ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บังสุกุล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
'''บังสุกุล''' แปลว่า ''ฝั่งแห่งฝุ่น, กองฝุ่น, คลุกฝุ่น, เปื้อนฝุ่น'' เป็นคำใช้เรียกผ้าที่[[ภิกษุ]]ชักจากศพ หรือผ้าที่ทอดไว้หน้าศพ หรือผ้าที่ทอดไว้บนด้าย[[สายสิญจน์]] หรือ[[ผ้าภูษาโยง]]ที่ต่อมาจากศพด้วยการพิจารณา[[กรรมฐาน]]ว่า '''ผ้าบังสุกุล''' โดยเรียกกริยาที่พระชักผ้าหรือพิจารณาผ้าเช่นนั้นว่า '''ชักผ้าบังสุกุล''' หรือ '''พิจารณาผ้าบังสุกุล''' (ดู[[มาติกา]]-บังสุกุล)
 
คำว่า "บังสุกุล" นั้น มาจากคำภาษาบาลีว่า ปงฺสุปํสุ (อ่านว่า ปัง-สุ) แปลว่า ฝุ่น และคำว่า กุล (อ่านว่า กุ-ละ) แปลว่า เปื้อน, คลุก สมาสคำทั้งสองเข้าด้วยบทวิเคราะห์เป็น ปงฺสุกุล (อ่านว่า ปัง-สุ-กุ-ละ) แปลว่า ผ้าที่เปื้อนฝุ่น เมื่อมาเป็นคำไทย เปลี่ยน "ปอ ปลา" เป็น "บอ ใบไม้" และปรับเสียงเป็นรูปแบบภาษาไทยที่มีตัวสะกด เป็น บังสุกุล อ่านว่า บัง-สุ-กุน ดังนั้นคำว่า "บังสุกุล" จึงต้องเขียนว่า บังสุกุล เท่านั้น ไม่สามารถเขียนเป็นอย่างอื่นได้ หากเขียนเป็น บังสกุล ถือเป็นคำที่เขียนผิด อันเกิดจากการเทียบเคียงผิดกับคำว่า สกุล ที่หมายถึง ตระกูลวงศ์
 
ในสมัย[[พุทธกาล]]ภิกษุต้องแสวงหาผ้าที่เขาทิ้งแล้วจากกองขยะหรือจากป่าช้ามาทำ[[จีวร]]ใช้ ผ้าเหล่านั้นส่วนใหญ่จะเปื้อนฝุ่นหรือสกปรก จึงเรียกว่าบังสุกุล (ดู[[ผ้าป่า]]) ปัจจุบันมักเขียนหรือพูดผิดเพี้ยนไปว่า '''บังสกุล''' ด้วยออกเสียงง่ายกว่า