ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ช้างเผือก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Dr somboon (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Dr somboon (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 14:
== ลักษณะ ==
[[ภาพ:พระเศวตอดุลยเดชพาหน.jpg|thumb|220px|[[พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ]] ช้างสำคัญใน[[รัชกาลที่ 9]]]]
คำว่า ช้างเผือก คำว่า ช้างเผือก เป็นคำสามัญที่คนทั่วไปเรียกช้าง ซึ่งมีผิวหนังเป็นสีชมพูแกมเทา อันเป็นสีที่ผิด แปลกไปจากสีของผิวหนังช้างธรรมดา (ปกติเป็นสีเทาแกมดำ) โดยไม่คำนึงถึงลักษณะอื่น ๆ ประกอบด้วย ฉะนั้น คำว่าช้างเผือกตามความหมายที่คนทั่วไปเข้าใจจึงอาจจะเป็นทั้งช้างซึ่งมีมงคลลักษณะครบหรือไม่ครบก็ได้
เพื่อมิให้เกิดความสับสนในเรื่องนี้ ทางราชการจึงได้กำหนดศัพท์ที่ใช้เรียกชื่อช้างซึ่งมีลักษณะพิเศษขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัติรักษาช้างป่า พุทธศักราช ๒๔๖๕ (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๘ หน้า ๗๕ วันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๔๖๔) มาตรา ๔ โดยระบุไว้ว่า ""ช้างสำคัญ"" ให้พึงเข้าใจว่า ช้างที่มีมงคลลักษณะ ๗ ประการ คือ ตาขาว เพดานขาว เล็บขาว ขนขาว พื้นหนังขาว (หรือสีคล้ายหม้อใหม่) ขนหางขาว อัณฑะโกศขาว (หรือสีคล้ายหม้อใหม่) ส่วน "ช้างสีประหลาด ให้พึงเข้าใจว่า ช้างที่มีมงคลลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดใน ๗ อย่าง ที่กล่าวไว้ในเรื่องช้างสำคัญ จากความหมายตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติฉบับนี้ชี้ให้เห็นชัดว่า ""ช้างสำคัญ"" คือ ช้างเผือกที่มีลักษณะครบถ้วน สำหรับช้างเผือกตามความหมายของคนทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่สังเกตจากลักษณะสีของผิวหนังนั้น อาจไม่ใช่ช้างสำคัญหรือช้างเผือกที่มีลักษณะครบถ้วนก็ได้ เพราะสีของช้างเป็นแต่เพียงมงคลลักษณะข้อ ๑ ในจำนวนมงคลลักษณะ ๗ ข้อ ซึ่งเข้าเกณฑ์ที่เรียกว่า ""ช้างสีประหลาด"" เท่านั้น ดังนั้นตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ จึงไม่ใช้คำว่า ""ช้างเผือก"" เพราะเกรงว่าจะเข้าใจสับสนกัน