ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Umic2000 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
พุทธพร ส่องศรี (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 18:
การโยกย้ายกำลังของกองพลยานเกราะ เอส เอส ที่ 9 มาที่เมืองอาร์นเน็มนี้ เกิดขึ้นหลังจากการปฏิบัติภารกิจตีฝ่าวงล้อมของฝ่ายอังกฤษและแคนาดาที่เมืองฟาเลส์ [[:en:Falaise_pocket|(Falaise pocket)]] ในประเทศฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 12-21 สิงหาคม ค.ศ. 1944 เพื่อเปิดช่องและคุ้มกันระวังหลังให้ทหารเยอรมันจากเมือง Merri และเมือง Falaise ถอยร่นออกมาทางเมือง Trun ซึ่งทางหน่วยใต้ดินของฮอลแลนด์ที่ทำงานเป็นสายลับให้อังกฤษ ได้รายงานข่าวกรองนี้ให้ทางอังกฤษทราบแล้ว แต่ในเวลานั้นคนคุมยุทธการรวมดังกล่าวคือ [[:en:/Frederick_Browning|พลโทบราวนิ่ง (Lieutenant General Sir Frederick Arthur Montague Browning)]] ของอังกฤษไม่เชื่อข่าวกรองนี้ อีกทั้งยังมีการแก่งแย่งกันเอาหน้ากันระหว่างสัมพันธมิตร โดยอังกฤษนำโดย[[:en:/Bernard_Montgomery|จอมพลมอนโกเมอรี่ (Field Marshal Bernard L.Montgomery)]] ซึ่งเป็นเจ้าภาพยุทธการนี้ต้องการให้ฝ่ายอังกฤษได้หน้าในการโอบทางดิ่ง ด้วยการยึดสถานที่ที่สำคัญกว่าฝ่ายอเมริกัน
 
ซึ่งการวางกำลังโดยการหว่านพลร่มกองพันทหารพลร่มที่ 1 ของ[[สหราชอาณาจักร|อังกฤษ]]และกองพลน้อยพลร่ม[[โปแลนด์]] กองพลพลร่มที่ 82,101 ของ[[สหรัฐอเมริกา]] กระจายตามเขต[[ประเทศฮอลแลนด์]](เนเธอร์แลนด์) เข้าไปยัง[[เมืองไอด์โฮเฟน]] แล้วจะเปิดเส้นทางการรุกรบทางใต้ ให้แก่กองพลรถยานเกราะรักษาพระองค์ของอังกฤษ และทหารราบที่มากับรถลำเลียงของกองทัพที่ 2 เพื่อยึดและป้องกันการทำลายสะพานระหว่างจุดเริ่มต้นจาม[[เมืองไอด์โฮเฟน]]-[[เมืองฮาร์นเฮม]] กองกำลังที่จะกรุยทางให้แก่กองทัพที่ 2 ของอังกฤษได้แก่ กองพันพลร่มที่ 1 อังกฤษ พร้อมกับกองพลน้อยทหารพลร่มของโปแลนด์ และกองพลพลร่มที่ 82,101,506 ของสหรัฐอเมริกาพร้อมกับกองพันพลร่มที่ 3 บางส่วน เพื่อทำการเข้าตีและยึดเมืองไอด์โฮเฟน แล้วป้องกันสะพานเพื่อการขนกำลังพลของกองทัพที่ 2 อังกฤษและกองพลรถถังยานเกราะรักษาพระองค์
 
แต่แผนปฏิบัติการถูกฝ่ายเยอรมันอ่านออก กองกำลังสัมพันธมิตรทั้งหมดต้องถอยกลับมาตั้งหลักเนื่องจาก การหวานพลร่มในตอนกลางวัน โดยมีการยิงป.ต.อ.[[ปืนต่อสู้อากาศยาน]]เพียงเล็กน้อย แล้วการแซ่ซ้องยินดีของประชาชนชาวดัทช์ที่ออกมาจากบ้านแล้วร่มฉลองต้อนรับเหล่าทหารเมื่อมาถึงเมืองไอด์โอเฟน กองพันพลร่มที่ 2 ของสหรัฐอเมริกาก็ถูก กองพลน้อยรถถังแพนเซ่อร์(Panzer)ที่ 107 ตีแตกกระเจิงไม่เป็นชิ้นดี ในเส้นทางสายเดี่ยวที่จะออกไปยังเมืองอาร์นเฮม จนกองพันพลร่มที่ 2ขนานนามให้ทางสายนี้ว่า "ทางหลวงนรก" จนทำให้ฝ่ายเยอรมันจัดการกับสะพานที่จะขนถ่ายกำลังของอังกฤษให้การส่งกำลังพลล่าช้าในเวลาต่อมา