ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กาเฟอีน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Robbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: hi:कैफ़ीन
บรรทัด 80:
ในผู้ที่บริโภคคาเฟอีนปริมาณมากๆในเวลาเดียว (มากกว่า 400 มิลลิกรัม) อาจทำให้[[ระบบประสาทส่วนกลาง]]ถูกกระตุ้นมากเกินไป ภาวะนี้เรียกว่าภาวะพิษคาเฟอีน (caffeine intoxication) ซึ่งจะทำให้เกิดอาการกระสับกระส่าย นอนไม่หลับ ความคิดและการพูดสับสน หน้าแดง ปัสสาวะมากผิดปกติ ปวดท้อง หัวใจเต้นแรง ในกรณีที่ได้รับในปริมาณสูงมาก (150-200 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักร่างกาย 1 กิโลกรัม) อาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ <ref> {{cite journal | last = Mrvos | first = RM | coauthors = Reilly PE, Dean BS, Krenzelok EP | title = Massive caffeine ingestion resulting in death | journal = Vet Hum Toxicol | volume = 31 | issue = 6 | pages = 571-2 | date = Dec 1989 | id = PMID 2617841 }}</ref>การรักษาผู้ที่เกิดภาวะพิษคาเฟอีนโดยทั่วไปจะเป็นการรักษาตามอาการที่เกิด แต่หากผู้ป่วยมีปริมาณคาเฟอีนในเลือดสูงมาก อาจต้องได้รับ[[การล้างท้อง]]หรือ[[ฟอกเลือด]]
 
 
ปริมาณคาเฟอีนเท่าไหร่จึงจะปลอดภัย
 
สภาพร่างกายของแต่ละบุคคลมี ความไวต่อปริมาณคาเฟอีนแตกต่างกัน การดื่มกาแฟ 1 ถ้วยเท่านั้นอาจทำให้คนที่ไวต่อคาเฟอีนมีอาการใจสั่น นอนไม่หลับ แต่ไม่มีผลกับอีกคนหนึ่งที่มีความทนทานมากกว่า
 
อย่างไรก็ตาม องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ได้กำหนดปริมาณคาเฟอีนที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพไว้คือ ไม่เกิน 300 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเทียบได้กับการดื่มกาแฟไม่เกิน 3 ถ้วยต่อวันนั่นเอง
 
แล้วจะดื่มกาแฟอย่างไรให้เกิดประโยชน์มากที่สุด และเกิดผลเสียน้อยที่สุด
 
1. ควรสังเกตุว่าตัวคุณเอง มีความไวต่อการตอบสนองต่อปริมาณกาแฟกี่ถ้วน มีอาการอย่างไรบ้าง เพื่อหาปริมาณที่เหมาะสมสำหรับตนเอง
 
2. หากมีอาการนอนหลับยาก ควรหลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟในช่วงบ่ายหรือช่วงหัวค่ำ
 
3. ไม่ควรดื่มกาแฟขณะท้องว่าง เนื่องจากคาเฟอีนจะเร่งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร
 
4. ไม่ควรดื่มกาแฟเพื่อหักโหมทำงาน และอดนอนติดต่อกันหลายๆ คืน แม้ว่าคาเฟอีนจะช่วยให้ร่างกายตื่นตัวก็จริง แต่สมองต้องการเวลาพักผ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิืภาพการรับรู้
 
5. หากคุณเป็นผู้ที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ ควรทานอาหารที่เป็นแหล่งของแคลเซี่ยมเพิ่มเติม เช่น นม โยเกิร์ต ปลาเล็กปลาน้อย คะน้า บร็อกโคลี่ เป็นต้น เพื่อทดแทนเเคลเซี่ยมที่สูญเสียไปกับปัสสาวะ และลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน หรืออาจปรับเปลี่ยนโดยการชงกาแฟใส่นมแทนครีมเทียม เป็นต้น
 
6. ควรทานผักผลไม้อย่างเพียงพอทุกวัน เนื่องจากในกระบวนการคั่วเมล็ดกาแฟ จะมีอนุมูลอิสระเกิดขึ้น วิตามินซี อี และเบต้าแคโรทีนในผักผลไม้ เช่น มะเขือเทศ แครอต ผักใบเขียว ฝรั่ง ส้มเขียนหวาน เป็นต้น จะช่วยกำจัดอนุมูลอิสระในร่างกายได้
 
7. ดื่มน้ำสะอาดมากๆ เพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำจากฤทธิ์ในการขับปัสสาวะของคาเฟอีน และนอกจากนี้ยังช่วยป้องกันคราบกาแฟที่เป็นสาเหตุทำให้ฟันเหลืองอีกด้วย
 
== อ้างอิง ==