ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การวิจัยดำเนินการ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
6A~thwiki (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
6A~thwiki (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
คำว่าการวิจัยดำเนินงานและ[[วิทยาการบริหารจัดการ]] นั้นปกติจะใช้ในความหมายใกล้เคียงกัน โดยวิทยาการบริหารจัดการนั้นปกติจะมีเฉพาะเจาะจงกับปัญหาทางด้านการบริหาธุรกิจมากกว่า ส่วนการวิจัยดำเนินงานจะเกี่ยวกับ[[วิศวกรรมอุตสาหการ]]ซึ่งมองปัญหาเชิง[[วิศวกรรม]] โดยใช้เทคนิคโออาร์เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาเหล่านั้น
 
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยดำเนินงานคือ [[สถิติ(statistics)]] [[การหาค่าเหมาะที่สุด(optimization)]] [[การสโทแคสติก(stochastic)]] (การเฟ้นสุ่ม) ทฤษฎี[[แถวคอย(queuing)]] [[ทฤษฎีเกม(Game's theory)]] และ [[การจำลอง (simulation)]] และเนื่องจากโออาร์ OR มีการใช้การคำนวณเชิงคอมพิวเตอร์จึงมีความเกี่ยวเนื่องกับ[[วิทยาการคอมพิวเตอร์]] และ นักวิจัยดำเนินงานปกติจะต้องพัฒนาหรือปรับปรุง[[ซอฟต์แวร์]]เอง
 
การวิจัยดำเนินงานมีจุดเด่นตรงที่ความสามารถในการพัฒนาระบบทั้งระบบ ไม่เฉพาะเจาะจงกับการแก้ไขปัญหาย่อยเพียงอย่างเดียว โดยนักวิจัยดำเนินงานจะแก้ปัญหาโดยพิจารณาว่า วิธีหรือเทคนิคใดที่เหมาะสมกับธรรมชาติของระบบนั้น ๆ พิจารณาเป้าหมายของการปรับปรุง และ เงื่อนไขเประสิทธิภาพเชิงเวลา และโดยมากแล้วปัญหาทางเทคนิคของการวิจัยดำเนินงานเองมักไม่สามารถแก้ได้ด้วยเทคนิคของการวิจัยดำเนินงานเท่านั้น ต้องอาศัยเทคนิคอื่นมาร่วมแก้ไขปัญหาด้วย
บรรทัด 13:
เช่น มีมะพร้าว 60 ลูก ที่สามารถแปรรูปเป็นสินค้า ขนมถ้วย น้ำมะพร้าว หรือ กะทิกล่อง ก็ได้ โดยที่สินค้าแต่ละชนิด ต้นทุนต่างกัน
ขายได้กำไรไม่เท่ากัน ความต้องการซื้อสินค้าในตลาดก็ไม่เท่ากัน OR จะเป็นการหาคำตอบว่าควรผลิต สินค้าแต่ละประเภท อย่างละเท่าไร ถึงจะได้กำไรมากที่สุด
คำตอบอาจจะเป็น เอามะพร้าว 20 ลูก ไปทำ ขนมถ้วย อีก 10 ลูก ไปทำน้ำมะพร้าว อีก 30 ลูก ทำกะทิกล่อง เป็นต้น
นอกจากนี้การวิจัยดำเนินงานยังสามารถประยุกต์ได้หลากหลายแขนง เรียกว่า ใช้กับทุกอย่างที่มีการตัดสินใจเลือกใช้ทรัพยากร วัตถุดิบ คน เครื่องจักร เวลา
เช่น เลือกเส้นทางเดินรถ ในการขนส่งน้ำมันกระจายไปตามจังหวัดต่างๆให้ครบทั้งภาค ต้องเดินทางไปเส้นทางไหน