ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คาร์ล ออร์ฟ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Alexbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: ko:카를 오르프
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
[[ไฟล์:Holzmeister-Orff-klein.jpg|thumb|200px|Carl Orff and Lieselotte Holzmeister at the Fidula workshop 1956]]
'''คาร์ล ออร์ฟ''' (Carl Orff) [[คีตกวี]]ชาว[[ประเทศเยอรมนี|เยอรมัน]] เกิดที่นคร[[มิวนิค]] เมื่อวันที่[[10 กรกฎาคม]] [[ค.ศ. 1895]] เสียชีวิตเมื่อวันที่ [[29 มีนาคม]] [[ค.ศ. 1982]] ที่นคร[[มิวนิค]]เช่นกัน ออร์ฟเป็นหนึ่งในคีตกวีที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ความสำเร็จของเขามีอิทธิพลอย่างมากในสาขา[[ดนตรีศึกษา]]อีกด้วย เขาเป็นที่รู้จักจากผลงานประพันธ์เพลง ''คาร์มินา บูรานา'' ในปี[[ค.ศ. 1937]]
 
 
แนวคิดพื้นฐาน
ออร์ฟ เชื่อว่า ดนตรี(Music) การเคลื่อนไหว(Movement)และการพูด(Speech) เป็นสิ่งที่แยกออกจากกันไม่ได้ ทั้งสามสิ่งรวมกันเป็นเอกภาพ(Unity) ซึ่งออร์ฟเรียกว่า “ดนตรีเบื้องต้น”(Elelmental Music) คำว่า”ดนตรีเบื้องต้น”นี้ออร์ฟ หมายถึง การแสดงออกทางดนตรีของบุคคลที่เป็นไปโดยธรรมชาติ ออร์ฟได้สังเกตจากเด็กในสภาวะแวดล้อมปรกติไม่มีกฏเกณฑ์อะไรบังคับ เด็กจะใช้ดนตรี การเคลื่อนไหว และภาษาพูดไปพร้อมกัน เด็กที่กำลังเต้นรำจะร้องเพลงไปด้วย เมื่อเด็กร้องเพลงเขาก็มักจะเคลื่อนไหวไปตามจังหวะเสียงเพลง
ออร์ฟ นั้นมีความยอมรับทฤษฎีที่ว่าประวัติศาสตร์ดนตรีย่อมแสดงตัวของมันอยู่ในพัฒนาการชีวิตของแต่ละคน เขาได้ย้อนกลับไปพิจารณาถึงในยุคต้นของการก่อเกิดวัฒนธรรม ที่คนทั่วไปใช้ดนตรีเป็นสิ่งแสดงความรู้สึกของตนเองโดยไม่ได้รับการฝึกฝน การเคลื่อนไหวและการพูด มักจะรวมอยู่ด้วยกันอย่างแยกไม่ออกกับดนตรีที่ใช้แสดงความรู้สึกเหล่านั้น ออร์ฟใช้กรณีของเด็กเล็กมาเปรียบเทียบกับคนป่าคนเถื่อนที่ไม่ได้รับการฝึกฝนดนตรีมาก่อน เขาเชื่อว่าการศึกษาดนตรีควรจะเริ่มด้วยความรู้ที่ง่ายๆจากเพลงง่ายๆและพัฒนาขึ้นไปสู่ ดนตรีที่ซับซ้อนหรือบทเพลงที่ยากขึ้น ด้วยข้อสรุปนี้ ออร์ฟ ได้วางแผนการศึกษาที่เป็นขั้นๆต่อเนื่องกันโดยมีโครงสร้างเริ่มจากสิ่งที่ได้ง่ายที่สุดแล้วมีการสอนทับถมเพิ่มเติมจนไปสู่สิ่งที่ซับซ้อนที่สุด แผนการศึกษาของออร์ฟ เช่นนี้ ได้รับการยอมรับเป็นอย่างสูง ซึ่งออร์ฟ เรียกแผนการศึกษาของเขาว่า Schulwerk
Schulwerk ของออร์ฟนั้น เขากล่าวว่า ควรเริ่มต้นใช้กับเด็กวัยต้นๆ และควรใช้ประสบการณ์ของตัวเด็กเองเป็นอุปกรณ์การสอนดนตรี เช่น ชื่อของเด็ก คำง่ายๆที่คุ้นเคย เป็นต้น ออร์ฟ คิดว่า จังหวะเป็นส่วนประกอบสำคัญที่สุดของดนตรี(Rhytm is strongest of the elements of music)การแสดงออกของมนุษย์ที่เป็นธรรมชาติที่สุดและสามัญที่สุดคือ การใช้จังหวะ เขาได้สอนความคิดเรื่องจังหวะโดยผ่านคำพูดและการเคลื่อนไหว ออร์ฟมีความคิดเช่นเดียวกันดาลโครซ ที่ว่า การเรียนเครื่องดนตรีต่างๆนั้น ควรจะตามหลังพัฒนาการของทักษะพื้นฐานที่จำเป็นทางดนตรี อันได้แก่
1. การฟัง
2. การจดจำขั้นคู่ของทำนองเพลงและการร้องทำนองเพลง(melodic Interval)
3. การจดจำและการปฏิบัติแบบแผนของจังหวะ(rhythmic patterns)
 
 
 
 
 
ดนตรีเบื้องต้นตามแนวคิดของออร์ฟ
ดนตรีเบื้องต้นตามแนวคิดของออร์ฟนั้นตั้งอยู่บนรากฐานของการปฏิบัติการสื่อสารในเด็ก (Communicative performance)และเน้นความเป็นตัวของตัวเองเป็นอย่างมาก อุปกรณ์เพลงต่างๆได้มาจากความคิดของเด็กเองโดยมีบทเพลงของ Schulwerk ซึ่งมีรูปแบบของทำนองและจังหวะที่ถูกออกแบบอย่างดีเป็นตัวอย่างเพลงของเด็ก ซึ่งเรียบง่าย ถูกกับจริตของเด็ก เป็นธรรมชาติ และมีการใช้ร่างกายประกอบ เหมือนการเล่นของเด็ก ดนตรีเบื้องต้นของออร์ฟนั้นได้ถูกพัฒนามาจากข้อสรุปที่ว่าเด็กจะเป็นผู้แสดงถึงพัฒนาการทางดนตรีของมนุษยชาติจากประสบการณ์และพัฒนาการทางดนตรีของเด็กเอง ประสบการณ์ดนตรีของเด็กจะเรียบง่าย เช่น การกู่ร้อง การท่อง การกระทืบเท้า และการตบมือ ในดนตรีเบื้องต้นนั้น การพูด การร้องเพลง และการเคลื่อนไหว ไม่สามารถถูกแยกออกจากกัน แต่จะหลอมรวมกัน เหมือนกับการแสดงออกทางดนตรีโดยธรรมชาติอันแท้จริงนั่นเอง
ในระบบการสอนของออร์ฟ การสร้างสรรค์(Creatinity) ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ออร์ฟได้เปิดโอกาสให้มีการสร้างสรรค์แบบต่อเนื่องหลายแบบ เด็กจะสำรวจเสียงของคำพูด ทำนองเพลง และเสียงเครื่องดนตรี เขาจะเลือกแบบแผนของจังหวะและทำนองจากตัวอย่าง และใช้มันประดิษฐ์ดนตรีประกอบ , บทขึ้นต้น,บทจบหรือบางทีเขาอาจจะแต่งทั้งเพลงเลยก็ได้ กิจกรรมการสอนขั้นต้นนั้นก็เหมือนการเล่นเกมประกอบดนตรี ครูจะต้องคอยช่วยนักเรียนในการจดโน้ตที่เด็กคิดแต่งขึ้น วิจารณ์และช่วยปรับปรุงเพลงนั้น พร้อมทั้งสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับรูปแบบและสไตล์ของเพลงให้กับเด็กในขณะที่เด็กกำลังมีความคิดสร้างสรรค์
เป้าหมายหลักของโปรมแกรมการสอนแบบออร์ฟคือ การที่เด็กแสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์ด้วยการแต่งทำนองหรือจังหวะขึ้นใหม่จากทำนองหรือจังหวะเดิมที่มีอยู่ซึ่งภาษาดนตรีเรียกว่า Improvisation เพลงที่ออร์ฟเขียนเป็นเพียงแบบ (Model) เพื่อการImprovisation
ออร์ฟได้ใช้ส่วนประกอบต่างๆในการแต่งเพลงสำหรับเด็ก คือ
1. Pentatonic mode ที่มีความสัมพันธ์ของเสียง คือ โด เร มี โซ ลา
2. Oatinato Patterns และ borduns คือ แบบแผนของตัวโน้ตซ้ำๆที่เดินอยู่ตลอดเพลง ซึ่งออร์ฟมีความตั้งใจให้เด็กคิดขึ้นเอง โดยเลียนแบบจากตัวอย่างเพลงที่ออร์ฟเขียน
3. เพลงพื้นเมืองที่เด็กเคยชิน ซึ่ง มีคล้ายเหมือนกันกับ โคได
4. ดึงMotiveออกมาจากเพลงนำมาใช้เป็นบทขึ้นต้น
5. ระนาดออร์ฟ
6. ขั้นคู่สามไมเนอร์ ซึ่งมักจะอยู่ในบทร้องเล่น(Chant)ต่างๆของเด็ก
7. กระสวนคำพูด หรือ คำพูดที่นำมาเรียงต่อกันเป็นท่อนสั้นๆ เริ่มจากคำเดียวแลวก้าวไปสู่กิจกรรมที่ซับซ้อนกว่า เช่น Speech Canon
ในขณะเดียวกันครูผู้สอน ออร์ฟได้กล่าวถึงลักษณะของครูดนตรีที่ดีว่าจะต้องเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักผ่อนปรน และมีใจกว้างที่จะยอมรับความคิดใหม่ๆและครูต้องสามารถที่จะสนับสนุนลักษณะที่มีอยู่ในระบบและในตัวครูเหล่านี้ให้พอกพูนในตัวนักเรียน
วิทยา ไล้ทอง ได้ศึกษาและกล่าวถึงเป้าหมายของกิจกรรมการเรียนของออร์ฟไว้ว่า การจัดการเรียนการสอนดนตรีภายใต้แนวคิดออร์ฟนั้น ครูสามารถประยุกต์วิธีการสอนได้อย่างหลากหลาย โดยเน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติด้วยความเพลิดเพลินและเป็นธรรมชาติ ประโยชน์ที่นักเรียนได้รับจากการเรียนด้วยวิธีนี้มิได้มีเพียงพัฒนาการด้านดนตรีเท่านั้น แต่ยังช่วยให้เด็กได้มีพัฒนาการในด้านร่างกาย ความคิด อารมณ์และสังคม ซึ่งพัฒนาการเหล่านี้นับเป็นพื้นฐานที่จำเป็นในการดำเนินชีวิตและการศึกษาในทุกๆสิ่ง อีกทั้งยังย้อนกลับมาเอื้อประโยชน์ต่อการศึกษาดนตรีในระดับสูงขึ้นไปอีกด้วย ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจึงควรคำนึงถึงเป้าหมายหรือจุดประสงค์ที่เด็กควรได้เรียนรู้และมีพัฒนาการในด้านต่างๆจากการเรียน ดังนี้
1. การทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ ในการเล่นดนตรีมีทั้งการเล่นเดี่ยวและเล่นเป็นกลุ่ม เด็กควรได้รับการฝึกฝนให้มีประสบการณ์และจิตสำนึกในการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ กิจกรรมอาจจัดขึ้นในลักษณะของเกมส์และการละเล่นต่างๆ เป็นต้น
2. ความรู้และความเข้าใจองค์ประกอบของดนตรี ในการจัดกิจกรรมเด็กควรได้รับความรู้และความเข้าใจเนื้อหาสาระของดนตรีซึ่งถูกสร้างขึ้นอย่างเป็นระบบ เช่น เรื่องของระดับเสียง ความดังเบา รูปแบบการประพันธ์และคำศัพท์ต่างๆ เป็นต้น
3. ความสุนทรีและความซาบซึ้งกับดนตรีในเชิงศิลปะ เด็กควรเข้าใจและรับรู้ว่าดนตรีเป็นงานศิลปะที่มีความงามและความไพเราะ สามารถสื่ออารมณ์และความรู้สึกได้ เด็กควรได้ทำกิจกรรมดนตรีด้วยความเข้าใจถึงความรู้สึกที่เข้าถึงความหมายและอารมณ์เพลงตามบริบทและประสบการณ์
4. ความคิดสร้างสรรค์อย่างอิสระ เด็กควรได้รับการฝึกให้มีความคิดสร้างสรรค์ทางดนตรีอย่างอิสระ รู้จักคิดวิเคราะห์และถ่ายทอดความรู้สึกด้วยความเป็นตัวของตัวเอง เช่น กิจกรรมที่จัดให้เด็กเป็นผู้อำนวยเพลง ใช้ภาษาท่าทางสื่อสารให้เพื่อนเล่นดนตรีตามท่าทางของตน หรือให้เด็กเล่นดนตรีโดยคิดจังหวะหรือทำนองขึ้นมาโดยทันทีทันใด
5. พัฒนาการทางทักษะดนตรี เด็กควรมีพัฒนาการทางทักษะดนตรีเพิ่มขึ้น ทั้งด้านการร้อง การเล่นเครื่องดนตรีแบะการเคลื่อนไหว
6. ความสามารถในการแสดงออก การแสดงนับเป็นจุดสำคัญของกิจกรรมดนตรีออร์ฟ ทั้งนี้ไม่ได้หมายถึงการแสดงเพื่อให้ผู้ชมเท่านั้น แต่รวมไปถึงการที่เด็กได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มความสามารถเพื่อให้เกิดผลงานที่สมบูรณ์แบบและเป็นที่พอใจของตน ถึงแม้จะเป็นเพียงการแสดงในห้องเรียนก็ตาม
7. ความเชื่อมั่นและเห็นคุณค่าในตนเอง เด็กควรมีทัศนคติที่ดีกับการเรียน ถ้าเด็กได้มีส่วนร่วมและเกิดสัมฤทธิผลจากงานที่เขาได้ทำเอง จะเกิดความภูมิใจ มีทัศนคติที่ดีต่อการเรียน มีความเชื่อมั่นและเห็นคุณค่าของตัวเอง
 
ในขณะที่ กรองทอง บุญประคอง ผู้เชี่ยวชาญการเรียนการสอนดนตรีตามแนวคิด ออร์ฟ ได้กล่าวถึง การเรียนการสอนดนตรีตามแนวคิด ออร์ฟ ไว้ว่าไม่เพียงสร้างสุนทรียะ จินตนาการ และความรักในการเล่นดนตรี แต่ยังเป็นสื่อพัฒนาศักยภาพเด็กไปสู่การเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เพราะลักษณะเด่นของการเรียนดนตรีแบบออร์ฟ ชูลแวร์ค คือการสร้างให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ไปพร้อมๆ กับการสร้างวินัยให้เกิดขึ้นในตนเอง ซึ่งโดยทั่วไปดูเหมือนว่าสองเรื่องนี้เป็นคนละขั้วกัน ไม่น่าจะมาอยู่ด้วยกันได้ แต่ในการสอนดนตรีออร์ฟ ทั้งสองเรื่องจะอยู่คู่กันตลอดเวลา และที่สำคัญคือ เด็กเรียนรู้ทั้งสองเรื่องนี้อย่างมีความสุข ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือการเรียนที่เน้นกิจกรรมกลุ่มและการเล่นรวมวง การเล่นรวมกันในวงดนตรีเล็กๆ นี้เป็นกระบวนการบ่มเพาะทักษะทางสังคมที่จะช่วยสร้างระเบียบวินัยให้เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว เพราะเด็กแต่ละคนจะได้รับมอบหมายหน้าที่แตกต่างกันไป เช่น เด็กกลุ่มหนึ่งตีระนาด อีกกลุ่มหนึ่งตีกลอง และอีกกลุ่มหนึ่งรับหน้าที่ขับขานบทกลอน เด็กจะเรียนรู้ว่าเขาต้องเล่นตอนไหน และตอนไหนเขาต้องหยุดเพื่อให้เพื่อนเล่น หรือหากแย่งกันตีกลอง ตีระนาด แย่งกันท่อง บทกลอนนั้นก็จะฟังไม่รู้เรื่องและไม่ไพเราะ ด้วยเงื่อนไขที่สร้างขึ้นนี้เองที่จะสอนให้เด็กเรียนรู้หน้าที่ของตัวเอง รู้จักฟัง รู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่น และได้ฝึกทักษะการทำงานภายใต้เงื่อนไขหรือกฎระเบียบ ที่เด็กๆ ทุกคนต่างยอมรับและพร้อมที่จะปฏิบัติตามเงื่นไขอย่างเต็มอกเต็มใจและมีความสุข ขณะเดียวกันเด็กๆ ก็จะได้สร้างสรรค์จังหวะและบทเพลงของตนเองในช่วงของการด้นสด (Improvisation) การเรียนรู้เช่นนี้จะก่อให้เกิดบรรยากาศที่ปราศจากการแข่งขัน เด็กๆ เกิดความสนุกสนานจากการได้เล่นดนตรีกับกลุ่มเพื่อน และความพึงพอใจที่ได้ร่วมกิจกรรมในชั้นเรียนถือเป็นรางวัลที่เด็กๆ ได้รับจากการเรียนดนตรี ไปพร้อมๆ กับการที่ได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพในทุกๆ ด้าน รวมทั้งการสร้างพื้นฐานที่ดีทั้งทางด้านดนตรีและความคิดสร้างสรรค์ของเด็กๆ ให้ติดตัวไปอย่างไม่รู้ตัวตามปรัชญาแนวคิดของออร์ฟ ชูลแวร์ค
 
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==