ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เพลงชุด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Muzikall (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Muzikall (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
{{สั้นมาก}}
'''สวีต''' (suite) เป็นบทเพลงชุด คือ บทประพันธ์ที่ประกอบด้วยบทเพลงหลายๆ บทนำมาบรรเลงต่อกันเป็นชุด ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องราว หรือเป็นลักษณะของการรวมเพลงประเภทใดประเภทหนึ่ง มีการกำหนดลักษณะของการประพันธ์ไว้อย่างแน่นอน โดยแต่ละท่อนมักจะเป็นลักษณะของจังหวะเต้นรำโดยอยู่ในบันไดเสียงเดียวกัน จึงมีอีกชื่อเรียกว่า '''dance suite'''
'''สวีต''' (suite) เป็นเพลงชุดอยู่ในสังคีตลักษณ์สองตอน (Two-part form) โดยเพลงชุดเหล่านี้มีจังหวะและลีลาคล้ายเพลงเต้นรำ แต่ไม่นิยมนำมาเล่นเพื่อเต้นรำจริง โดยการนำเพลงจังหวะเต้นรำที่มีหลายลักษณะมาบรรเลงต่อกันเป็นท่อนๆ เพลงจังหวะเต้นรำแบบต่างๆ ที่มีอยู่ในเพลงชุด ได้แก่ Allemande, Courante, Sarabande, Gavotte, Bourree, Minuet และGigue เป็นต้น ส่วนมากมักพบบทเพลงประเภทนี้ใน[[โอเปร่า]] และ[[บัลเลต์]]
 
==ลักษณะของเพลงสวีต==
ลักษณะของเพลงสวีตแบ่งได้ 2 ลักษณะใหญ่ ได้แก่
*1. บาโรคสวีต (Baroque Suite) เป็นเพลงชุดในยุดบาโรค โดยเพลงชุดเหล่านี้ประกอบด้วยจังหวะเต้นรำลักษณะต่างๆ แต่ไม่นิยมนำมาเล่นเพื่อเต้นรำจริง เป็นเพลงที่บรรเลงเพื่อการฟังเท่านั้น รูปแบบเพลงชุดในยุคบาโรคมักจะเริ่มต้นด้วยบทนำคือ พรีลูด (Prelude) แล้วตามด้วยเพลงจังหวะเต้นรำดังต่อไปนี้
 
- Allemande เพลงเต้นรำของเยอรมัน จังหวะเร็วปานกลาง
 
- Courante เพลงเต้นรำของฝรั่งเศส จังหวะเร็ว
 
- Sarabande เพลงเต้นรำของสเปน จังหวะช้า
 
- เพลงเต้นรำลักษณะใดลักษณะหนึ่ง
 
- Gigue เพลงเต้นรำของไอริช จังหวะเร็ว
 
ระหว่าง Sarabande และ Gigue จะเป็นเพลงเต้นรำตามที่ผู้ประพันธ์เลือกเอง ซึ่งมักจะเป็นเพลงเต้นรำต่อไปนี้ Gavotte, Bourree, Minuet, Polonaise, Passepied หรือ Rigaudon นอกจากนี้บทเพลงชุดบางบท มีการสอดแทรกด้วยท่อนที่แสดงแนวทำนองที่ไพเราะ ไม่เป็นจังหวะเต้นรำ เพื่อเปลี่ยนอารมณ์ผู้ฟังให้แตกต่างไป ท่อนที่เน้นแนวทำนองเช่นนี้ เรียกว่า แอร์ (Air)
*2. โมเดิร์นสวีต (Modern suite) เป็นบทเพลงที่มีหลายท่อน ประพันธ์ขึ้นสำหรับวงออร์เคสตรา บางครั้งใช้ในความหมายของดนตรีบรรยายเรื่องราวที่มีหลายท่อนจบ เช่น Scheherezade โดย ริมสกี้ และคอร์ซาคอฟ เป็นต้น