ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เหมืองแม่เมาะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Liger (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
Liger (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 4:
== ประวัติ ==
 
กิจการ[[เหมืองลิกไนต์]] เริ่มเมื่อปี 2460 ในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อพลเอก[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน]]ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมรถไฟหลวง ทรงมีพระประสงค์จะสงวนป่าไม้ จึงโปรดให้ทำการสำรวจหาเชื้อเพลิงอย่างอื่น เพื่อนำเอามาใช้แทนฟืนสำหรับ[[หัวรถจักรไอน้ำ]]ของรถไฟ โดยว่าจ้างชาวต่างประเทศ ให้มาดำเนินการสำรวจในระยะแรก ต่อมาระหว่างปี 2464 - 2466 ได้ว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศให้มาสำรวจอีก ปรากฎว่าพบถ่านลิกไนต์ ที่ "[[แม่เมาะ]]" [[จังหวัดลำปาง]]และที่"[[คลองขนาน]]" [[จังหวัดกระบี่]]
ในระยะนั้น รัฐบาลไทยได้อนุญาตให้บริษัทเอกชนเปิดการทำเหมืองลิกไนต์ที่ "บ้านดอน" จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อ[[ประทานบัตร]]หมดอายุลงในเดือนกุมภาพันธ์ 2470 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ทรงมีพระบรมราชโองการให้สงวนแหล่งถ่านหินที่มีอยู่ในประเทศไว้ เพื่อให้ทางราชการเป็นผู้ดำเนินงานเท่านั้น
ในปี 2493 [[กรมโลหกิจ]] (กรมทรัพยากรธรณี) ได้รื้อฟื้นโครงการนี้ขึ้นมาดำเนินการอีกครั้ง การสำรวจได้ดำเนินไปจนถึงปี 2496 จึงพบแหล่งถ่านลิกไนต์มีแนวชั้นติดต่อกันยาวไปตามลำห้วยในแอ่งแม่เมาะ ต่อมาในปี 2497 รัฐบาลได้ตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การพลังงานไฟฟ้าลิกไนต์ เพื่อดำเนินกิจการลิกไนต์ให้บังเกิดผลอย่างจริงจัง จากนั้นจึงเปิดการทำเหมือง แม่เมาะขึ้นและสามารถผลิตถ่านลิกไนต์ออกจำหน่ายให้แก่[[โรงบ่มใบยาสูบ]] โรงงานต่าง ๆ รวมทั้ง[[โรงไฟฟ้าวัดเลียบ]] และ[[โรงไฟฟ้าสามเสน]]ได้ในปีต่อมา ซึ่งถ่านลิกไนต์ที่แอ่งแม่เมาะนี้พบว่ามีปริมาณถึง 120 ล้านตันและสามารถขุดขึ้นมาใช้งานได้คุ้มค่า 43.6 ล้านตัน เมื่อประสบความสำเร็จในการดำเนินงานขั้นต้นแล้ว กล่าวคือสามารถผลิตถ่านลิกไนต์จำหน่ายเป็นเชื้อเพลิงได้ จึงทำการก่อสร้าง[[โรงจักรแม่เมาะ]] ขนาดกำลังผลิต 12,500 กิโลวัตต์ ใช้ถ่านลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิง มีพิธีเปิดโรงไฟฟ้า เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2503 หลังจากนั้นมากิจการเหมืองแม่เมาะก็เจริญก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ
ต่อมาเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2503 รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติจัดตั้ง[[การลิกไนต์]]โดยโอนกิจการและทรัพย์สินขององค์การพลังงานไฟฟ้าลิกไนต์มาเป็นของการลิกไนต์ กำหนดให้มีหน้าที่ผลิตและจำหน่ายถ่านลิกไนต์ วัตถุเคมีจากลิกไนต์ และพลังงานไฟฟ้าจากลิกไนต์ มีอำนาจดำเนินการในเขตท้องที่จังหวัดลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ และตาก จนกว่าการไฟฟ้ายันฮีจะขยายกิจการไปถึงจังหวัดนั้น ๆ และเขตท้องที่ในภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปทั้งหมด
 
เมื่อรัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติจัดตั้ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดยรวมกิจการของการลิกไนต์ [[การไฟฟ้ายันฮี]] และการไฟฟ้าตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าด้วยกัน เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2512 กฟผ. จึงได้รับโอนภาระหน้าที่ของทั้ง 3 องค์การมาดำเนินการทั้งหมด
 
ในปลายปี 2512 [[กฟผ.]] ได้วางแผนพัฒนาถ่านลิกไนต์ที่เหมืองแม่เมาะ เพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้าอย่างจริงจัง เมื่อคำนวณปริมาณสำรองถ่านลิกไนต์เพิ่มเป็น 55 ล้านตัน และคาดว่าจะมีอีกไม่ต่ำกว่า 70 ล้านตัน จึงได้วางโครงการขยายแหล่งผลิตไฟฟ้าโดยใช้ถ่านลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิงเมื่อรัฐบาลอนุมัติโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าลิกไนต์แม่เมาะ จำนวน 2 เครื่อง ขนาดเครื่องละ 75,000 กิโลวัตต์ เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2515 กฟผ. จึงทำการขยายเหมืองแม่เมาะในปีต่อมาเพื่อเพิ่มกำลังผลิตถ่านลิกไนต์จากปีละแสนกว่าตัน เป็นนับล้านตัน