ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
ดร. สมิธ เกิดที่กรุง[[วอชิงตัน ดีซี]] [[ประเทศสหรัฐอเมริกา]] ในปี [[พ.ศ. 2431]] (ค.ศ. 1888) ได้จบการศึกษาปริญญาเอกแพทยศาสตร์ จาก[[มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์]] (Georgetown University) และจบการศึกษาระดับปริญญาเอกนิติศาสตร์ ในปี [[พ.ศ. 2451]] (ค.ศ. 1908)
 
เริ่มต้นทำงานที่ สำนักประมง สหรัฐอเมริกา (U. S. Fish Commission) ปี [[พ.ศ. 2429]] (ค.ศ. 1886) ในตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์ 1897-1903 หัวหน้าห้องปฏิบัติการชีววิทยาทางทะเล (Marine Biological Laboratory ที่ Wood Hole, และโดยเป็นผู้กำกับดูแลงานทางด้านการศึกษาและสำรวจธรรมชาติในทางวิทยาศาสตร์ ในสถาบันการศึกษาชั้นนำของสหรัฐอเมริกา
 
ระหว่างปี [[พ.ศ. 2450]] (ค.ศ. 1907) ถึงปี [[พ.ศ. 2453]] (ค.ศ. 1910) ได้เดินทางพร้อมคณะนักสำรวจมาที่[[ฟิลิปปินส์]] ด้วยเรือชื่อ ''USS Albatross'' ด้วยเป็นกรรมการ[[สมาคมเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก]] เพื่อสำรวจความหลากหลายของธรรมชาติในภูมิภาคแถบนี้
บรรทัด 10:
== บทบาทใน[[ประเทศไทย]] ==
 
ดร. สมิธ ได้เดินทางมาสู่ประเทศไทย เพื่อต้องการศึกษาปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ที่มีความสามารถพิเศษแตกต่างไปจากปลาชนิดอื่น ๆ นั่นคือ ปลา[[เสือพ่นน้ำ]] (''Toxotes spp.'') ซึ่งเป็นปลาพื้นบ้านของภูมิภาค[[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้]]
 
ในระยะเวลานั้น ทางราชการไทย ได้ดำริจัดตั้งหน่วยงานราชการขึ้นมากำกับดูแลงานทางด้านสัตว์น้ำขึ้นมาในปี [[พ.ศ. 2464]] โดยใช้ชื่อว่า หน่วยเพาะพันธุ์ปลาหรือหน่วยงานบำรุงและรักษาสัตว์น้ำ ขึ้นตรงต่อกระทรวงเกษตราธิการ ([[กระทรวงเกษตรและสหกรณ์]] ในปัจจุบัน) และแต่งตั้งให้ ดร.สมิธ ดำรงตำแหน่ง Adviser in fisheries to His Siamese Majesty's Govermment ในปี [[พ.ศ. 2466]] โดยจัดสำนักงานให้ที่วังสุริยง (นางเลิ้ง) งานขั้นแรกคือการสำรวจว่าสัตว์น้ำที่มีอยู่ในประเทศไทยมีมากน้อยเท่าใด เพื่อนำมาประกอบการเพาะพันธุ์ การบำรุงพันธุ์พันธุ์สัตว์น้ำ เพื่อขยายผลในเชิงอุตสาหกรรมต่อไป ซึ่งผลในการสำรวจจะจำแนกในทางชีววิทยา โดยมีภาพประกอบและจัดรวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่ โดยการสำรวจในน่านน้ำจืด และในน่านน้ำทะเล ทั่วราชอาณาจักรไทย และจัดกลุ่มเป็นหมวดหมู่ พร้อมทั้งบังได้เขียนหนังสือที่กล่าวถึงทรัพยากรในประเทศไทยซึ่งรู้จักในนามของหนังสือ "[[อนุกรมวิธาน]]" และยังเขียนบทวิจารณ์ถึงทรัพยากรของประเทศไทยพร้อมทั้งให้คำอธิบายและรายละเอียดและข้อแนะนำในการบริหารจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำของประเทศไทย โดยเขียนหนังสือที่ชื่อ ''A Review of the Aquatic Resources and Fisheries of Siam, with Plans and Recommendation for the Administration, Conservation and Development'' เสนอต่อกระทรวงเกษตราธิการและได้นำเสนอทูลเกล้า ฯ และอนุมัติให้มีการตีพิมพ์เผยแพร่
และต่อมาก็ได้มีพระบรมราชโองการ ลงวันที่ [[21 กันยายน]] [[พ.ศ. 2469]] ให้ตั้งกรมรักษาสัตว์น้ำขึ้นในกระทรวงเกษตราธิการ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ดร.ฮิว แมคคอร์มิค สมิท เป็นเจ้ากรมรักษาสัตว์น้ำ (ปัจจุบันคือ [[กรมประมง]])
 
ดร. ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ มีผลงานทางด้านการค้นพบความหลากหลายทางชีวภาพและทำการอนุกรมวิธานไว้มากมาย โดยค้นพบ[[สปีชีส์|ชนิดพันธุ์]]ของสัตว์ประเภทต่าง ๆ ทั้งสัตว์น้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์ปีก พรรณพืช ไว้ไม่ต่ำกว่า 25 ชนิด อาทิ [[ปลาเทพา]] (Species''Pangasius sanitwongsei''), [[ปลาบู่รำไพ]] (''Magilogobius rambaiae'') และมีผลงานเป็นหนังสือที่ยังใช้อ้างอิงมาจนถึงปัจจุบัน คือ ''The Fresh Water Fishes of Siam, or Thailand'' ในปี [[พ.ศ. 2488]] (ค.ศ. 1945) และมีความสำคัญต่อประเทศไทย คือ เป็นอธิบดีกรมประมงคนแรก ที่ได้บุกเบิกงานทางด้านการค้นคว้าศึกษาทรัพยากรทางน้ำตราบจนปัจจุบัน
 
ดร. ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ เสียชีวิตในวันที่ [[28 กันยายน]] [[พ.ศ. 2491]] (ค.ศ. 1948)