ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โอปอล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Opalo (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Opalo (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 69:
 
'''คุณสมบัติทางเคมี'''
คุณสมบัติทางเคมีของโอปอล จะมีสูตรเคมีที่คล้ายแร่ควอตซ์ แต่มีโมเลกุลของน้ำปนอยู่ด้วยในสูตรโมเลกุล คือ SiO2. nH2O
มีคุณสมบัติ ไม่หลอมละลาย ''(infusible)'' ไม่ละลาย ''(insoluble)'' มีปฏิกิริยาเคมีคล้ายกับควอตซ์
 
'''คุณสมบัติทางฟิสิกส์'''
คุณสมบัติทางฟิสิกส์ของโอปอล คือ ไม่มีรูปผลึก ''(Amorphous)''และมักจะมีลักษณะคล้ายพวงองุ่น ''(botryoidal)''
หรือคล้ายๆ หินย้อย ''(Stalactite)'' มีรอยแตกเว้ากึ่งๆโค้ง มีความแข็งอยู่ในช่วง 5.5 - 6.5 ตามสเกล มีค่าความถ่วงจำเพาะแข็งมาตรฐานโมห์ 1.9(Moh's -scale 2.2of hardness)
มีค่าความถ่วงจำเพาะ 1.9 - 2.2 มีความวาวคล้ายแก้ว บางครั้งก็มีความวาวคล้ายยางสน สีของโอปอลอาจจะเป็นสีขาว ไม่มีสี สีเหลือง แดง น้ำตาล เขียว เทา
และน้ำเงินขึ้นกับมลทินที่เข้ามาเจือปนอยู่ บางครั้งจะแสดงคุณสมบัติโอปอเลสเซนท์ ''(Opalescense)'' คือเมื่อขยับไปมาจะเล่นสีได้
เนื้อมีลักษณะโปร่งใสถึงโปร่งแสง ค่าดัชนีหักเห หรือมาตรการแสงหักเห (Refractive index) ไม่ค่อยจะคงที่นัก ปกติอยู่ในช่วงระหว่าง 1.435 - 1.455
โอปอลไม่มีรอยแยกแนวเรียบ (Cleavage) อย่างเช่นรัตนชาติอื่นๆ มีแต่เฉพาะรอยแตก (Fracture) ซึ่งมักจะแตกเป็นรูปก้นหอย (Conchoidal fracture)
 
นอกจากนี้แล้ว โครงสร้างของโอปอลยังเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือโมเลกุลซิลิกอนไดอ๊อกไซด์จับตัวกันแบบรูปปิรามิดโดยมีน้ำแทรกอยู่ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดการเล่นสีขึ้น คล้ายกับการเกิดรุ้งบนฟองสบู่
เส้น 96 ⟶ 97:
 
'''6.ดินเบา''' ''(ไดอะตอมไมท์ Diatomite)'' มีเนื้อละเอียดคล้ายชอล์ก เกิดจากการสะสมตัวของซากชีวินพวกไดอะตอม ซึ่งเนื้อจริงๆ ของไดอะตอมไมท์ก็คือ โอปอล
 
== ประเภทของโอปอล ==
 
[[Bauer]] (1969) ได้แบ่งโอปอลออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ '''1.พรีเชียสโอปอล''' ''(Precious Opal),'' '''2.โอปอลไฟ''' ''( Fire Opal ),'' และ '''3.โอปอลธรรมดา''' ''(Common Opal)'' รวมทั้งพวกที่มีลักษณะกึ่งโอปอล ''(Semi Opal)'' และอื่นๆ
 
'''1.พรีเชียสโอปอล''' ''(Precious Opal)'' หรือโอปอลที่มีค่าทางรัตนชาตินี้ โดยหลักการณ์ทั่วไป เป็นโอปอลที่มีการเล่นสี (Play of colour) เป็นประกาย ได้สวยงามมาก และมีค่าสูง หาได้ยาก [[Bauer]] (1969) อธิบายลักษณะไว้ว่า พรีเชียลโอปอลเป็นโอปอลที่มีค่ามากที่สุด มีการเล่นสี เกิดเป็นประกายสวยงาม ซึ่งสะท้อนออกมาให้เห็นจากภายในเนื้อของตัวมันเอง ไม่ใช่เป็นสีซึ่งเกิดจากมีมลทินอื่นแปลกปลอมเข้าไป ในบางครั้งการเล่นสีอาจปรากฏให้เห็นทั่วทั้งผิวหน้า ซึ่งเจียระไนขัดมันของโอปอลหรืออาจมีการเล่นสีเพียงบางจุด หากพลิกดูจุดนั้นจะค่อยๆ หายไปบนพื้นหน้าพลอยนั้น พรีเชียสโอปอล จะมีความวาว (Luster)ซึ่งจัดว่าไม่สูงนักและมีความแข็งค่อนข้างต่ำ การเล่นสี อยู่ในช่วงที่ไม่ลึกลงไปนัก จึงเป็นเหตุอันหนึ่งซึ่งทำให้ไม่มีการเจียระไนโอปอลชนิดนี้เป็นเหลี่ยมตัด (Facet) นอกจากนี้แล้ว พรีเชียสโอปอลยังมีความโปร่งแสง (Translucent) และบางครั้ง อาจมีความโปร่งใส (Transparent)ได้
 
'''2.โอปอลไฟ''' ''(Fire opal)'' หรือ ''(Sun opal)'' จัดเป็นโอปอลที่มีค่าสูง รองจากโอปอลดำ บางเม็ดอาจมีค่า เทียบเท่า หรือแพงกว่าโอปอลดำก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ความสวยงามของแต่ละเม็ด มีทั้งแบบไม่มีสี ''(Colourless)'' สีน้ำตาล เหลืองอ่อน และสีน้ำตาลแดงเข้ม โอปอลไฟสีแดง โดยปกติมีราคาดีกว่าโอปอลไฟสีเหลือง เหตุที่เรียกกันว่า โอปอลไฟนั้น ก็เพราะเมื่อนำมาส่องดูภายใต้แสงไฟแล้ว จะเห็นสีสะท้อนบนผิวเหมือนลักษณะดวงไฟเกิดขึ้น คล้ายเปลวไฟ ธรรมดานี่เอง โอปอลไฟ แยกออกจากโอปอลดำได้อย่างง่ายๆ ก็ตรงลักษณะเปลวไฟอันนี้เอง และโดยลักษณะสี ของโอปอลไฟ ถึงแม้จะคล้ายคลึงกับ โอปอลดำ หรือพรีเชียสโอปอล สีของโอปอลไฟจะไม่สะดุดตาเท่า คือมีความสุกสว่าง ของประกายสี ด้อยกว่าโอปอลดำหากโอปอลไฟมีลักษณะดวงไฟเกิดขึ้น บนพื้นหน้าที่เจียระไนให้เห็นมากเท่าไหร่ ราคาก็จะยิ่ง แพงมากขึ้นเท่านั้น
 
'''3.โอปอลธรรมดา''' ''(Common Opal)'' โอปอลชนิดนี้มักจะไม่มีการเล่นสี บางชนิดอาจจะทึบแสง ''(Opaque)'' บางชนิดอาจจะโปร่งแสง ''(Translucent)'' อาจจะมีสี หรือไม่มีสีก็ได้ ปกติถือว่าไม่มีค่าทางรัตนชาติ จัดแบ่งย่อยออกไปหลายชนิด เช่น โอปอลน้ำนม ''(Milk Opal)'' สีออกมัวๆ ขาวน้ำนม บางครั้งออกสีเขียว เหลือง และน้ำเงินจางๆ บ้าง บางตำราบ้างก็ว่ามีลักษณะโปร่งแสงมาก ในบางครั้งอาจมีสีออกน้ำเงิน และเขียวปนขาว หรือถ้ามีมลทินแทรกอยู่เหมือนต้นสาหร่าย เรียก มอสโอปอล ''(Moss Opal)''
 
 
== แหล่งที่พบโอปอล ==
 
=== ในต่างประเทศ ===
*โอปอลพบมาก สวยงามและมีชื่อเสียงคือที่[[รัฐนิวเซาท์เวลส์]] [[ประเทศออสเตรเลีย]] แหล่งอื่น ๆ ที่พบ เช่น [[ประเทศฮังการี]] ซึ่งเคยเป็นเหมืองโอปอลในอดีต [[เม็กซิโก]] [[ฮอนดูรัส]] [[ออสเตรเลีย]] ส่วนโอปอลสีดำพบที่ [[เนวาดา]] และ[[ไอดาโฮ]] และไดอะตอมไมท์พบที่[[แคลิฟอร์เนีย]]
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/โอปอล"