ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รกลอกตัวก่อนกำหนด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หน้าใหม่: {{กล่องข้อมูล โรค | Name = รกลอกตัวก่อนกำหนด<br>(Premature separation of placenta) | Image ...
 
MuanN (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 15:
}}
'''รกลอกตัวก่อนกำหนด''' ({{lang-en|premature separation of placenta, placental abruption, abruptio placentae}}) เป็น[[ภาวะแทรกซ้อน]]ทาง[[สูติศาสตร์]]ของ[[การตั้งครรภ์]]ซึ่ง[[รก]]ได้แยกตัวออกจากผนัง[[มดลูก]]ของมารดาก่อนที่ทารกจะ[[การคลอด|คลอด]]ตามปกติ เป็นสาเหตุที่พบบ่อยสาเหตุหนึ่งของการมีเลือดออกในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ ในมนุษย์ถือว่าการลอกตัวของรกหลังสัปดาห์ที่ 20 ของการตั้งครรภ์และก่อนการเกิดนั้นเป็นการลอกตัวก่อนกำหนด มีอุบัติการณ์ 1% การตั้งครรภ์ทั่วโลกโดยมีอัตราการเสียชีวิตของทารกประมาณ 20-40% ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการลอกตัว รกลอกตัวก่อนกำหนดมีผลต่ออัตราการตายของมารดาอย่างมาก
==พยาธิสรีรวิทยา==
การมีเลือดออกในชั้น [[decidua basalis]] ทำให้เกิดการลอกตัวของรก การมี[[ก้อนเลือด]]เกิดขึ้นจะทำให้มีการลอกตัวออกจากผนังมดลูกมากขึ้นทำให้มีการกดทับอวัยวะเหล่านี้และส่งผลต่อการส่งเลือดไปเลี้ยงตัวอ่อน เลือดหลังรกอาจทะลุผนังมดลูกไปยัง[[ช่องท้อง]] (peritoneal cavity) เรี่ยกว่า [[Couvalaire uterus]] ชั้นกล้ามเนื้อมดลูก ([[myometrium]]) ในบริเวณนี้จะอ่อนแอและอาจฉีกขาดได้ในช่วงที่มีความดันในมดลูกขึ้นสูงขณะมดลูกหดตัวเพื่อการคลอด การขาดของชั้นกล้ามเนื้อมดลูกจะทำให้เกิดภาวะฉุกเฉินทางสูติศาสตร์ที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ทันที
 
ความรุนแรงของ[[ภาวะเครียดของทารก]]จะสัมพันธ์กับความรุนแรงของการลอกตัวของรก ในกรณีที่รกลอกตัวจนหมดหรือเกือบหมดนั้นทารกจะเสียชีวิตเกือบแน่นอนหากไม่ได้รับ[[การผ่าตัดคลอด]]
== อ้างอิง ==
{{reflist}}