ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กลุ่มภาษาอิหร่าน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 18:
** กลุ่มตะวันตกเฉียงเหนือ ได้แก่ ภาษามีเดีย ภาษาพาร์เทีย และภาษาเคิร์ด
ภาษาอเวสตะเป็นภาษาที่ใช้เขียนคัมภีร์ใน[[ศาสนาโซโรอัสเตอร์]] [[ภาษาเปอร์เซียโบราณ]]มีระบบการเขียนเป็น[[อักษรรูปลิ่ม]]
 
== ภาษากลุ่มอิหร่านยุคกลาง ==
ยุคกลางในอิหร่านเริ่มต้นตั้งแต่ พ.ศ. 143 - 1443 ภาษาในยุคนี้แบ่งเป็นกลุ่มตะวันตกและกลุ่มตะวันออกเช่นกัน เริ่มใช้ตัวเขียนที่มาจาก[[อักษรอราเมอิก]] [[ภาษาเปอร์เซียกลาง]]เป็นภาษาราชการของ[[จักรวรรดิซัสซาเนียน]] เริ่มใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 843 - 1543 [[ภาษาเปอร์เซียกลาง]]และ[[ภาษาพาร์เทีย]]เป็นภาษาในยุคมานิเชียนด้วย ซึ่งมีข้อความหลงเหลือในภาษานอกกลุ่มนี้เป็นจำนวนมากตั้งแต่[[ภาษาละติน]]ถึง[[ภาษาจีน]]
 
== ภาษากลุ่มอิหร่านหลังได้รับอิทธิพลจากภาษาอาหรับ ==
หลังจากที่[[จักรวรรดิเปอร์เซีย]]หันไปนับถือ[[ศาสนาอิสลาม]] สำเนียงเก่าเช่นภาษาเปอร์เซียกลางถูกแทนที่ด้วยสำเนียงใหม่ เช่นสำเนียงดารีที่เป็นภาษาราชการ คำว่าดารีมาจาก darbar หมายถึงศาลหลวง ใช้เขียนบทกวีและวรรณคดีอย่างแพร่หลาย ราชวงศ์ซัฟฟาริดเป็นราชวงศ์ที่มีบทบาทในการพัฒนาภาษาใหม่ตั้งแต่ พ.ศ. 1418 สำเนียงดารีเชื่อกันว่ามีอิทธิพลต่อสำเนียงทางตะวันออกของอิหร่านมาก ในขณะที่สำเนียงปะห์ลาวีที่เป็นสำเนียงมาตรฐานเดิมมีพื้นฐานมาจากสำเนียงทางตะวันตก สำเนียงใหม่ๆเหล่านี้เป็นต้นกำเนิดของสำเนียงมาตรฐานของ[[ภาษาเปอร์เซีย]]ในปัจจุบัน
 
นักวิชาการในยุคกลางของอิหร่านใช้คำว่า "ดารี" หมายถึงจังหวัดทางตะวันออกของโดราสถาน "ปะห์ลาวี" หมายถึงสำเนียงทางตะวันตกเฉียงเหนือระหว่าง[[อัสฟาฮาน]]กับ[[อาเซอร์ไบจาน]] และ "ปาร์ซี" หมายถึงสำเนียงของฟาร์และยังมีสำเนียงที่ไม่เป็นทางการ เช่น สำเนียงคูซีซึ่งเกี่ยวข้องกับจังหวัดคูเซสถานทางตะวันตก
 
การเข้ามาของศาสนาอิสลามทำให้นำ[[อักษรอาหรับ]]มาใช้เขียนภาษาเปอร์เซีย [[ภาษาพาซตู]]และ[[ภาษาบาโลชิ]] โดยเพิ่มอักษรพิเศษบางตัว ในขณะที่ค่อยๆเลิกใช้[[อักษรเปอร์เซียกลาง]]ไป [[ภาษาทาจิก]]เป็นภาษาแรกที่เริ่มเขียนด้วย[[อักษรละติน]]เมื่อ พ.ศ. 2463 เมื่ออยู่ภายใต้การปกครองของ[[สหภาพโซเวียต]]ก่อนจะเปลี่ยนมาเขียนด้วย[[อักษรซีริลลิก]]ในอีก 10 ปีต่อมา
 
บริเวณที่มีผู้พูดภาษากลุ่มอิหร่านล้อมรอบไปด้วยผุ้พูดภาษาอื่นๆหลายกลุ่ม ทางตะวันตกเป็น[[ภาษาอาหรับ]] ส่วน[[ภาษากลุ่มเตอร์กิก]]แพร่หลายใน[[เอเชียกลาง]]แทนที่ภาษากลุ่มอิหร่านที่เคยใช้ในบริเวณนั้น เช่น [[ภาษาซอกเดีย]] และ[[ภาษาแบกเทรีย]] โดยภาษาซอกเดียบางสำเนียงยังเหลืออยู่ใน[[หุบเขาซาราฟสถาน]] และภาษาซากาในซินเจียงทางตอนใต้ รวมทั้ง[[ภาษาออสเซติก]]ที่ยังเหลืออยู่ในเทือกเขาคอเคซัส มีผู้พูดภาษากลุ่มอิหร่านเล็กน้อยใน[[เทือกเขาปาร์มี]] ผู้พูดภาษาเปอร์เซียใน[[อาเซอร์ไบจาน]]ถูกแทนที่ด้วยภาษากลุ่มเตอร์กิกแล้วเช่นกัน
 
==ดูเพิ่ม==
*{{cite book|title=Compendium Linguarum Iranicarum|last=Schmitt|first=Rüdiger (ed.)|publisher=Reichert|location=Wiesbaden|year=1989|isbn=3-88226-413-6}}