ส้ม]]เขียวหวาน สวน[[ฝรั่ง (ผลไม้)|ฝรั่ง]]และผลไม้เมืองหนาว หลังจากนั้น จึงมาทำงานที่[[ธนาคารนครหลวงไทย]] สาขาเชียงใหม่ ในตำแหน่งหัวหน้าสินเชื่อ ต่อมาร่วมหุ้นทำโรงภาพยนตร์ศรีวิศาลและได้ซื้อหุ้นไว้ทั้งหมด หลังจากนั้นได้สร้างโรงภาพยนตร์ชินทัศนีย์ที่ถนนเจริญเมืองและซื้อกิจการรถเมล์วิ่งใน[[อำเภอเมืองเชียงใหม่|ตัวเมืองเชียงใหม่]]
 
นายเลิศ ชินวัตร เริ่มสนใจเล่นการเมืองท้องถิ่นเมื่อปี [[พ.ศ. 2510]] ขณะอายุ 48 ปี เริ่มสมัครสมาชิก[[เทศบาลนครเชียงใหม่|สภาจังหวัดเชียงใหม่]]และได้รับเลือก ในปี [[พ.ศ. 2512]] ลงรับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ในสังกัด[[พรรคพลังใหม่]]และได้รับเลือก ต่อมาได้รับ[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2518|เลือกอีกครั้งในปี พ.ศ. 2518]] ก่อนจะวางมือไปหลัง[[เหตุการณ์ 6 ตุลา|เหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519]]
 
ด้านชีวิตครอบครัว[[สมรส]]กับนางยินดี (สกุลเดิม ระมิงวงศ์) มีบุตรธิดารวม 10 คน ได้แก่ นางเยาวลักษณ์ (สมรสกับ พ.อ.พิเศษศุภฤกษ์ คล่องคำนวณการ), พ.ต.ท.ดร.[[ทักษิณ ชินวัตร]] (สมรสกับคุณหญิง[[พจมาน ณ ป้อมเพชร]]), นาง[[เยาวเรศ ชินวัตร|เยาวเรศ]] (สมรสกับนายวีระชัย วงศ์นภาจันทร์), นางปิยนุช (สมรสกับนายสง่า ลิ้มพัฒนาชาติ), นายอุดร ชินวัตร, นาง[[เยาวภา วงศ์สวัสดิ์|เยาวภา]] (สมรสกับนาย[[สมชาย วงศ์สวัสดิ์]]), นาย[[พายัพ ชินวัตร|พายัพ]] (สมรสกับนางพอฤทัย จันทรพันธ์), นางมณฑาทิพย์ (สมรสกับนายแพทย์สมชัย โกวิทเจริญกุล), นางทัศนีย์ ชินวัตร, นาง[[ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร|ยิ่งลักษณ์]] (สมรสกับนายอนุสรณ์ อมรฉัตร)